รู้หรือไม่? ภายใน 1 ปีมีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการหกล้ม "กระดูกสะโพกหัก" อัตราสูงถึง 22% ซึ่งสาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุภายในบ้าน เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำและตกจากเตียง เป็นต้น เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีภาวะกระดูกพรุนและมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Sarcopenia) ร่วมด้วย ทำให้กระดูกสะโพกหักได้ง่ายแม้หกล้มไม่รุนแรง
ผศ.นพ. กรกฎ พานิช แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวชและโรงพยาบาลธนบุรี สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและอันตรายของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย พร้อมทั้งแนะนำวิธีเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุไว้อย่างน่าสนใจว่า "เมื่ออายุมากขึ้นมวลกล้ามเนื้อของคนเราจะลดลง เริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี มีการสูญเสียประมาณ 1% และจะลดลงอย่างรวดเร็วช่วงอายุ 40-50 ปี แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีปัญหาเหมือนกันหมด ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อน้อยลงคือ การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน เพราะไขมันจะเข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง รวมถึงการทำงานของระบบประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับใยกล้ามเนื้อจะเสื่อมไปตามวัย ทำให้มีการสลายของมวลกล้ามเนื้อมากกว่าการสร้าง
นอกจากนี้ การสูญเสียมวลกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่มีอายุมากขึ้นเสมอไป แต่การมีโรคประจำตัวก็ทำให้เกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ในคนที่เป็นโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ หรือโรคเบาหวาน พบได้ประมาณ 30% ส่วนในคนที่มีภาวะสมองเสื่อม พบได้ประมาณ 26%
อันตรายในผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ไม่ใช่แค่หกล้มง่ายและบ่อย เพราะในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายร่วมด้วย ความสามารถในการออกกำลังกายต่ำและมีอัตราการตายจากหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ตรวจพบหลอดเลือดแดงมีความแข็งไม่ยืดหยุ่น (Stiff) และผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น หากมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการวิจัยที่พบว่าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มวลกล้ามเนื้อปกติประมาณ 1.7 เท่า
ผศ.นพ. กรกฎ แนะนำเพิ่มเติมว่า "ผู้สูงอายุสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ด้วยการออกกำลังกาย ร่วมกับการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการสร้างกล้ามเนื้อ กระดูกและฟื้นฟูระบบประสาท รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย" การออกกำลังกาย ต้องระวังและทำให้ถูกวิธี เพราะผู้สูงอายุมีปัญหาข้อเสื่อม กระดูกพรุนร่วมกับมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้ไม่มีแรงออกกำลังกาย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการปวดเมื่อออกกำลังกาย จึงควรเริ่มออกกำลังกายครั้งละน้อยๆ เท่าที่ทำไหว เช่น ดึงยางยืด หรือทำท่าลุกจากเก้าอี้ช้าๆ 3-5 ครั้งต่อเซ็ต วันละ 1-2 รอบ หากไม่มีอาการปวดในวันถัดไปให้คงไว้เท่าเดิม แล้วค่อยเพิ่มจำนวน 1-2 ครั้งต่อเซ็ตในสัปดาห์ถัดไป ร่วมกับเดิน ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน 5-10 นาที เท่าที่ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วค่อยเพิ่มครั้งละ 10% เมื่อร่างกายชิน อย่าหักโหม เพราะถ้าบาดเจ็บจะรักษายากและนาน
"ปัญหาขาดสารอาหาร" ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดจากหลายปัจจัย เช่น ปัญหาในการเคี้ยว ที่มีการวิจัยในผู้สูงอายุของไทยพบว่ามีอัตราสูงถึง 50% ร่วมด้วยภาวะอื่นๆ อาทิ ยารักษาโรคทำให้ปริมาณน้ำลายลดลง การรับรสเสีย อาหารย่อยช้าทำให้อิ่มนานและท้องผูก เป็นต้น ล้วนทำให้เบื่ออาหาร ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือ การขาดโปรตีนและวิตามินดี เนื่องจากการบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ เช่น ต่ำกว่า 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว(กก.)/วัน เมื่อร่วมกับภาวะขาดวิตามินดี ที่คนสูงอายุโดยเฉพาะคนในเมืองมักจะไม่ค่อยโดนแดด ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง นอกจากนี้ การขาดธาตุเหล็กในผู้สูงอายุยังทำให้ภาวะโลหิตจางพบได้บ่อย ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะง่าย ไม่อยากเคลื่อนไหว
จากการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยให้สารอาหารครบถ้วน ประกอบด้วย เวย์โปรตีน, กรดอะมิโนลิวซีน, วิตามินดี วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 13 สัปดาห์ พบว่ามวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและทดสอบลุกจากเก้าอี้ได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้เฉพาะคาร์โบไฮเดรต สะท้อนว่าการได้รับสารอาหารในผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้สูงอายุจะรับประทานได้น้อย ดังนั้น ในกรณีเร่งด่วนหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารครบถ้วนหลากหลาย โดยรับประทานควบคู่กับอาหารมื้อหลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน" ผศ.นพ. กรกฎ กล่าวทิ้งท้าย
โรงพยาบาลธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาล นพ.วชิรบุณย์ ศาตระรุจิ ผู้อำนวยการแพทย์ นพ.สมยศ วรรณสินธพ ผู้อำนวยการสายคุณภาพ นางสาวสิริณัฐ สินวรรณกุล ผู้อำนวยการสายพยาบาล รับมอบประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพ Hospital Accreditation หรือ HA ภายในงานประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งทางโรงพยาบาลธนบุรีผ่านการรับรองครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 และผ่านการรับรอง 5 ครั้งติดต่อกัน รวมต่อ
รพ.ธนบุรี เปิดระบบลงทะเบียนด้วย AI ลดขั้นตอน ลดเวลาผู้ป่วย
—
โรงพยาบาลธนบุรี เรือธงเครือ THG โชว์ไฮเทค ใช้ AI บริการผู้ป่วย เปิดตัวระบบ Smart Registration...
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดงานมหกรรมสุขภาพกระดูกและข้อ “เช็กทุกจุด ชนะทุกข้อ”
—
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมโครงการบริการทางการแพทย์ ด้านโรคกระดูกและข้อให้กับปร...
ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.กรุงเทพพัทยา จัดประชุมวิชาการ เรื่อง “Pattaya Shoulder Conference 2016”
—
ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จัด...