เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา คุณไห่เหยียน หวง (Haiyan Huang) รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน บริษัท แอสโทรเนอร์จี (Astronergy) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "การผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" (Green Sustainable Manufacturing) โดยได้มีการประกาศรายละเอียดของโรดแมปการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกำหนดให้ปี พ.ศ. 2571, 2578 และ 2593 เป็นปีแห่งการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) พร้อมทั้งให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเป้าหมายของบริษัทต่อประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานและสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จริยธรรมทางธุรกิจ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนให้คำมั่นว่าบริษัทจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593
ตามแผนการในโรดแมปดังกล่าว บริษัทตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และมีการวางแผนโดยละเอียดสำหรับ 3 เงื่อนเวลาหลัก ซึ่งนับเป็นอีกครั้งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของแอสโทรเนอร์จีในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)
คุณหวงกล่าวสุนทรพจน์ว่า แอสโทรเนอร์จียึดมั่นในแนวคิด "จากศูนย์ถึงศูนย์" (From Zero to Zero) เป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งมั่นสร้างวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงห่วงโซ่อุปทานและการผลิต เพื่อผลิตโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยฐานการผลิต 8 แห่งของแอสโทรเนอร์จีจะอัปเกรดสู่การผลิตแบบปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์ในปี 2593
ยิ่งไปกว่านั้น แอสโทรเนอร์จียังยืนหยัดทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่พันธมิตรทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อก้าวขึ้นเป็นซัพพลายเออร์โมดูลที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
ในระหว่างปี 2565-2593 ซัพพลายเออร์หลักทั้งหมดของแอสโทรเนอร์จีจะต้องผ่านการรับรอง ISO 14001/45001 รวมถึงผ่านการตรวจสอบสถานะและการประเมินมาตรฐานสิ่งแวดล้อมทางสังคม เพื่อร่วมกันสร้างห่วงโซ่คุณค่าสีเขียว
ขณะเดียวกัน แอสโทรเนอร์จียังวางแผนเพิ่มศักยภาพของโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ในการช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมการสร้างระบบหมุนเวียนพลังงานสะอาดและคาร์บอนต่ำในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศจีนและทั่วโลก ตลอดจนปกป้องความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
แอสโทรเนอร์จีได้ให้คำมั่นภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนว่าจะสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าเชิงนิเวศอย่างน้อย 100 โครงการ และช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 10,000 รายให้มีรายได้มากขึ้นผ่านโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างโลกคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่ยั่งยืนโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ แอสโทรเนอร์จีได้ประกาศจุดยืนในการดำเนินการอย่างจริงจังภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นจุดแข็งที่สำคัญในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนทั่วโลก
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2193625/1.jpg
การพัฒนา "ตลาดทุนยั่งยืน" เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในการส่งเสริม "เศรษฐกิจสีเขียว" และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ของอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ปี 2567
รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ตอกย้ำการก้าวสู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอน แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย
—
กำหนดนิยามใหม่ของความสำเร็จด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทางทะเล ณ...
ยาเดีย ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ หางโจว ร่วมฉลองพิธีเปิดการแข่งขันด้วยจุดแข็งด้านเทคโนโลยี
—
ยาเดีย (Yadea) ร่วมเฉลิมฉลองมหกรรมกีฬาสุดยิ่ง...
'โอสถสภา' ประกาศภารกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมพลังรักษ์โลกจากทุกภาคส่วน เปิดเวทีเสวนาต่อยอดความร่วมมือ 'รัฐ-เอกชน'
—
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ...
ม.มหิดลพร้อมมุ่งบรรลุเป้าหมาย'Carbon Neutral'จากก้าวเล็กๆ สู่อนาคตที่ยิ่งใหญ่
—
ก้าวที่สำคัญก่อนการบรรลุเป้าหมาย 9 to zero หรือภาวะไร้ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือ...
RBF ประกาศเป้า Carbon Neutrality ภายในปี 2027 ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ-ลดโลกร้อน
—
RBF ประกาศเจตนารมณ์มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมเดินหน้าปลูกต้นยูค...
'UBE' คว้ามาตรฐาน ISO 14064-1:2018 รายแรกในอุตสาหกรรมเอทานอลไทย เดินหน้ายกระดับองค์กรลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน
—
'บมจ. อุบล ไบโอ เอท...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...