SSAB และ Vestre ได้ร่วมมือกัน โดยที่ Vestre ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์สไตล์ urban ของนอร์เวย์จะเป็นบริษัทแรกของโลกที่ใช้เหล็กกล้าไร้ฟอสซิลในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ และ Vestre จะนำเสนอโครงการความร่วมมือแรกในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้
"การที่เราเริ่มต้นการเดินทางสู่ความยั่งยืนกับ Vestre นั้นเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะพวกเขามีเป้าหมายเหมือนกับเราในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงขอบเขตการใช้งานที่หลากหลายของเหล็กกล้าไร้ฟอสซิลของเรา" Thomas Hoernfeldt หัวหน้าฝ่ายธุรกิจยั่งยืนของ SSAB กล่าว
Vestre มีเป้าหมายที่จะผลักดันการพัฒนาและการเปลี่ยนผ่านไปสู่วัสดุและกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนขึ้น เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนสูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าในวันนี้กำลังต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้
"เมื่อเราได้รู้เรื่องกระบวนการ HYBRIT และเหล็กกล้าไร้ฟอสซิลของ SSAB เราก็เล็งเห็นได้ทันทีว่านี่คือส่วนสำคัญของโซลูชั่นของเราที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในอนาคต การประมาณการเบื้องต้นแสดงว่าการเปลี่ยนเหล็กทั้งหมดที่เราใช้เป็นเหล็กกล้าไร้ฟอสซิล สามารถลดรอยเท้าคาร์บอนโดยรวมของเราลงได้ประมาณร้อยละ 60 เรามุ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนความต้องการทางเลือกที่ไร้ฟอสซิล และเมื่อราคาของโควตาคาร์บอนไดออกไซด์ภาคบังคับของสหภาพยุโรปเพิ่มสูงขึ้น ก็จะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่ออุตสาหกรรมเหล็กให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงด้วยเช่นกัน" ?yvind Bj?rnstad ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนที่ Vestre กล่าว
SSAB มุ่งมั่นที่จะนำอุตสาหกรรมเหล็กของโลกไปสู่อนาคตที่ปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ เทคโนโลยีการผลิตเหล็กกล้าไร้ฟอสซิลของ SSAB พัฒนามาจากโครงการริเริ่ม HYBRIT (Hydrogen Breakthrough Ironmaking Technology หรือ เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตเหล็กด้วยไฮโดรเจน) ซึ่ง SSAB เปิดตัวไปในปี 2016 ร่วมกับบริษัทเหมืองแร่ LKAB และบริษัทพลังงาน Vattenfall เทคโนโลยีนี้แทนที่ถ่านหินและถ่านโค้กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในกระบวนการถลุงเหล็กด้วยเตาสูง (Blast Furnace) โดยเปลี่ยนเป็นพลังงานไฮโดรเจนและพลังงานไฟฟ้าปราศจากฟอสซิลแทน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว เมื่อไม่นานมานี้ มะพร้าวสดน้ำหนัก 200 กิโลกรัมล็อตแรกที่จีนนำเข้าจากอินโดนีเซียเดินทางถึงสนามบินฝูโจว และถูกส่งไปยังโรงงานผลิตแปรรูปของจีนในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ " สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" ("Two Countries, Twin Parks") "สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างจีนและอินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในดินแดนของอีกฝ่าย โครงการริเริ่มดังกล่าวกลายเป็นกลไกที่ยอดเยี่ยม
เคพีไอ คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2025 ด้านนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์
—
เคพีไอ คว้ารางวัล BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION ...
อ.อ.ป. จัดงาน "วันอุเมดะ ประจำปี 2568" เพื่อรำลึกถึง "มร.โนโบรุ อุเมดะ" ผู้สนับสนุนการปลูกสร้างสวนป่า อ.อ.ป.
—
วันนี้ (20 มีนาคม 2568) องค์การอุตสาหกรรมป่...
หัวเว่ย ผนึก ม.ศิลปากร รับแผนดึงเทคโนโลยี หนุนเป้าหมายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล
—
หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ...
กรมที่ดิน ผนึก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยงานรัฐ ผลิตบุคลากรสายเทคนิควิศวกรรมสำรวจ เข้ารับราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. รองรับความต้องการประเทศ
—
กรมที่ดินร่...
มหาวิทยาลัยมหิดล - สวทช. แถลงเป้าหมายและแนวทางโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ-เสริมแกร่งระบบวิจัยและนวัตกรรม
—
มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยา...
'ม.ศรีปทุม-ซีอาน' ผนึกกำลังเปิดปริญญาคู่สื่อสารธุรกิจภาษาจีน ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่ 2+2 สร้างบัณฑิตพร้อมสู่ตลาดโลก
—
มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิธีลงนามบัน...