เมืองไท่โจวทางตะวันออกของจีน เติมเสน่ห์ให้กับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19

25 Sep 2023

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน ณ นครหางโจว เมืองเอกของมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน นับเป็นครั้งที่สามแล้วที่ประเทศจีนได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่ของเอเชียรายการนี้ หลังจากเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ปักกิ่งปี 1990 และเอเชียนเกมส์กว่างโจวปี 2010 และถือเป็นครั้งแรกที่เมืองในภาคตะวันออกของจีนได้เป็นเจ้าภาพ

เมืองไท่โจวทางตะวันออกของจีน เติมเสน่ห์ให้กับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจวพร้อมมอบประสบการณ์อันน่าประทับใจมากมาย ทั้งทิวทัศน์อันงดงาม สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการชั้นยอด ตลอดจนบรรยากาศที่เปิดกว้าง กลมเกลียว และไม่แบ่งแยก

ประสบการณ์ที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้ อันเป็นคุณลักษณะเด่นของมณฑลเจ้อเจียง สะท้อนให้เห็นอย่างสมบูรณ์แบบในเมืองไท่โจว ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทะเลที่มีชื่อเสียงจากทิวทัศน์ทางธรรมชาติ ความสามารถด้านการผลิต และวัฒนธรรมเหอเหอ (Hehe Culture)

ยกตัวอย่างเช่น ในการวิ่งคบเพลิงเอเชียนเกมส์หางโจวนั้น เมืองไท่โจวทางตอนกลางของมณฑลเจ้อเจียงเป็นจุดแวะพักที่สำคัญและโดดเด่นมาก

เมืองไท่โจวรายล้อมไปด้วยภูเขาและทะเล โดยเป็นที่ตั้งของจุดชมวิวระดับชาติ 5A ได้แก่ ภูเขาเทียนไท่ (Tiantai Mountain) พื้นที่ชมวิวเซินเซียนจู (Shenxianju) และเมืองโบราณไท่โจว

เมืองไท่โจวมีแนวชายฝั่งทอดยาว 651 กิโลเมตร และรายล้อมด้วยเกาะ 691 เกาะ พร้อมด้วยทิวทัศน์อันงดงามของภูเขาและทะเล ตลอดจนหมู่บ้านอันสวยงามบนฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแบบฉบับชายฝั่งตะวันออกของประเทศ

การวิ่งคบเพลิงเริ่มต้นจากสวนสาธารณะเหอเหอ (Hehe Park) อันโด่งดังของเมือง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเหอเหอ อันเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมจีนโบราณที่ให้ความสำคัญกับความสามัคคี ทางสายกลาง ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความอดทนอดกลั้น ความเมตตากรุณา และการอยู่ร่วมกันกับความแตกต่าง นอกจากนี้ วัฒนธรรมเหอเหอยังมีความสอดคล้องกับสปิริตของกีฬาโอลิมปิก นั่นคือ ความเข้าใจซึ่งกันและกันด้วยสปิริตแห่งมิตรภาพ ความสามัคคี และการเล่นกีฬาอย่างขาวสะอาด

เมืองไท่โจวมีความสำคัญในฐานะแหล่งกำเนิดและสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมเหอเหอ เรื่องราวของสองเทพเจ้าแห่งความสามัคคีจากภูเขาเทียนไท่และวัดกัวชิง (Guoqing Temple) ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมืองไท่โจวได้จัดกิจกรรมมากมาย เช่น การประชุมโลกว่าด้วยวัฒนธรรมเหอเหอ (Hehe Culture Global Forum) เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และในช่วงปลายปีนี้ การประชุมโลกว่าด้วยวัฒนธรรมเหอเหอ ประจำปี 2566 จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ด้วยมาตรฐานระดับสูง เพื่อส่งเสริมอิทธิพลของวัฒนธรรมเหอเหอในระดับโลก

การวิ่งคบเพลิงระยะทาง 8 กิโลเมตรผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่งของเมืองไท่โจว รวมถึงย่านศูนย์กลางธุรกิจ จัตุรัสสาธารณะ ห้องสมุด ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ วิทยาลัย และศูนย์กีฬา

ตลอดเส้นทาง เราได้เห็นตึกสูงตระการตาน่าตื่นตาตื่นใจ รวมทั้งสัมผัสความเจริญรุ่งเรืองของเมืองไท่โจวในฐานะถิ่นกำเนิดของเศรษฐกิจเอกชนและเศรษฐกิจสหกรณ์ร่วมหุ้นในจีน รวมถึงผู้บุกเบิกเศรษฐกิจตลาด อีกทั้งยังได้เห็นความหลากหลายของสนามกีฬา ศูนย์วัฒนธรรมและความบันเทิง ทำให้รู้ว่าเพราะเหตุใดเมืองไท่โจวจึงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีความสุขที่สุดของจีนถึงเจ็ดครั้ง

มีผู้ถือคบเพลิงมาร่วมวิ่งคบเพลิงรวมทั้งสิ้น 170 คน โดยผู้ที่อายุน้อยที่สุดคือ 14 ปี และอายุมากที่สุดคือ 67 ปี

ผู้ถือคบเพลิงมาจากหลากหลายสาขาอาชีพในเมืองไท่โจว เช่น แชมป์โลกกีฬาเรือใบ แชมป์พาราลิมปิก บุคคลผู้ทุ่มเทพัฒนาเกาะอันห่างไกลมานานกว่าสามทศวรรษ และบุคคลต้นแบบระดับชาติด้านการกุศล เรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะ ความมุ่งมั่น และความมีชีวิตชีวาของชาวเมืองไท่โจวได้เป็นอย่างดี

คุณลวี่ อี้ฉง (Lvy Yicong) ผู้ถือคบเพลิงคนที่สอง มาจากบริษัท จีลี่ ออโต กรุ๊ป (Geely Auto Group) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน เขาใช้เวลาเพียงเจ็ดปีในการเติบโตจากเด็กฝึกงานในสายการประกอบรถยนต์ระดับรากหญ้า มาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับประเทศ เขาสามารถตรวจจับเสียงผิดปกติของรถยนต์ได้มากกว่า 40 รูปแบบเพียงแค่ฟังเท่านั้น และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของรถยนต์ได้มากกว่า 2,000 รูปแบบ โดยรถคุ้มกันที่วิ่งตามหลังเขาก็เป็นรถรุ่นใหม่ที่ผลิตจากฐานการผลิตของจีลี่ในเมืองไท่โจวนี่เอง

นอกจากนี้ ในฐานะผู้สนับสนุนยานพาหนะอย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจว รถยนต์จีลี่มากกว่า 2,000 คันได้คอยให้บริการตามสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่จัดการแข่งขัน โดยไม่ได้เป็นเพียงฝูงยานพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์เท่านั้น แต่สิ่งอำนวยความสะดวกสุดไฮเทคนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเอเชียนเกมส์มุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์กรอัจฉริยะอีกด้วย

รถยนต์เหล่านี้ติดตั้งระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถจัดการและสั่งการได้อย่างแม่นยำระดับเซนติเมตร ด้วยการเชื่อมศูนย์ควบคุมการจราจรเอเชียนเกมส์ผ่านดาวเทียม และที่สำคัญคือ ดาวเทียมหลายดวงที่สื่อสารกับรถยนต์เหล่านี้ต่างก็ผลิตโดยบริษัทในเมืองไท่โจวเช่นกัน ซึ่งรวมถึงดาวเทียมเชิงพาณิชย์ดวงแรกที่ตั้งชื่อตามเอเชียนเกมส์

ในสนามกีฬาเอเชียนเกมส์ เราจะได้เห็นผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจของนักกีฬา 6 คนจากเมืองไท่โจว เช่น นักแม่นปืนวัย 17 ปี ราชาหมากรุกระดับโลก และตัวตบมือทองของทีมวอลเลย์บอลชายจีน เป็นต้น โดยพวกเขาจะลงแข่งขันเพื่อเกียรติยศในกีฬายิงปืน หมากรุก วอลเลย์บอล คาราเต้ และเซปักตะกร้อ

นับตั้งแต่การวิ่งคบเพลิง การให้บริการ ไปจนถึงการแข่งขัน เมืองไท่โจวมีส่วนช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจวด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมทั้งสะท้อนถึงความมีชีวิตชีวาของมณฑลเจ้อเจียงและเสน่ห์ในแบบฉบับของจีน

ที่มา: ศูนย์สื่อสารวัฒนธรรมเหอเหอระดับโลก (Global Communication Center of Hehe Culture)

ลิงก์รูปภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=442401

คำบรรยายภาพ: (บน) คุณเว่ย เหมิงซี (Wei Mengxi) แชมป์กีฬาเรือใบระดับชาติและระดับเอเชีย ผู้ถือคบเพลิงคนแรก ต่อไฟคบเพลิงให้กับคุณลวี่ อี้ฉง (Lvy Yicong) พนักงานต้นแบบระดับชาติจากบริษัท จีลี่ ออโต กรุ๊ป (ล่าง) จีลี่ ออโต กรุ๊ป ผู้สนับสนุนยานพาหนะอย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์หางโจว