คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ร่วมกับ International Monetary Fund (IMF) จัดเสวนาเรื่อง "External rebalancing in turbulent time" ความผันผวนของสกุลเงินต่อพลวัตรการเปลี่ยนแปลงโลก ผลการวิเคราะห์ระบุ วิกฤติโควิด-19 ภาวะสงคราม นโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว ในช่วงสามปีที่ผ่านมาส่งผล Global Current Balance ที่วัดโดยผลรวมของค่าสมบูรณ์ของดุลบัญชีเดินสะพัดแต่ละประเทศ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศพัฒนาแล้ว เดินนโยบายการเงินแบบตึงตัว การแข็งค่าขึ้นของสกุลเงิน US dollar ได้ส่งผลเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา ได้รับผลกระทบจาการเคลื่อนย้ายทุนและมีแนวโน้มจะเกิด Trade tension และการกีดกันทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว แนะประเทศกำลังพัฒนา เร่งการลงทุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนแก้ไขปัญหาโลกร้อน การลงทุนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
งานเสวนาเรื่อง "External rebalancing in turbulent time" ความผันผวนของสกุลเงินต่อพลวัตรการเปลี่ยนแปลงโลก โดย CBS ได้รับเกียรติจากนายเจียเชียน เฉิน รองหัวหน้าฝ่ายวิจัย (Mr. Jiaqian Chen, Deputy Division Chief Research Department, IMF) และนายลูคัส โบเออร์ฝ่ายวิจัยเศรษฐศาสตร์ (Mr. Lukas Boer, Economist Research Department, IMF) มานำเสนอผลการศึกษาที่ IMF ได้มีการออกรายงาน "External sector report: External rebalancing in turbulent time 2023"
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า การจัดงานเสวนาเชิงวิชาการในครั้งนี้ จะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งจะเป็นฐานความรู้ที่ช่วยให้ภาครัฐ และธนาคารกลางสามารถดำเนินนโยบายทางการเงิน และนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากภัยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากพลวัตดังกล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น เลขานุการภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักของการจัดงานให้ความคิดเห็นว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ external imbalance ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญทางวิชาการที่จะช่วยให้ผู้วางนโยบายสามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าเงิน US dollar และบทบาทที่ท้าทายของสกุลเงิน US dollar ในอนาคต ซึ่งรายงานการศึกษาของ IMF นี้เป็นฐานสำคัญสำหรับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
โดยภายในงานเสวนาจะมีการนำเสนอผลการศึกษาที่วิเคราะห์พัฒนาการของดุลบัญชีเดินสะพัด (Current accounts) อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (Real exchange rates) ทุนสำรองระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนของกลุ่มประเทศชั้นนำของโลก ซึ่งผลการวิเคราะห์ที่สำคัญคือ Global current account balances ได้มีการขยายออกมากขึ้นในช่วงปี 2020-2022 ซึ่งการจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การฟื้นตัวที่แตกต่างของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ภายหลังการระบาดของโรค COVID-19 และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้นของการดำเนินนโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกา
การวิเคราะห์ของ IMF พบว่า Excess global current account balances จะนำมาสู่แรงกดดันทางการค้าระหว่างประเทศ การกีดกันทางการค้า และการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การแข็งค่าขึ้นของสกุลเงิน US dollar ได้ส่งผลเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ การมีนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น และการใช้นโยบายที่ตรึงอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์อย่างเหมาะสมจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบดังกล่าวได้ พร้อมแนะประเทศกำลังพัฒนาที่ได้ประโยชน์จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ควรเร่งการลงทุนของภาครัฐเพื่อฉวยโอกาส และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเองไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน การลงทุนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล หรือการลงทุนเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
งานเสวนา "External rebalancing in turbulent time" ความผันผวนของสกุลเงินต่อพลวัตรการเปลี่ยนแปลงโลก จัดขึ้นในวันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 10.30-12.00 ณ ห้อง 208 ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 50 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสาร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รับเชิญบรรยายพิเศษในหัวข้อ ประสบการณ์ทางธุรกิจจากผู้บริหาร CEO Experience Sharing ภายใต้วิชา "Business Experience from Multidisciplinary CEO" หลักสูตรใหม่ของคณะวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดแรงบันดาลใจและประสบการณ์จริงแก่กลุ่มนิสิต
Chulalongkorn Business School คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลัง ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ ประกาศความสำเร็จ HIT PROGRAM ปี 2
—
Chulalongko...
ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Program สำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth
—
ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Progr...
แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง
—
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...
CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO หลักสูตรปริญญาโทสุดล้ำ
—
CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-MIT LGO ห...
ภาควิชาการตลาด Chulalongkorn Business School ร่วมมือ ฮาคูโฮโด ประเทศไทย สานต่อโครงการ HIT PROGRAM ปี 2 ตอกย้ำสร้างนักการตลาดตัวจริง
—
ภาควิชาการตลาด คณะพา...
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คว้ารางวัล Thailand's Top Corporate Brands 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
—
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการยกย่องให้เป็น Thailand's Top Cor...
บัญชี จุฬาฯ จัดเสริมแกร่งธุรกิจ "CBS : Boost Your Business Wisdom" เสวนาเสริมแกร่ง พลิกเกม เพื่อธุรกิจปี 2568
—
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิ...
KEX รับรางวัล"Thailand's Top Corporate Brand 2024" องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
—
นายเจียเหว่ย จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ...