นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งข่าวดี จาก นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ว่า กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และ ประมงญี่ปุ่น (MAFF) อนุญาต ไทยส่งออกผลมังคุดสดไปญี่ปุ่น โดยไม่ต้องอบไอน้ำ ซึ่งเป็นการบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการอำนวยความสะดวกทางการค้า ในการประขุมคณะอนุกรรมการพิเศษร่วมในความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร ภายใต้กรอบ JTEPA ครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566
ในการประชุมครั้งนี้ ญี่ปุ่นแจ้งข่าวดีว่า ได้ออกประกาศเงื่อนไขอนุญาตนำเข้ามังคุดไทยโดยไม่ต้องอบไอน้ำ กำจัดแมลงวันผลไม้ลงใน Official Gazette พร้อมทั้งแจ้งกำหนดการเดินทางมาตรวจรับรองก่อนการส่งออกครั้งแรกในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคม ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถส่งออกมังคุดสดด้วยวิธีการใหม่ที่ไม่ต้องผ่านการอบไอน้ำไปยังญี่ปุ่นได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและส่งออกมังคุดไทยแล้ว ยังช่วยคงความสดใหม่ และไม่สร้างความเสียหายของผลมังคุด ช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าตลาดส่งออกให้กับมังคุดผลสดไทย ประมาณปีละ 200 ตัน มูลค่ากว่า 120 ล้านบาท ซึ่งความสำเร็จในการเจรจาครั้งนี้ ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่าง กรมวิชาการเกษตรที่กำกับดูแลการส่งออกสินค้าพืช และ มอกช. ที่ได้หารือและดำเนินงานอย่างใกล้ชิตร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ผ่านกลไกเจรจาที่สำคัญทั้งภายใต้กรอบความร่วมมือ JTEPA และกลไกทางเทคนิคของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกมังคุดผลสดไปญี่ปุ่น ด้วยวิธีอบไอน้ำ ซึ่งเป็นวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยความร้อน ซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกักกันพืช ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) สำหรับใช้กำจัดไข่ และ หนอนของแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis species complex แต่วิธีการนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายกับมังคุด โดยลักษณะความเสียหายที่สำคัญมีหลายอาการได้แก่ อาการเนื้อยุบตัวลงเป็นหลุม เนื้อแตกเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ เนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และผลแข็ง ไม่น่ารับประทาน
กรมวิชาการเกษตร จึงได้เจรจากับ MAFF โดยยื่นหนังสือพร้อมเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับผลการศึกษาสถานภาพการไม่เป็นพืชอาศัยของมังคุดต่อแมลงวันผลไม้ ซึ่งได้ทำการวิจัยนำทีมโดยนายอุดร อุณหวุฒิและคณะ เพื่อพิจารณายอมรับมาตรการทางเลือกใหม่ (Conditional non-hot status to fruit flies) สำหรับการส่งออกผลมังคุดสดไปญี่ปุ่นโดยไม่ต้องกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยความร้อน สำหรับมาตรการใหม่ คาดการณ์ว่าไทยจะสามารถส่งออกผลมังคุดสดได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากวิธีการใหม่ ไม่สร้างความเสียหายให้กับผลมังคุดสดเหมือนกับวิธีการเดิม ซึ่งในการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนการส่งออก ฝ่ายไทยต้องทำตามเงื่อนไขข้อตกลง (work plan) ระหว่างไทยและญี่ปุ่น
"สำหรับเกษตรกรชาวสวนมังคุด และ โรงคัดบรรจุ ที่มีความสนใจในการส่งออกมังคุดด้วยมาตรการทางเลือกใหม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คือ ผลมังคุดสดที่จะส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะต้องมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ผู้ผลิตมังคุดต้องมีการจัดการสวนและการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดตามมาตรฐานการผลิตเพื่อการค้าสำหรับส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น มีสุขอนามัยในสวนที่ดี มีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม รวมทั้งต้องยื่นขอการรับรองการตรวจรับรองสวนเพื่อการส่งออกไปญี่ปุ่นและผ่านการอบรมการส่งออกมังคุดผลสดภายใต้มาตรการทางเลือกใหม่จากกรมวิชาการเกษตร สำหรับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ จะต้องแจ้งความประสงค์ไปยังกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอเข้าร่วมการส่งออกพร้อมยื่นรายชื่อสวนมังคุดที่จะส่งออกไปยังญี่ปุ่นภายใต้มาตรการใหม่ และขอรับการขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุกับกรมวิชาการเกษตร โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 02-9406670 ต่อ 142" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสาน
ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย หนุนอาชีพเพาะเห็ด ให้บริการเชื้อเห็ดสายพันธุ์ดี 27 ชนิด 41 สายพันธุ์
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเ...
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมแผ่นเทียบสีประเมินความสุกแก่ผลกาแฟ สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี...
เจียไต๋ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบศัตรูพืช การันตีห้องปฏิบัติการ รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
—
เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการ...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาก...
กรมวิชาการเกษตร ลุยขยายพันธุ์สับปะรด กวก. เพชรบุรี 2 เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตหน่อพันธุ์อย่างง่ายให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษ...
กาแฟฟ้าห่มปก มรดกคู่ผืนป่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ สร้างรายได้เกษตรกรทะลุหลักล้าน/ปี
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเ...