ม.มหิดล พร้อมร่วมยกระดับ "เสื่อกก" สู่ "สินค้า GI" ชิ้นแรกของจ.อำนาจเจริญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ปัจจุบัน ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และการสร้างสรรค์เทคโนโลยีจาก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมผลักดันให้"เสื่อกก" กลายเป็น "สินค้า GI (Geographical Indication) ชิ้นแรกของจังหวัดอำนาจเจริญ" ซึ่งแสดงถึง "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" ที่จะทำให้เมืองไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในสายตาของชาวโลก

ม.มหิดล พร้อมร่วมยกระดับ "เสื่อกก" สู่ "สินค้า GI" ชิ้นแรกของจ.อำนาจเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา แก้วศรี หัวหน้าสำนักวิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความสำคัญของ "ต้นกก" ซึ่งจัดเป็น "วัชพืช" ที่สามารถพบได้โดยทั่วไปตามริมหนองน้ำ ในทางอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้"บำบัดน้ำเสีย" เพื่อการเป็น "โรงงานสีเขียว" ม.มหิดล พร้อมร่วมยกระดับ "เสื่อกก" สู่ "สินค้า GI" ชิ้นแรกของจ.อำนาจเจริญ

สำหรับความเป็นมาของ "เสื่อกก" ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล - จังหวัดอำนาจเจริญ กำลังผลักดันให้เป็น "สินค้า GI" ชิ้นแรกของจังหวัด นับเป็นสินค้าซึ่งสะท้อนถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน แทน "ของฝาก" อันอบอุ่นและแสดงการต้อนรับเกือบเทียบเท่าการ "ผูกผ้าขาวม้า" แด่แขกผู้มาเยือนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ

โดยชาวอีสานนิยมมอบเสื่อให้แก่กัน เนื่องด้วยตั้งแต่สมัยโบราณนิยมสร้างบ้านกันโดยใช้ไม้ไผ่มาปูแผ่เป็นพื้นเรือนซึ่งมีความเรียบที่ไม่เสมอกัน จำเป็นต้องใช้เสื่อปูรองก่อนนอน-นั่ง

จาก "วัชพืช" ที่ขึ้นตามริมห้วยหนองคลองบึง ปัจจุบันได้กลายเป็น "พืชเศรษฐกิจ" สำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้กับชาวจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต "เสื่อกก" ซึ่งมั่นใจได้ถึง "ความแข็งแรงทนทาน" มีอายุการใช้งานนานกว่าเสื่อที่ทำจากวัสดุธรรมชาติโดยทั่วไป โดยได้ผ่านการทดสอบแล้วด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และรับรองจากห้องปฏิบัติการ ดำเนินการโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากการเปรียบเทียบความแข็งแรงของตัวอย่างเส้นกกที่ผ่านกระบวนการตากแห้ง และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝน(พฤษภาคม - กรกฎาคม) จาก 2 แหล่ง คือ จังหวัดอำนาจเจริญ และกกจากภาคตะวันออกพบว่า ตัวอย่างเส้นกกจากจังหวัดอำนาจเจริญมีความแข็งแรง โดยทดสอบ"ความทนต่อแรงกดทับ" ผ่าน "เครื่องวัดลักษณะเนื้อสัมผัส" (Texture Analyzer) SMS รุ่น TA.XT Plus ได้ค่าเฉลี่ย18,006.66 กรัม มากกว่าตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบ ซึ่งมีความแข็งแรงโดยเฉลี่ย 9,494.05 กรัม หรือมีความทนทานกว่าประมาณสองเท่า

เสื่อกกที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอำนาจเจริญมีมากมายจากหลายตำบล จากการสำรวจนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยาแก้วศรี ที่ได้นำทีมลงพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัดที่ผ่านมาได้ค้นพบหนึ่งในผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อ ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้มาเยือน มาจาก "เสื่อกกบ้านนาหมอม้า"

โดยคณะทำงานโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำในการจัดทำข้อมูลเพื่อการขอรับรอง GI ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะใช้ความเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้ "ภูมิปัญญาอันล้ำค่า" ที่มีอยู่แล้วของชาวชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ยกระดับสู่การเป็น "สินค้า GI ชิ้นแรก" ที่จะทำให้ชาวจังหวัดอำนาจเจริญได้ภาคภูมิใจจากการที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มภาคภูมิ


ข่าวภูมิปัญญาท้องถิ่น+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์'ผ้าขอเอื้อ'สานต่อพระราชปณิธาน

จากพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริม ทำให้ผ้าขิด "ลายตะขอสลับเอื้อ" หรือ "ผ้าขอเอื้อ" ได้รับโล่รางวัลพระราชทานชนะเลิศจากการประกวดผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ที่จัดขึ้นโดย ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเมื่อเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จนปัจจุบันได้กลายเป็น "ลายผ้าประจำจังหวัดอำนาจเจริญ" อย่างภาคภูมิ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้นำเอาภูมิปัญญา"ผ้าขอเอื้อ" มาขยายผลเพื่อสืบสานวัฒนธรรม และส่งเสริม

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์ก... "Klang Glam (ภาคกลางระยิบระยับ) โครงการแบรนด์ดิ้งผลิตภัณฑ์ภูมิภาคกลางส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย" — สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CE...

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูมิสตึง อ.ปราสาท จ... สสส.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภูมิสตึง สานพลังชุมชนสร้างพื้นที่ดี ผ่านสื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่น — ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูมิสตึง อ.ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ใช้กระ...