ปวดหลังไม่หายทำลายทุกระบบ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

อาการปวดหลังถือเป็นปัญหาใหญ่ที่พบมากในทุกเพศทุกวัย พบมากในวัยทำงาน และงานที่เสี่ยงกับอาการปวดหลัง ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนใหญ่ มักมาจากกลุ่มทำงานที่ต้องยกของหนัก นั่งขับรถนาน นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องนาน  และยืนเดินด้วยส้นสูงต่อเนื่องตามลำดับ สาเหตุของอาการปวดหลังมากกว่า 90%  มาจากความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นจากกล้ามเนื้อที่เกร็ง อักเสบ ข้อต่อที่ยึดติด และจากแนวกระดูกที่ไม่สมดุล ทำให้มีปัญหาหมอนรองกระดูก และเส้นเอ็นรอบๆข้อต่อกระดูกสันหลังจนทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมา

ปวดหลังไม่หายทำลายทุกระบบ?

คุณเพ็ญพิชชากร  แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงอาการปวดหลังว่า หากเกิดอาการปวดหลังเรื้อรังจากการรักษาไม่ตรงจุด การทำงานแบบซ้ำๆอย่างเดิมทำให้ร่างกายซ่อมแซมตนเองได้ไม่เต็มที่จนเกิดการบาดเจ็บซ้ำๆเป็นปัญหาต่อเนื่องระยะยาว มักส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนอื่นๆร่วมด้วย     ซึ่งปัญหาต่างๆที่ตามมาทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ครอบครัว คนรอบข้าง ส่งผลต่อจิตใจในระยะยาวได้ และอาการปวดหลังยังส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ อีกด้วย ดังต่อไปนี้

  • ปวดเข่า เป็นอาการที่พบหลังปวดหลังเรื้อรัง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่หลัง มีเยื่อหุ้มบางส่วนที่ลิ้งค์ไปถึงเข่า เมื่อเรื้อรังก็เกิดการดึงรั้ง ทำให้ไม่สมดุล เกิดแรงกดเบียดที่เข่ามากกว่าปกติ เกิดปวดเข่าขึ้นมาได้
  • ปวดส้นเท้า ปวดฝ่าเท้า เมื่อปวดหลังเรื้อรังทำให้ร่างกายกลัวต่อการลงน้ำหนักฝั่งที่ปวด และทดแทนด้วยการเลี่ยงที่จะลงน้ำหนักข้างปวด ไปลงอีกฝั่งด้านที่ไม่ปวด จากความไม่สมดุลนี้ ฝ่าเท้าอีกฝั่งจะรับน้ำหนักมากกว่าปกติ เกิดการยืดเพราะรับน้ำหนักเกิน ทำให้บาดเจ็บ และมีปัญหาที่ฝ่าเท้าในที่สุด
  • ปวดคอ บ่า บางครั้งอาจร้าวเข้ากระบอกตา ร้าวขึ้นศีรษะ หากอาการปวดหลังเกิดจากความตึง หรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ความตึงรั้งดังกล่าวอาจส่งผลตึงไปถึงก้านคอ หรือคอ บ่า เนื่องจากกล้ามเนื้อ   มัดลึกของหลังจะเกาะยาวตลอดแนวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้น แรงตึงตัวอาจส่งผลไปถึง คอ บ่า ไหล่ และเนื่องจากการเกร็งตัวของคอ จะส่งผลให้ปวดร้าวเข้ากระบอกตา หรือปวดร้าวขึ้นหัวได้
  • เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม หายใจลึกๆ แล้วรู้สึกติดขัด กล้ามเนื้อหลังช่วงบั้นเอวมัดลึกๆ ส่วนหนึ่งจะเกาะจากกระดูกสันหลังไปที่ชายโครง หากมีการเกร็งตัวมากๆ จะจำกัดการขยายตัวของชายโครง เวลาชายโครงถูกดึงรั้งไว้ ปอดจะขยายตัวได้น้อย ทำให้รู้สึกหายใจลึกๆ ได้ลำบาก
  • ความตึงรั้งของกล้ามเนื้อหลัง อาจส่งผลถึงการไหลเวียนของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ส่งผลต่อการย่อยอาหาร และการขับถ่าย เพราะระบบประสาทอัตโนมัตินี้ เป็นรากประสาทที่ออกจากข้างๆ กระดูกสันหลัง หากมีการเกร็งตัวมากของกล้ามเนื้อหลัง จะส่งผลได้ทำให้การย่อยอาหารยากขึ้น เกิดภาวะท้องอืด หรือมีการบีบตัวของลำไส้น้อยลง ทำให้ท้องผูกได้ ฯลฯ

ไม่น่าเชื่อว่าอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจส่งผลให้พัง ทั้งร่างได้ เนื่องจากหลังเป็นส่วนที่เชื่อมต่อถึงระบบ และส่วนอื่นๆของร่างกายได้อีกมากมาย รู้อย่างนี้แล้วการดูแลรักษาอาการปวดหลังให้ตรงจุด จึงควรให้ความสำคัญจะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังได้นะคะ


ข่าวคอมพิวเตอร์+วัยทำงานวันนี้

โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมให้บริการทางการแพทย์ ในงาน SX 2024

โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมให้บริการทางการแพทย์ ในงาน SX Sustainability Expo 2024 งานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เน้นการให้บริการสำหรับคนวัยทำงานพิชิตโรค office syndrome ด้วยการจัดให้บริการอัลตราซาวด์ลดปวดและให้คำแนะนำป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม โดยนักกายภาพบำบัด ปรึกษาด้านโภชนาการ โดยนักกำหนดอาหาร และการตรวจวัดระดับสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้เข้ารับบริการอย่างคั่ง เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น G

เดี๋ยวนี้เราจะเห็นคนในวัยทำงานเป็นจำนวนมา... ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของคนรุ่นใหม่ เสี่ยง ! รุนแรง แต่รักษาได้ — เดี๋ยวนี้เราจะเห็นคนในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆ ของ...

การอัปเกรดระบบปฏิบัติการ Windows 11 และกา... การ์ทเนอร์เผยไตรมาสแรกปี 2568 ยอดจัดส่งพีซีทั่วโลกเพิ่มขึ้น 4.8% — การอัปเกรดระบบปฏิบัติการ Windows 11 และการเพิ่มสินค้าคงคลังเพื่อป้องกันผลกระทบจากภาษีนำ...

มรภ.รำไพพรรณี ผนึกกำลัง รร.นครระยองวิทยาค... เปิดประตูสู่อนาคตไอที รำไพพรรณี MOU นครระยองวิทยาคมฯ สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ — มรภ.รำไพพรรณี ผนึกกำลัง รร.นครระยองวิทยาคม (วัดโขดใต้) ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพ...

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...