เมื่อวันที่ 15 กันยายน เค่อซิง ไบโอฟาร์ม จัดการประชุมนวัตกรรมประจำปี 2566 ว่าด้วยการนำส่งยาสู่เป้าหมาย ("Kexing Biopharm 2023 Innovation Forum on Targeted Drug Delivery") ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และนับเป็นครั้งแรกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่บริษัทจัดงานด้านนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนายาโดยเฉพาะ
การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ระบบนำส่งยาชนิดถุงนอกเซลล์ (extracellular vesicle-based) และชนิดที่ใช้อนุภาคนาโนไขมัน (LNP-based) ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ เช่น แนวโน้มการพัฒนา การวิจัยทางคลินิก การพัฒนากระบวนการ การออกแบบระบบใหม่ และแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาร่วมบรรยายให้ความรู้ ซึ่งรวมถึง ศ.หลิว ปี่เฉิง (Prof. Liu Bicheng) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์ ศ.หวัง ยู่ไฉ (Prof. Wang Yucai) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และผู้ก่อตั้งบริษัทเหอเฟย์ อาร์เอ็นเอแอลเอฟเอ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด (Hefei RNAlfa Biotechnology Co., Ltd.) และ ดร.สวี่ เค่อ (Dr. Xu Ke) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัทเวสิเคียวร์ เทอราพิวติกส์ จำกัด (VesiCURE Therapeutics Co., Ltd.)
เค่อซิง ไบโอฟาร์ม ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์องค์กร "นวัตกรรม + ความเป็นสากล" พร้อมทั้งวางแผนการวิจัยและพัฒนาโดยเน้นที่ "การสร้างโมเลกุล," "การยื่นขอวิจัยยาใหม่ (IND) ต่อสำนักงานกำกับดูแลเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน (NMPA)/สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA)" และ "การอนุญาตให้ใช้สิทธิ" เป้าหมายคือเพื่อพัฒนานวัตกรรมยาที่ตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย บริษัทมีโครงการเกี่ยวกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านตนเอง และโรคความเสื่อมอยู่ในแผนงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีการผลิตยาแอนติบอดีและการสร้างโปรตีนใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับ ขณะเดียวกัน เค่อซิง ไบโอฟาร์ม กำลังจัดตั้งแพลตฟอร์มนำส่งยาที่ใช้เอ็กโซโซม (exosome) เพื่อก้าวไปสู่อีกระดับของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ทั้งยังเป็นการวางรากฐานให้กับการสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการรักษาด้วยกรดนิวคลีอิก
ในปี 2564 เค่อซิง ไบโอฟาร์ม ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์ เพื่อสร้าง "ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับการผลิตเทคโนโลยีการจัดส่งยาชนิดถุงนอกเซลล์ในเชิงพาณิชย์" ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้และการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของเอ็กโซโซมที่ได้มาจาก hucMSC และ HEK293 ในสาขาโรคไต นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการผลิตเอ็กโซโซมปริมาณมาก ตลอดจนการควบคุมคุณภาพเพื่อสร้างระบบการบรรจุและนำส่งยาที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ การดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอแนวทางของจีนในการรักษาโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ด้วยความหวังว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยได้ในเร็ววัน
จุฬาฯ เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน (ISTC) กู้วิกฤตราคาโกโก้ตกต่ำโดยส่งเสริมแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและธุรกิจด้านระบบนิเวศโกโก้ในประเทศไทย โดยใช้การศึกษา งานวิจัย และนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การนำผลผลิตโกโก้ไปสู่ตลาดสินค้าคุณภาพสูงด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อทำให้โกโก้ไทยได้เปรียบในการ
LONGi ทุบสถิติโลกประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ N-type TOPCon, P-type TOPCon และ HJT
—
LONGi ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมเซลล์แ...
Super Poll โพล สส กรุงเทพมหานคร กับ ตำรวจ ภูเก็ต
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม ...
แบรนด์รถเอสยูวีสัญชาติจีน “Haval” เดินหน้ากลยุทธ์โลกาภิวัตน์ เปิดสายการผลิตรถ Haval F7 ในรัสเซีย
—
Haval F7 รถแบรนด์จีนระดับแมสรุ่นแรกที่ผลิตในต่างประเทศท...