ศูนย์คุณธรรม จัดเวทีวิชาการ "เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังสื่อสาร" ชี้ช่องปัญหาและทางแก้การสื่อสารคนต่างรุ่นในวัยทำงาน

07 Jun 2023

ศุนย์คุณธรรมฯ ร่วมมือกับคณะนักวิจัย จัดเวทีวิชาการผลักดันพลังการสื่อสารเชิงบวกเชื่อมคนต่างรุ่นในองค์กร "เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังสื่อสาร" โดยเฉพาะปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรระหว่าง "คนต่างวัย หรือ ต่างรุ่น" ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน

ศูนย์คุณธรรม จัดเวทีวิชาการ "เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังสื่อสาร" ชี้ช่องปัญหาและทางแก้การสื่อสารคนต่างรุ่นในวัยทำงาน

"ปัจจุบันเราสื่อสารผ่านทางโซเชียลมิเดียกันมากขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกัน เกิดการประทะกันง่ายขึ้น โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นที่คล้อยตามกัน หรือได้ยินแต่เสียงสะท้อนซ้ำ ๆ ในโลกออนไลน์ เราเรียกว่า ปรากฎการณ์ห้องแห่งเสียงสะท้อน หรือ Echo Chamber ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนในสังคมสื่อสารกันอย่างเข้าใจ คือการสื่อสารสร้างพลังบวก โดยเริ่มจากยอมรับ เคารพในความแตกต่างทางความคิด เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของคนต่างวัย พูดคุยโดยใช้เหตุผล สื่อสารด้วยภาษาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ ชื่นชมอย่างจริงใจ และหมั่นเติมพลังด้วยการส่งมอบกำลังใจซึ่งกันและกัน" 

รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวถึงแก่นสาระหลักของการเปิดเวทีวิชาการครั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดการนำองค์ความรู้จาก "โครงการวิจัย การศึกษาและพัฒนาการสื่อสารด้วยความเข้าใจ ระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร ปีพ.ศ.2565" สนับสนุนการจัดทำ โดย ศูนย์คุณธรรมฯ มีคณะทำงานหลัก จากบริษัท โคจอย คอนซัลติ้ง นำโดย ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล และ อัจฉรีย์ อาไพกิจพาณิชย์ ร่วมด้วย คณะทำงานจากบ้านใส่ใจ และกลุ่ม Being Han เพื่อให้เกิดการรับรู้และตระหนักถึงปัญหาด้านการสื่อสารในปัจจุบัน พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการสื่อสารพลังบวก ซึ่งเป็นทางเลือกในการขับเคลื่อนสังคมในมิติด้านคุณธรรม

ข้อมูลอ้างอิงในงานวิจัยฉบับปี พ.ศ. 2565 พบว่า คนต่างรุ่นแนวคิดต่อชีวิตและงานที่ต่างกัน ขณะที่คนรุ่นก่อนให้ความสำคัญกับความมั่นคง ยั่งยืน และความซื่อสัตย์ แต่คนรุ่นหลังให้ความสำคัญกับเสรีภาพ และความหมายของงานที่ทำ  ปัจจุบัน คนรุ่น   Gen Y  วัย 23-41 ปี จะเป็นประชากรหลักในวัยทำงานของประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง (43.3-46.0%) ของคนวัยทำงานของประเทศไทยทั้งหมด นับจากช่วงวัย 15-59 ปี รองลงมาอันดับสองเป็นคน Gen  X อายุ 42-57 ปี  (36.1%)   แต่ในช่วงสิบปีข้างหน้า นับจากปี พ.ศ.2563-2573 คนวัยทำงานGen  X จะลดจำนวนลงเหลือเพียงครึ่งเดียว สวนทางกับสัดส่วนคนวัยทำงาน Gen Z  ที่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า  จากเดิม 20.6% กลายเป็น 41.5% ขึ้นมาเป็นอันดับสอง

โดยคนเจนฯ X (อายุ 42-57 ปี ใน พ.ศ. 2565)  คุ้นชินกับการสื่อสารแบบทางเดียวและถูกผูกขาดจากส่วนกลาง  เป็นผลจากการเติบโตมาในยุคที่สังคมไทยค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้จะเป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบ จึงมีแนวโน้มให้ความสาคัญกับการมีเสถียรภาพ และการมองภาพรวมของสังคม ชุมชน ประเทศ  ส่วนกลุ่มเจนฯ Y ซึ่งแบ่งเป็นสองรุ่นเจนฯ Y ตอนต้น  หรือ เจนฯ Y1 อายุ 32-41 ปี นั้น เติบโตมากับความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งรัฐประหารและพฤษภาทมิฬ การปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดของไทย  วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งค่าเงินบาทตกต่ำ แต่อยู่ในช่วงเริ่มต้นยุคสื่อสารออนไลน์ครั้งแรกในปี 2538  การเรียนรู้จากภายนอก จึงส่งผลให้คุณค่าหลักของคนเจนฯ Y1  มีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้  ส่วนคนเจนฯ Y ตอนปลาย หรือ  เจนฯ Y2 อายุ 23-31 ปี (ในปี 2565) นั้น เติบโตกับการปะทะทางความคิด การเมืองที่มีสื่อขับเคลื่อนหลากหลายช่องทางในยุคอินเตอร์เน็ตเฟื่องปู จึงให้ความสาคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตนเป็นสาคัญ 

ปูมหลังช่วงเวลาการเติบโตจากสภาพเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมต่างกัน  ส่งผลต่อแนวคิดและพฤติกรรมการสื่อสารของคนแต่ละรุ่น  องค์กรจึงจำเป็นต้องปรับแนวทางการบริหารจัดการบุคลากรแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสม เชื่อมความแตกต่างระหว่างช่วงวัย  การบริหารสถานะอำนาจในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับช่วงวัยที่แตกต่างเช่น หัวหน้างานอายุน้อยกว่าทีมงาน หรือ ทีมงานมีหลายวัย เป็นต้น 

คำถามสำคัญ คือปัญหาการสื่อสารในสถานการณ์ปัจจุบันมีอะไรบ้าง และแนวทางการสื่อสารเชิงบวกภายในองค์กร เพื่อลดความขัดแย้งภายในองค์กรควรเป็นอย่างไร  

"หลักสำคัญของการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ จะต้องเริ่มจากการเข้าใจตนเอง ความรู้สึกนึกคิดในจิตใจตนเอง หรือความต้องการลึก ๆ ของตัวเราก่อน และต้องเข้าใจผู้อื่นว่า เขาน่าจะรู้สึกอย่างไร ความต้องการหรือคุณค่าอะไรที่เขายังไม่ได้รับการตอบสนอง จากนั้นจึงสื่อสารกันอย่างจริงใจ ซึ่งจะทำให้พบทางออกใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทั้งสองฝ่ายได้" ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล บริษัท โคจอย คอนซัลติ้ง จำกัด หนึ่งในคณะทำงานของงานวิจัยชุดนี้กล่าว

โดยแนวคิดหลักการสื่อสาร 3 ว่าด้วย เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่นและการสื่อสารอย่างจริงใจ  และ แนวปฎิบัติ ที่ทำให้การสื่อสารระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กรราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  สังเกต ท่าที น้ำเสียง ด้วยใจเป็นกลาง  ใส่ใจความรู้สึก ค้นหาความสำคัญของการทำงาน  การร้องขอในเชิงบวก และยอมรับการถูกปฎิเสธ 

การเปิดเวทีวิชาการต่อยอดองค์ความรู้สู่สาธารณะครั้งนี้ มุ่งเน้นเสนอปัญหาของการสื่อสารที่เกิดขึ้นในโลกของการทำงาน  ตลอดจนการเผยแพร่หลักคิด วิธีปฏิบัติและกรณีศึกษา รวมถึง เคล็ดลับในการสื่อสาร เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน แบบ "ชนะทั้งคู่" วิธีการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร การใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อสร้างพลังบวกในองค์กร ทำให้เกิดความเข้าใจตนเอง และผู้อื่น  และ กรณีศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร พร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหา เช่น ภาวะ burnout หมดพลังของคนวัยทำงาน  ลดการลาออก ภาวะ งานไม่เดิน การป้องกันภาวะไฟมอดของคนทำงาน  ที่มีปัจจัยและวิธีแก้ไขที่สามารถทำให้ทั้งในระดับพื้นฐานและการหาช่องทางแก้ไขในแต่ละกรณี  

ทั้งนี้  งานประชุมวิชาการ หัวข้อ "เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังสื่อสาร"  แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 การบรรยาย หัวข้อ "จะสื่อสารพร้อมบวก หรือสื่อสารพลังบวก"  โดย รศ.นพ.   สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม  นำเสนอวิธีการสื่อสารเชิงบวกที่ทรงประสิทธิภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน   ช่วงที่ 2 เวทีสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ "ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร และแนวทางการสื่อสารเชิงบวกภายในองค์กร" โดย  ผศ.ดร.ปภัสรา ชัยวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล นำเสนอ  นำเสนอปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร ซึ่งสัมพันธ์กับความแตกต่างของช่วงวัย เพศสภาพ ประสบการณ์ชีวิต และวัฒนธรรมหรือโครงสร้างองค์กร รวมถึงแนวทางการสื่อสารเชิงบวกเพื่อลดความขัดแย้งภายในองค์กร ช่วงที่ 3  เวทีเสวนา หัวข้อ " เรื่องเล่าในองค์กร"  โดย  ดร.รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล ผู้ก่อตั้งเพจ มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ และคุณชญาน์ทัต วงศ์มณี นักเขียน อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง และผู้ก่อตั้งเพจ ท้อฟฟี่ แบรดชอว์  ถ่ายทอดกรณีศึกษาจากประสบการณ์จริงและเทคนิคการลดปัญหาการสื่อสารด้วยความเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น  ทั้งรูปแบบการสื่อสารที่ดีอยู่แล้วขององค์กร ปัญหาการสื่อสารในองค์กร และแนวทางหรือวิธีการจริงที่ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่องเล่าเหล่านี้จะช่วยเสริมพลังไม่ให้คนในองค์กรเกิดการ "Burn Out"  ดำเนินรายการโดย ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

 งานประชุมวิชาการ หัวข้อ "คุณธรรม  ในพื้นที่ทางสังคม : เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังสื่อสาร"   จัดโดย  ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 13.30 - 15.00 น.  ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ และรับชมการถ่ายทอดสด (Facebook Live) ผ่านเฟซบุ๊ก Moral Spaces

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit