การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก (FISU) กำลังดำเนินอยู่อย่างดุเดือดท่ามกลางฤดูร้อน โดยคณะกรรมการบริหารการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก เปิดเผยว่า การแข่งขันนี้มีนักกีฬาเยาวชน 6,500 คนจาก 113 ประเทศและภูมิภาครวมตัวกันที่เมืองเฉิงตู เพื่อประชันความสามารถและความสง่างามของนักศึกษายุคใหม่ให้ชาวโลกได้เห็นกัน
ตลาดวัฒนธรรมในหมู่บ้านมหาวิทยาลัยเฉิงตูเติมเต็มสีสันยามค่ำคืนด้วยเกมปาเป้าลงกระบอก (Pitch Pot) กีฬาจีนโบราณอย่างชวี่จวี (Cuju) และผ้าทอ เปิดโอกาสให้นักกีฬามหาวิทยาลัยจากทั่วโลกได้โต้ตอบกันด้วยความสนใจ พร้อมแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความสุข
อิซา (Isa) นักกีฬาวัย 25 ปี จากลิเบีย กล่าวว่า "ลูกบอลเบามาก เล่นสนุกมาก" ทั้งยังได้สัมผัสกับกีฬาชวี่จวีและเรียนรู้วิธีการเล่นได้อย่างรวดเร็ว โดยนักยูโดรุ่นน้ำหนัก 60 กก. รายนี้ ยิงลูกไม้ไผ่เข้าช่องตาข่ายได้อย่างแล่นฉิว พร้อมทักทายนักกีฬาอิตาลีและจีนที่ผ่านไปมาอย่างอบอุ่น และชวนเล่นชวี่จวีด้วยกัน ด้านคนหนุ่มสาวจากต่างประเทศที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อนก็ได้รวมตัวกันและสนุกสนานไปด้วยกัน
นับตั้งแต่เปิดฉากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เฉิงตู หมู่บ้านแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยนักกีฬามหาวิทยาลัยที่มีสีผิว สัญชาติ และภาษาต่างกัน โดยในระหว่างการแข่งขันครั้งนี้ พวกเขาได้พบและรู้จักกัน เฉิงตูได้ทำให้ฝันเป็นจริง และพร้อมเป็นแหล่งรวมตัวของเยาวชนทั่วโลกที่มุ่งคว้าความเป็นเลิศในแวดวงกีฬาและทำตามความฝัน
ลีออนซ์ อีเดอร์ (Leonz Eder) รักษาการประธานสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก ได้กล่าวขอบคุณจีนที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้อย่างเรียบง่าย ปลอดภัย และยอดเยี่ยม ตามคำมั่นสัญญาในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกในเฉิงตูอย่างราบรื่น โดยกล่าวว่า "หลังจากเผชิญกับโรคระบาดมายาวนานซึ่งทำให้เราพบกันได้แค่ทางออนไลน์เท่านั้น บัดนี้เราก็ได้มาอยู่ที่หมู่บ้านนักกีฬามหาวิทยาลัยโลกอีกครั้งเป็นเวลา 10 ถึง 12 วัน เรามีความยินดีที่มีผู้แทนจาก 113 ประเทศและดินแดนมารวมตัวกันอีกครั้ง และใช้โอกาสหลังจบเกมเพื่อสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน" ซึ่งในสายตาของคุณอีเดอร์ นี่คือเสน่ห์ของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก
การผนึกกำลังระหว่างจีน สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก และคณะผู้แทนจากประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เฉิงตูกลายเป็นงานกีฬาระดับนานาชาติที่มีลักษณะเฉพาะของจีน แฝงไปด้วยจิตวิญญาณของยุคสมัย และสไตล์ของเยาวชน โดยในการแข่งขันนี้ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน เช่น นกกินปลีและแพนด้าดึงดูดนักกีฬาเยาวชนจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างมาก
ซู หยุนเจ๋อ (Su Yunzhe) ผู้ถือคบเพลิงจากอิตาลี ได้จุดคบเพลิงนกกินปลีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก เขากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า นกกินปลีเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของชาวจีนในเรื่องความสามัคคี ความอดทน และการแสวงหาแสงสว่างตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความหวัง และความโชคดี "ผมเชื่อว่าความหมายของการเป็นผู้ถือคบเพลิงไม่ได้เป็นเพียงการส่งต่อคบเพลิงเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดทางจิตวิญญาณมากกว่า ทั้งยังเป็นการถ่ายทอดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มิตรภาพ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมด้วย"
การแข่งขันนี้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนอกสนามเกิดขึ้นทุกวัน โดยมีการจัด "นิทรรศการเฉิงตู ไบเอนเนียล 2023" (2023 Chengdu Biennial Exhibition) ขึ้นที่สวนศิลปะเทียนฝู เพื่อจัดแสดงผลงาน 476 ชิ้นโดยศิลปิน 235 คนจาก 22 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งดึงดูดผู้ชมชาวจีนและชาวต่างชาติได้เป็นจำนวนมาก
นยาชน คูชัล (Nyachon Kushal) นักกีฬาชาวเนปาล กล่าวว่า "ความเสมอภาคและการไม่แบ่งแยกจะทำให้โลกมีสีสัน เมื่อรวมพลังกันแล้ว เราก็จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้" โดยแม้เธอจะแพ้การแข่งขันปิงปอง แต่เธอก็ได้พบกับแพนด้ายักษ์อันเป็นที่รักของผู้คนทั่วโลกในเฉิงตู นักกีฬาต่างชาติหลายคนยังได้แบ่งปันความสุขที่ได้เห็นแพนด้าในบ้านเกิดของแพนด้ายักษ์อย่างเมืองเฉิงตูด้วย
อารยธรรมเป็นสิ่งที่ลุ่มลึกด้วยการแลกเปลี่ยน และวัฒนธรรมลุ่มลึกด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน โดยนักศึกษาที่มีสีผิว เชื้อชาติ และภาษาต่างกัน ได้มาพบกันในเฉิงตู เพื่อดูความสามัคคีและความหลากหลายจากมุมมองของความเสมอภาค ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความเป็นพี่น้องกัน เพื่อชื่นชมและเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พร้อมส่งเสริมสันติภาพและความก้าวหน้าของโลกด้วยพลังของคนรุ่นใหม่
ที่มา: คณะกรรมการบริหารการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก
ม.ธรรมศาสตร์ เปิดฉากมหกรรมกีฬาครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์ 2025" โชว์กิมมิก "ปริซึม" แสงสีแห่งสปิริต หลากมิติแห่งความสามารถ ใช้พลังกีฬาสะท้อนเอกภาพและความหลากหลาย ยิงสดบน AIS PLAY มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด "Unity of Diversity, Victory for All รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล" โดยใช้กีฬาเป็นสื่อกลางในการหล่อหลอมจิตวิญญาณแห่งมิตรภาพ
ม.ธรรมศาสตร์ เฉลิมฉลอง 90 ปี เตรียมเปิดฉาก "ธรรมศาสตร์เกมส์" ลุยเจ้าภาพจัดแข่งขัน "กีฬามหา'ลัยครั้งที่ 50" เฟ้นหานักกีฬาศักยภาพสู่ระดับโลก
—
ฉลองใหญ่ 90 ป...
เตรียมพร้อมนักกีฬา SPU สู้ศึกกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 "นนทรีเกมส์"
—
สำนักงานการกีฬา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการประชุ...
ร่วมส่งแรงใจแรงเชียร์ 8 นักกีฬามหาวิทยาลัยศรีปทุม และนักกีฬาทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬา 19th Asian Games Hangzhou 2022
—
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินด...
"โมเม" นักกีฬาทุน SPUและนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนา "Sport Spirit Soft Power - from local to global trend"
—
นางสาวธนัชชา ส...
เส้นทางรถไฟจากเฉิงตูสู่ยุโรป กับบทบาทสำคัญในยุทธศาสตร์ BRI ของจีน
—
รถไฟขนส่งสินค้าที่บรรทุกสินค้ามาเต็มขบวน อาทิ ผลิตภัณฑ์จอแอลซีดี อุปกรณ์เชื่อมต่อ ชิ้น...
บ้านปลอดฝุ่น รับอากาศแปรปรวน
—
ช่วงปลายฝนต้นหนาวที่สภาพอากาศแปรปรวน มีทั้งฝน ทั้งลมหนาว หรือแม้แต่อากาศร้อนในระหว่างวัน ส่งผลต่อสุขภาพของใครหลายคน แต่...
RBRU : "ราชภัฏรำไพพรรณี" จับมือทางวิชาการ กับ มหาวิทยาลัยเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรร...
ภาพข่าว: มข.ปั้นนศ.จีนเก่งภาษาไทย
—
รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ซ้าย) พร้อมคณะ ร่วมกับ...