คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว จัดโครงการบรรยายความรู้ภาคประชาชน ประจำปี 2566 ในรูปแบบกิจกรรมเสวนาภาษาหมอจีน เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสตร์การแพทย์แผนจีนสู่ภาคประชาชน นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในวันนี้จัดเสวนาหัวข้อ "บริหารกายบำรุงใจ ปรับสมดุลเส้นลมปราณ" บรรยายโดย แพทย์จีน ชลิดา สิทธิชัยวิจิตร (เฉิน เป่า เจิน) แผนกอายุรกรรมหลอดเลือดและหัวใจ ???? (Internal TCM of Cardiology)
ในสังคมปัจจุบันคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น หมายรวมไปถึงลักษณะการทำงานของผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องนั่งทำงานอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบจะทั้งวัน ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายสักเท่าไหร่ แน่นอนว่าเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอริยาบถ ร่างกายจึงมีการใช้มัดกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด รวมไปถึงการอักเสบของเอ็นและเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ ข้อมือ หรือ แขน จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
แพทย์จีน ชลิดา สิทธิชัยวิจิตร ได้แนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพด้วย "การหย่างเซิง" เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง รวมถึงให้แนวคิดในการดูแลสุขภาพในปัจจุบันให้มีความสอดคล้องกับวิถีการดูแลสุขภาพ คำว่า "หย่างเซิง" ในความหมายของศาสตร์การแพทย์แผนจีน หมายถึง การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในหลาย ๆ มิติ ที่มิได้หมายถึงการรักษาโรคแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้มีอายุที่ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง สุขภาพดีในที่นี้หมายถึงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส
นอกจากนี้ แพทย์จีน ชลิดา ได้แนะนำท่ากายบริหารแบบง่าย ๆ เพื่อปรับสมดุลระบบเส้นลมปราณให้กับผู้เข้าร่วมเสวนาได้ออกกำลังกายบริหารร่วมกัน เมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอจะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำให้เลือดและชี่ไหลเวียนสะดวก ทำให้กระดูกและเส้นเอ็นแข็งแรง ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายไหลลื่น อวัยวะภายในร่างกายก็จะแข็งแรงขึ้น มีจิตใจที่แจ่มใส และมีอายุที่ยืนยาว
ภายในงานมีบริการชาสมุนไพรจีนสูตร "ชาแดงบาร์เล่ย์คั่ว" ให้ผู้ที่มาร่วมงานเสวนาได้ดื่มกันด้วย มีสรรพคุณบำรุงปอดและม้าม ช่วยในการย่อยอาหาร ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ บรรยากาศในงานนอกจากจะได้รับความรู้ คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ที่สามารถนำกลับไปปฏิบัติเองที่บ้านได้แล้ว ยังอบอวลไปด้วยความอบอุ่น และความประทับใจ ผ่านกิจกรรมดี ๆ ที่คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวตั้งใจจัดขึ้นในครั้งนี้
แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที วันละ 3 ครั้ง จุดเหล่านี้ช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือดลดอาการปวดบวมและป้องกันการหยุดหลั่งน้ำนม การนวดกระตุ้นน้ำนม ควรทำตั้งแต่ก่อนคลอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ควรทำซ้ำได้ทุกวันระหว่างให้นม เมื่อถึงเวลาให้นมหรือรู้สึกคัดเต้าควรให้นมทันที มิฉะนั้นอาจเกิดก้อนแข็ง ปวดบวมและน้ำนมไหลผิดปกติได้ แต่เมื่อใดที่ลูกน้อยเริ่มดูดนมแค่ข้างเดียวอาจเป็นสัญญาณว่าน้ำนมคุณ
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ?
—
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...
3 สาเหตุภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่
—
จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอินและหยางในช่วงที่ไข่ตก...
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากสถานวิทยาลัยนครราชสีมา
—
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากส...
ยาสมุนไพรจีนกับบทบาทในการรักษาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
—
ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดและช่วยคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งกำลัง...
เคยไหม… มีเสมหะ น้ำมูก เสลดเหนียวในคอแม้ไม่ได้เป็นหวัด? วันนี้แพทย์จีนหัวเฉียวมีคำตอบมาฝากทุกท่าน
—
เสมหะ เป็นสารคัดหลั่งชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาเมื่อเ...
สานสัมพันธ์ไทย-ซัวเถา ร่วมพัฒนาการแพทย์แผนจีน คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับโรงพยาบาลการแพทย์แผนจีนซัวเถา
—
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ...
โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก
—
คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว จัดโครงก...
คุณอรัญ เอี่ยมสุรีย์ ผู้อำนวยการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว และคณะเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างโจว
—
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 คลินิกการแพทย์แผ...
สูตรลับ ลดพุงยื่น จบอาการบวมเบียร์ ฉบับแพทย์แผนจีน
—
มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้เบื่อเหงา หรือเพื่อสังสรรค์ในทุกเทศกาลเป็นประจำกันบ้างมั้ย...