ในการประชุมว่าด้วยแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายใต้บริบทของเป้าหมาย "คาร์บอนคู่ขนาน" (Dual Carbon) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ณ กรุงปักกิ่ง คุณหม่า หย่งเซิง (Ma Yongsheng) ประธานบริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petroleum & Chemical Corporation) หรือ ซิโนเปค (Sinopec) (HKG: 0386) ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนกำลังมีการปรับตัวและพลิกโฉมอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้
"จีนให้คำมั่นว่าจะปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุดภายในปี พ.ศ. 2573 ก่อนที่จะลดลงจนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ความต้องการน้ำมันในประเทศจีนและทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเช่นกัน อันจะส่งผลให้เคมีภัณฑ์หลัก ๆ ในจีนมีกำลังการผลิตส่วนเกิน" คุณหม่ากล่าว "อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจำเป็นต้องใช้แนวทางริเริ่มใหม่ ๆ เพื่อเร่งพลิกโฉมและยกระดับอุตสาหกรรมให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ได้ พร้อมทั้งแสวงหาเส้นทางการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูงที่เน้นสร้างความได้เปรียบที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร"
ซิโนเปคได้ดำเนินการตาม "แผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน" (Energy Efficiency Improvement) และ "แผนปฏิบัติการองค์กรสีเขียว" (Green Enterprise Action) โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการตามแผนปฏิบัติการปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุด 8 ประการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยในปี 2565 ซิโนเปคสามารถกู้คืนคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1.5 ล้านตัน และนับตั้งแต่เปิดตัว "แผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน" ในปี 2557 บริษัทก็ได้ดำเนินโครงการไปแล้วถึง 5,000 โครงการ ซึ่งช่วยลดการใช้งานถ่านหินมาตรฐานลงถึง 8.36 ล้านตัน
การปรับโครงสร้างพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานช่วยสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ซิโนเปคกำลังเร่งปรับโครงสร้างพลังงานอย่างเต็มกำลังเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาพลังงานสะอาด โดยได้เตรียมพร้อมภาคพลังงานหลายภาคส่วนเพื่อให้เติบโตอย่างสมบูรณ์ รวมถึงส่งเสริมโครงการใต้พิภพ (Project Deep Earth) ให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากหินดินดาน ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลไกการผลิต การจัดหา การกักเก็บ และการจำหน่ายน้ำมันและก๊าซ ควบคู่ไปกับการเสริมความมั่นคงให้กับตำแหน่งผู้นำในด้านการใช้ประโยชน์จากความร้อนใต้พิภพและความร้อนเหลือทิ้ง (Waste Heat) ไปพร้อม ๆ กับผลักดันการนำเชื้อเพลิงชีวมวลมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม
ในขณะที่หลายฝ่ายเร่งพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว โรงงานนำร่องผลิตไฮโดรเจนสีเขียวของซิโนเปคในเมืองคู่เชอ (Kuqa) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ซึ่งปัจจุบันใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฮโดรเจนสีเขียวนั้น ถือเป็นโรงงานผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของจีนและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยกำลังการผลิตมากกว่า 10,000 เมตริกตันต่อปี ขณะเดียวกัน ซิโนเปคได้เปิดตัวโครงการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในเมืองออร์ดอส (Erdos) เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ซึ่งเป็นโครงการเคมีถ่านหิน-ไฮโดรเจนสีเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เมื่อไม่นานมานี้ แหล่งก๊าซหยวนป้า (Yuanba) ของซิโนเปค ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซความร้อนใต้พิภพแห่งแรกของโลกที่มีกำมะถันสูงเป็นพิเศษและมีระดับความลึก 7,000 เมตร สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติสะสมได้ทะลุ 3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 40 ล้านตัน
เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำ รวมถึงการใช้พลังงานสะอาดในวงกว้าง ซิโนเปคกำลังปรับโครงสร้างการใช้พลังงานให้เหมาะสม พร้อมส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแข็งอัดเม็ดแทนการใช้ถ่านหินบางส่วน รวมทั้งเดินหน้ายกระดับและประยุกต์ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับการขุดเจาะ การขุดเจาะแบบแฟรกกิ้ง การซ่อมแซมหลุมบ่อ และอื่น ๆ ตลอดจนพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
ซิโนเปคได้ยกระดับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้ดียิ่งขึ้น โดยในปี 2565 ซิโนเปคได้อัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 650,000 ตันลงในบ่อน้ำมัน ขณะที่โครงการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน ณ บ่อน้ำมันฉีหลู่-เซิงหลี่ (Qilu-Shengli Oilfield CCUS) ก็แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย โดยเป็นโครงการระดับเมกะตันโครงการแรกของจีน อีกทั้งยังมีการเปิดตัวท่อส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แรงดันสูงเป็นครั้งแรก สำหรับขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้จากโครงการข้างต้น เพื่อนำไปกำจัด กักเก็บ และกระตุ้นหลุมผลิต (Well Stimulation) ต่อไป
ซิโนเปคมุ่งมั่นที่จะผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระดับไฮเอนด์อย่างชาญฉลาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเดินหน้าส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานโดยอาศัยเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยคาร์บอนต่ำ บริษัทได้สร้างระบบอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในบ่อน้ำมันที่มีการซึมผ่านต่ำและอัดน้ำลงในบ่อน้ำมันที่มีการซึมผ่านปานกลางถึงสูง รวมทั้งผลิตน้ำมันข้นแบบเย็น ตลอดจนบูรณาการพลังงานหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอื่น ๆ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2161056/image_1.jpg
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา หนุนการฝึกเชื่อมและตัดโลหะใต้น้ำด้วยไฟฟ้า (Underwater Metal Arc Cutting and Welding) ศูนย์ฝึกแห่งเดียวของกระทรวงแรงงาน ที่สงขลา กระตุ้นแรงงานเพิ่มทักษะด้านช่างเชื่อม ป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รับรายได้นับแสนบาทต่อเดือน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันช่างเชื่อมใต้น้ำ เป็นอาชีพที่มีรายได้สูง ต้องใช้ทักษะ และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก สามารถทำงานได้ทั้งในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อู่ต่อเรือ
ปตท. ยึดมั่นในนโยบายรัฐ ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก มุ่งสร้างสมดุลทุกภาคส่วน
—
นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่...
GC จับมือ OR ร่วมมือด้านเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ร่วมกัน
—
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกั...
DEXON นำทัพโชว์เทคโนโลยีนวัตกรรมในงานสัมมนาเชิงวิชาการ
—
บริษัท เด็กซ์ซอน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ DEXON นำทัพเข้าร่วมจัดแสดงโชว์เทคโนโลยีนวัตกรรมในงา...
SE ปิดดีลขาย Firepump Big Lot 50 ล้านบาท รักษาระดับ New High Backlog
—
SE ปิดดีลขาย Firepump Big Lot 50 ล้านบาท รักษาระดับ New high Backlog 250-280 ล้านบา...
รมว.สุชาติ มอบกรมพัฒน์ ฝึกทักษะยานยนต์และชิ้นส่วนป้อน EEC กว่า 3,000 คน
—
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลสำนักงานคณะกรร...
SCB - GC ขับเคลื่อนภารกิจ Net Zero ต่อเนื่อง ลงนามสัญญาอนุพันธ์เชื่อมโยงความยั่งยืน Sustainability Linked Swap เป็นรายแรกในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย
—
ธนาคารไทยพา...
'เอสซีจี-ดาว' ขยายกำลังผลิตโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ เดินหน้าสร้างการเติบโต ตอบโจทย์อุตสาหกรรมทั่วโลก
—
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไท...