โรคลมชัก เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมอง จึงทำให้มีอาการชักตามมา
อาการโรคลมชักมีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับว่าเกิดความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมองส่วนใดและรุนแรงแค่ไหน เช่น อาการชักเกร็ง กระตุกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย วูบ เดินเซ เบลอ เหม่อลอย เป็นต้น อาจมีอาการเป็นๆ หายๆ ทำให้ไม่ทันสังเกตหรือสังเกตได้ยาก ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคลมชักและไม่ได้รับการรักษา
สาเหตุของโรคลมชัก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งพบว่ามีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ เคยเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมอง หรือมีเนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ การติดเชื้อของระบบประสาท ความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่กำเนิด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG (Electroencephalography) เป็นการตรวจเฉพาะทางประสาทวิทยาอย่างหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ทำงานผิดปกติ เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์สมองและแสดงผลออกมาในรูปของกราฟ เป็นการตรวจที่ง่าย ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงและไม่เจ็บ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคลมชัก กรณีที่มีอาการชักไม่ชัดเจน เพราะช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชักจริงหรือไม่ นอกจากนี้ยังช่วยจำแนกชนิดของโรคลมชักที่มีผลต่อการเลือกยากันชักที่เหมาะสมกับโรคลมชักแต่ละประเภทได้ด้วย การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองยังสามารถใช้ประเมินผลการรักษา ติดตามอาการผู้ป่วย รวมถึงใช้ในการตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรหยุดทานยากันชักหรือไม่
การป้องกันโรคลมชัก ที่ดีที่สุด คือ การรู้ตัวว่าเป็นโรคลมชักและรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลาย สามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ ดังนั้นผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดจำเป็นต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้างให้ดี หากไม่แน่ใจในอาการควรมาปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ควรเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดโรคลมชักง่ายขึ้น เช่น เครียด พักผ่อนน้อย ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติมคลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1339
สายด่วนสุขภาพโทร. 0 2743 9999 ต่อ 2999Line Official : @ramhospital
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) คือภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้ไม่มีเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ผู้ป่วยจะหมดสติ ล้มลง หยุดหายใจหรือหายใจเฮือก บางครั้งอาจมีอาการเกร็งกระตุกเนื่องจากสมองขาดอออกซิเจน อาจทำให้ผู้เห็นเหตุการณ์เข้าใจผิดว่าเป็นโรคลมชักได้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที * ขณะเดินออกกำลังกาย เห็นคนนอนอยู่ที่พื้นจะรู้ได้อย่างไรว่านอนหลับเฉยๆหรือหัวใจวายเฉียบพลัน
สแกนก่อนป้องกัน โรคลมชัก (แฝง)
—
โรคลมชักไม่ได้มีแค่อาการชักเกร็ง กระตุก ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเท่านั้น แต่คนที่เป็นโรคลมชักยังมีความหลากหลายทางอาการ ...
ลมชักในเด็ก ร้ายแรงกว่าที่คิด
—
หากบุตรหลานของท่านมีอาการเหม่อ กล้ามเนื้อกระตุก หมดสติ หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น หัวเราะโดยไม่มีเหตุผล กลัวโดยอธิบายไม่...
"ลมชัก" โรคที่ไม่ได้มีแค่อาการชักเกร็ง
—
โรคลมชัก (Epilepsy) หรือที่คนไทยเรียกว่า "ลมบ้าหมู" จัดเป็นโรคของการเจ็บป่วยทางสมองที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ...
แบรนด์ซุปไก่สกัด ผนึกกำลัง รพ. กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล จุดประกายภารกิจครั้งใหญ่ ยกระดับความรู้ ปกป้องคนไทยจากโรคหลอดเลือดสมอง ภัยเงียบที่ต้องรู้ทัน!
—
แบรนด์ซุปไก...
SME D Bank จับมือ สถาบันประสาทวิทยา ช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยโรคชัก จัดวิ่งการกุศล 'ชักอยากจะวิ่ง' 11 ก.พ. 67 ณ ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน
—
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิ...
โรคลมชักกับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
—
โรคลมชัก คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ผู้ที่ป่...
สถาบันประสาทวิทยา ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2563
—
สถาบันประสาทวิทยา ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2563 รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี ...