ม.มหิดลวิจัยส่งเสริมคุณค่าจากธรรมชาติสู้ภาวะโลกร้อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ปรากฏการณ์น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามภาวะโลกร้อน(Climate Change) ส่งผลต่อระบบนิเวศของชีวิตตามธรรมชาติในท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์ ที่นำไปสู่วิกฤติการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรสัตว์น้ำตามธรรมชาติ จนต้องแก้ไขเยียวยาด้วยการเพาะเลี้ยงขึ้นทดแทน 

ม.มหิดลวิจัยส่งเสริมคุณค่าจากธรรมชาติสู้ภาวะโลกร้อน

รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล จากที่ผ่านมาได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิจัยค้นพบ "สารสกัดจากปลิงทะเลดำ" (Sea Cucumber Extract) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำไร้กระดูกในทะเลที่มีรูปร่างคล้ายผลแตงกวา มีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยในการป้องกันโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ และชะลอวัยเป็นครั้งแรกของประเทศไทย  ม.มหิดลวิจัยส่งเสริมคุณค่าจากธรรมชาติสู้ภาวะโลกร้อน

ที่ผ่านมา "ปลิงทะเลขาว" เป็นที่นิยมมากกว่า "ปลิงทะเลดำ" ทั้งๆ ที่มีแหล่งกำเนิด และคุณค่าที่ใกล้เคียงกัน โดยสารสกัดจากปลิงทะเลดำที่ทีมวิจัยค้นพบมีชื่อว่า "decanoic acid" มีฤทธิ์ช่วยลดการสะสมของโปรตีนซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำลายระบบประสาทและสมองของมนุษย์ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอหรือบรรเทาไม่ให้เกิดความรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถควบคุมหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ด้วยการหมั่นสังเกตอาการ และเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ในทันทีที่มีอาการผิดปกติได้แก่ อาการสั่นขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าและขาดสมดุลในการทรงตัว

ผลงานวิจัย "สารสกัดจากปลิงทะเลดำ" ได้รับการตีพิมพ์โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล เป็นหัวหน้าทีมวิจัยในวารสารวิชาการระดับแนวหน้า (Q1) ได้แก่ "Biomedicine & Pharmacotherapy", "Frontiers in Pharmacology" และ"Marine Drugs" และได้ต่อยอดสู่ความร่วมมือในการส่งนักศึกษาปริญญาเอกของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปร่วมทำวิจัย ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein College of Medicine) ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ 

รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล ทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยจัดอยู่ประเทศแถบร้อนชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรอคอยการค้นพบสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอีกมากมาย แม้จะเป็นเพียงการค้นพบในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังอยู่ในช่วงต้นน้ำ ในอนาคตทีมวิจัยพร้อมต่อยอดมุ่งสู่ปลายน้ำ 

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยมหิดลได้จากwww.mahidol.ac.th


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+คณะวิทยาศาสตร์วันนี้

สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ.ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทย... เสวนาทิศทางไลฟ์สไตล์เพื่อสังคมสู่ความยั่งยืน — อ.ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล...

อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ... อธิการบดี ม.พะเยา เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566 — อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ...

บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน... CHOW มอบหนังสือส่งเสริมความรู้ให้เยาวชน — บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...