หัวเว่ย กำหนดนิยามใหม่ของความปลอดภัย เปิดตัว HiSec ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และ HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยทรงพลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในงานหัวเว่ย คอนเนกต์ (HUAWEI CONNECT) ประจำปี 2566 หัวเว่ย ซีเคียวริตี้ (Huawei Security) ได้รวบรวมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับอาวุโสในอุตสาหกรรม มาร่วมสำรวจแนวทางใหม่ในการพัฒนาความปลอดภัยของเครือข่าย โดยในระหว่างการประชุมด้านความปลอดภัยนั้น คุณไมค์ หม่า (Mike Ma) ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัย กลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ได้เปิดตัว HiSec 3.0 สถาปัตยกรรมรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการบนคลาวด์-เครือข่าย-เอดจ์-เอนด์พอยต์ ที่ได้รับการอัปเกรดใหม่ พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเข้าใจและแนวปฏิบัติใหม่ของหัวเว่ยในด้านความปลอดภัยของเครือข่าย พร้อมกันนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันความปลอดภัย HiSec SASE ที่สร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรมคลาวด์-เครือข่าย-เอดจ์-เอนด์พอยต์ ซึ่งกำหนดนิยามใหม่ของขอบเขตความปลอดภัยขององค์กร

หัวเว่ย กำหนดนิยามใหม่ของความปลอดภัย เปิดตัว HiSec ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และ HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยทรงพลัง

HiSec 3.0 โซลูชันรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการบนคลาวด์-เครือข่าย-เอดจ์-เอนด์พอยต์ โฉมใหม่ ช่วยรักษาความปลอดภัยขององค์กร

คุณไมค์ หม่า กล่าวว่า การพัฒนาทางดิจิทัลกลายเป็นวาระสำคัญระดับชาติ และการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคือรากฐานที่สำคัญของโลกดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยขององค์กร หัวเว่ยได้อัปเกรด HiSec 3.0 โซลูชันรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการบนคลาวด์-เครือข่าย-เอดจ์-เอนด์พอยต์ โดยในส่วนของคลาวด์ สามารถสมัครใช้บริการซอฟต์แวร์มากกว่า 10 รายการตามความต้องการบนแพลตฟอร์มคลาวด์เฉียนคุน (Qiankun) ของหัวเว่ย เพื่อรับบริการแบบเรียลไทม์และมั่นใจได้ในการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในส่วนของเครือข่าย ความสามารถด้านเครือข่ายและความปลอดภัยได้รับการผนวกรวมเข้าด้วยกัน ขณะที่การจัดการและการควบคุมก็ได้รับการปรับปรุงเพื่อสร้างเครือข่ายที่เรียบง่าย ในส่วนของเอดจ์ ทรัพยากรความปลอดภัยแบบคอนเทนเนอร์และการจัดการห่วงโซ่บริการความปลอดภัยที่ยืดหยุ่น ทำให้สามารถใช้บริการได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาที และในส่วนของเอนด์พอยต์ การตรวจจับและตอบสนองปลายทาง (EDR) บนแพลตฟอร์มคลาวด์เฉียนคุนของหัวเว่ยนั้น มีน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย และมีอัตราการตรวจจับภัยคุกคามระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ โซลูชัน HiSec 3.0 จึงมอบการปกป้องที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งสำหรับองค์กร

HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยที่กำหนดนิยามใหม่ของขอบเขตความปลอดภัยขององค์กร

เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่บริการต่าง ๆ ได้ถูกย้ายไปยังระบบคลาวด์ ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งและการมาบรรจบกันของคลาวด์และเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้านี้มาพร้อมกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญมากขึ้น

ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ จึงมีการเปิดตัว HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยที่กำหนดนิยามใหม่ของขอบเขตความปลอดภัยขององค์กร โดยมีคุณสมบัติอัจฉริยะที่สำคัญ 4 ประการ หนึ่งคือ การดำเนินงานอัจฉริยะ โดยใช้การจัดการ การควบคุม และการตอบสนองแบบรวมศูนย์ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงถึง 50% สองคือ การควบคุมอัจฉริยะ ซึ่งช่วยให้สามารถโหลดฟีเจอร์ความปลอดภัยแบบคอนเทนเนอร์ได้ตามความต้องการและใช้ทรัพยากรได้มากกว่า 70% สามคือ การไม่สูญเสียข้อมูลอัจฉริยะ โดยใช้ Adaptive Forward Error Correction (A-FEC) เพื่อรองรับการเล่นวิดีโอที่ราบรื่น แม้ว่าจะสูญเสียแพ็กเก็ตถึง 30% ก็ตาม และสี่คือ การตอบสนองอัจฉริยะ ซึ่งรวมถึงการตรวจจับแบบไดนามิกอย่างต่อเนื่อง การสำรองข้อมูลแบบเรียลไทม์ การกู้คืนไฟล์ที่เข้ารหัส และการสูญเสียแพ็กเก็ตเป็นศูนย์

ในการประชุมโต๊ะกลมว่าด้วยความปลอดภัยของเครือข่ายทางการเงิน หัวเว่ยได้เชิญองค์กรการเงินชั้นนำทั่วโลกมาร่วมหารือเกี่ยวกับ SASE ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ โดยโซลูชันรักษาความปลอดภัยของหัวเว่ยอย่าง HiSec SASE เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับสำนักงานระยะไกล เครือข่ายหลายสาขา แลการปกป้องเอนด์พอยต์ โดยช่วยให้เข้าถึงบริการซอฟต์แวร์ คลาวด์สาธารณะ อินเทอร์เน็ต และสำนักงานใหญ่ขององค์กรด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับลูกค้าในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น บริการสาธารณะ การเงิน และการผลิต เป็นต้น

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2219581/image_5009699_7787811.jpg


ข่าวรักษาความปลอดภัย+ซีเคียวริตี้วันนี้

ฟอร์ติเน็ต เผยรายงานภัยคุกคาม ชี้ การโจมตีทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติ ทะลุสถิติ ทะยานสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้โจมตีใช้ AI และเทคนิคใหม่ล่าสุดเป็นเครื่องมือ

รายงานภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกประจำปี 2568 จาก FortiGuard Labs ชี้ให้เห็นถึงความเฟื่องฟูของบริการ Cybercrime-as-a-Service บนดาร์กเน็ต สร้างรายได้มหาศาลจากการซื้อขายบัญชีผู้ใช้งาน ช่องโหว่ กระทั่งสิทธิ์การเข้าถึงระบบ ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน เปิดเผยข้อมูลในรายงานภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกล่าสุดประจำปี 2568 จาก FortiGuard Labs (2025 Global Threat Landscape Report from FortiGuard Labs) ซึ่งสรุปแนวโน้ม

ฟอร์ติเน็ต ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ระ... ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย คว้ารางวัล Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2023 — ฟอร์ติเน็ต ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ข...