สรุปเนื้อหา
วอเทอร์ส คอร์ปอเรชัน (Waters Corporation) (WAT:NYSE) ประกาศเปิดตัวโซลูชันกระบวนการทางชีวภาพแบบวอร์คอัพ (walk-up) ใหม่ ออกแบบมาเพื่อช่วยลดความซับซ้อนในการเตรียมและวิเคราะห์ตัวอย่างทางชีววิทยา โซลูชันใหม่นี้ขจัดความจำเป็นในการส่งตัวอย่างจากเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง ทำให้เร่งการพัฒนากระบวนการทางชีวภาพขั้นต้นน้ำได้ไวขึ้นถึง 6 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิมi โดยการอัปเดตซอฟต์แวร์อัตโนมัติในห้องปฏิบัติการอย่างวอเทอร์ส วันแลป (Waters OneLab(TM)) และเวิร์กโฟลว์วิเคราะห์แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาไว้ล่วงหน้า ช่วยให้วิศวกรกระบวนการทางชีวภาพสามารถบันทึกข้อมูลกระบวนการทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพสูงได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
วอเทอร์สได้ผสมผสานไบโอแอคคอร์ด (BioAccord(TM)) ซึ่งเป็นระบบโครมาโทกราฟฟีของเหลว-แมสสเปกโทรเมตรี (liquid chromatography-mass spectrometry หรือ LC-MS) และระบบหุ่นยนต์วอเทอร์ส แอนดรูว์พลัส (Waters Andrew+(TM)) ที่เชื่อมต่อกันผ่านโปรโตคอลใหม่ภายในซอฟต์แวร์วันแลป เพื่อสร้างโซลูชันลูชันกระบวนการทางชีวภาพแบบวอร์คอัพใหม่ ที่ใช้งานง่ายและครบวงจร โซลูชันดังกล่าวออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์การในการใช้งาน LC-MS น้อย ได้รับข้อมูลคุณลักษณะที่สำคัญ (critical quality attribute หรือ CQA) สำหรับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ การบันทึกข้อมูลได้โดยตรงที่ห้องปฏิบัติการการผลิตทางชีวภาพ ช่วยให้วิศวกรกระบวนการทางชีวภาพพัฒนาความเข้าใจในกระบวนการได้ อันจะนำไปสู่กระบวนการผลิตที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และระยะเวลาในการพัฒนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
"วอเทอร์สเปิดโอกาสให้วิศวกรกระบวนการทางชีวภาพ เข้าถึงข้อมูลการวิเคราะห์และ CQA โดยตรงจากเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น" จอน แพรตต์ (Jon Pratt) รองประธานอาวุโสของวอเทอร์ส กล่าว "การผสมผสานกันของซอฟต์แวร์ ระบบอัตโนมัติ และเวิร์คโฟลว์ด้านการวิเคราะห์ LC-MS ที่ได้รับการพัฒนาไว้ล่วงหน้า ช่วยขจัดขั้นตอนที่แต่ก่อนต้องดำเนินการด้วยตัวเองในการเตรียมตัวอย่าง ฉีด เก็บข้อมูล และถ่ายโอนข้อมูล เพื่อลดข้อผิดพลาดซึ่งเกิดจากมนุษย์ และพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะเข้ามาลดต้นทุนปลายน้ำในการผลิตและลดราคาผลิตภัณฑ์ยาให้ผู้ป่วย"
ซอฟต์แวร์วันแลปที่ได้รับการอัปเดตใหม่นี้ คือหัวใจสำคัญของโซลูชันกระบวนการทางชีวภาพแบบวอร์คอัพของวอเทอร์ส ซึ่งสอดรับกับเวิร์คโฟลว์ด้านการวิเคราะห์ที่ได้รับการพัฒนาไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยลดความซับซ้อนในการตรวจวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการของตัวอย่างในสายการผลิตจากระบบเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพทุกรูปแบบ
นอกจากนี้ สำหรับผู้ใช้งานเครื่องปฏิกรณ์แบบขนาน ซาร์โทเรียส แอมเบอร์ (Sartorius Ambr(R)) นั้น วอเทอร์สยังมอบซอฟต์แวร์อินเทอร์เฟซ รองรับระบบไบโอแอคคอร์ด LC-MS เพื่อให้ถ่ายโอนข้อมูลได้ราบรื่นไร้รอยต่อ ซึ่งซอฟต์แวร์อินเทอร์เฟซนี้รองรับระบบเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพปริมาณงานสูงทั้งซาร์โทเรียส แอมเบอร์ 15 (Sartorius Ambr(R) 15) และซาร์โทเรียส แอมเบอร์ 250 (Sartorius Ambr(R) 250)
โซลูชันกระบวนการทางชีวภาพแบบวอร์คอัพใหม่ของวอเทอร์ส พร้อมให้บริการแล้วทั่วโลกผ่านวอเทอร์ส
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
เกี่ยวกับวอเทอร์ส คอร์ปอเรชัน (www.waters.com)
วอเทอร์ส คอร์ปอเรชัน (Waters Corporation) (NYSE:WAT) คือผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และเครื่องมือวิเคราะห์ โดยเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมโครมาโทกราฟี (Chromatography) แมสสเปกโตรเมทรี (Mass Spectrometry) และการวิเคราะห์ทางความร้อน (Thermal Analysis) สำหรับแวดวงชีววิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การอาหารมานานกว่า 60 ปีแล้ว บริษัทมีพนักงานประมาณ 8,000 คนทั่วโลก และดำเนินงานโดยตรงใน 35 ประเทศ รวมทั้งมีโรงงานผลิต 14 แห่ง และมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในกว่า 100 ประเทศ
Waters, OneLab, BioAccord และ Andrew+ เป็นเครื่องหมายการค้าของวอเทอร์ส คอร์ปอเรชัน ส่วน Ambr เป็นเครื่องหมายการค้าของซาร์โทเรียส
ติดต่อ
เคลวิน เคมป์สกี (Kevin Kempskie)
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
วอเทอร์ส คอร์ปอเรชัน
โทร: +1.508.482.2814
อีเมล: [email protected]
i ผลสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าโดยวอเทอร์สระบุว่า วิศวกรกระบวนการทางชีวภาพโดยทั่วไปแล้วมักจะต้องรอ 2-6 สัปดาห์ กว่าจะได้ผลลัพธ์ตัวอย่าง LC-MS กลับมาจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ส่วนกลางหรือจากภายนอก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในการสัมมนาบนออนไลน์ของวอเทอร์ส/ซาร์โทเรียสในหัวข้อ การพัฒนาการวิเคราะห์ในแลปต้นน้ำด้วยพลังของ LC-MS (Evolving Analytics in the Upstream Lab by Using the Power of LC-MS) วันที่ 30 พ.ย. 2564
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2071755/Waters_Corporation_Logo.jpg
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สถาบันพัฒนามาตรฐานและตรวจสอบรับรอง (ศชน.สมต.) ได้ปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือกับกองการยาง กรมวิชาการเกษตร ภายใต้ "โครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของประเทศในการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025" และตามงบประมาณโครงการผลิตวัสดุควบคุมคุณภาพด้านยางเพื่อส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางในประเทศของ สกสว. ในการนี้ ศชน.สมต. นำโดย นางเยาวลักษณ์ ชินชูศักดิ์
IP ผนึก Zhaoke เป็น Exclusive Partner จำหน่ายพร้อมเป็นฐานการผลิตยาตา ลุยไทย-เอเชียตอ.เฉียงใต้ สยายปีกโตแกร่ง ตั้งเป้า 2578 ยอดขายยาตาแตะ 1,500 ลบ.
—
บมจ.อินเตอร...
กรมวิทย์ฯ บริการ เดินหน้าพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ด้านยางของประเทศ ด้วยการยกระดับผลการวัดให้มีความเหมาะสม น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
—
เมื่อวันที่...
กทม. เดินหน้าร่วมปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า บังคับใช้กฎหมาย-เฝ้าระวังลักลอบจำหน่ายในพื้นที่
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำ...
"ยาจิวะเฮิร์บ" ยกระดับความสำเร็จในปี 2024 พร้อมมุ่งสู่ปี 2025 เติบโตอย่างมั่นคง
—
ปี 2024 เป็นปีที่ ยาจิวะเฮิร์บ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรน้องใหม่ ภายใต้กา...
TASCO เผยยอดขายยางมะตอยรวมปี 2567 ทะลุ 1.1 ล้านตัน กำไรสุทธิ 1,417 ล้านบาท
—
นายชัยวัฒน์ ศรีวรรณวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มห...
เอ็มจี ตั้งเป้ายกระดับแบรนด์ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขาย ขึ้นแท่น Top 3 ภายในทศวรรษที่ 2
—
บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส...