ต้มขมิ้นชันด้วย "เตาชีวมวล" ลดค่าแก๊ส ร้อนเร็ว ไฟแรง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

D community ชวนมาดูตัวอย่างชุมชนต้นแบบของโครงการ CEIS หนึ่งใน 3 พื้นที่ปฏิบัติการ (ภาคใต้) ที่ใช้ "นวัตกรรมพลังงานทางเลือก" มาเป็นเครื่องมือในการลดต้นทุน แปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร นำร่องด้วย "ขมิ้นชัน" ของ "วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านเขาน้อย" จ.สตูล ที่นอกจากจะตอบโจทย์กับความต้องการของชุมชนแล้ว วัสดุในการทำเชื้อเพลิงก็หาได้ง่ายในชุมชน และประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้แก๊ส

ต้มขมิ้นชันด้วย "เตาชีวมวล" ลดค่าแก๊ส ร้อนเร็ว ไฟแรง

เดิมวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านเขาน้อย ปลูกและขายขมิ้นชัน รวมถึงขิงแบบสดให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งพบปัญหาว่า "ขายในราคาต่ำไม่คุ้มทุน" และปัจจุบันชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชันบ้านเขาน้อย หันมาปลูกสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นหลายราย ทำให้การเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้ผลผลิตขมิ้นชันสดอยู่ 10,000 กิโลกรัม หรือ 10 ตัน ดังนั้นทางกลุ่มจึงร่วมกันบริหารจัดการผลผลิต รวมถึงความต้องการของเกษตรกรและชุมชน ให้สอดคล้องกับการตลาด ต้มขมิ้นชันด้วย "เตาชีวมวล" ลดค่าแก๊ส ร้อนเร็ว ไฟแรง

ก่อนหน้านี้ชุมชนใช้แก๊สหุงต้มในการผลิต และด้วยสถานการณ์ค่าแก๊สขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง จึงได้มาทดลองใช้ "เตาชีวมวล" ในการต้มฆ่าเชื้อขมิ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปถัด ไปพบว่า เตาชีวมวลสามารถลดค่าแก๊สได้ ซึ่งหากเทียบกับการใช้แก๊สหุงต้มต่อการต้มขมิ้นชันสด 200 กก. ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 230 บาท แต่เมื่อใช้เตาชีวมวลมีต้นทุนเพียงแค่ 65 บาท

เตาพลังงานชีวมวล สำหรับใช้ต้มขมิ้นก่อนตาก สามารถต้ม ได้ 400 กก./7 ชม./1วัน โดยใช้ไม้ฟืนประมาณ 2 ใน 3 ต่อ 1 กระสอบ อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศา ปัจจุบันต้มขมิ้นชันไปแล้วกว่า 4,700 กิโลกรัม ซึ่งช่วยลดค่าแก๊สหุงต้ม ได้ประมาณ 8 ถัง ๆ ละ 15 กก. คิดเป็นเงินอย่างน้อย 3,500 บาท

สำหรับเตาชีวมวล Top Lit Up Draft ที่ชุมชนใช้นั้นเป็นเตาที่ให้พลังงานความร้อนโดยใช้เศษชีวมวล ได้แก่ เศษไม้ ซึ่งมีระบบเผาไหม้ 2 ครั้ง ทำให้มีกำลังไฟที่สูงกว่าเตาชีวมวลทั่ว ๆ ไป รวมถึงเตาแก๊สด้วย ซึ่งเป็นวัสดุในการนำมาใช้เชื้อเพลิงก็สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ยาง เป็นต้น ผู้สนับสนุนและมอบให้ชุมชนโดยคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพลังงานชีวมวล ของคณะศิลปศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย

โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน - CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

เคยสงสัยไหมว่า "#นักพัฒนาชุมชน" เขาทำอะไรกัน ? ลองมาติดตามข้อมูลข่าวสาร D community เราจะบอกทุกเรื่องเลย

Facebook : https://www.facebook.com/GoodforCommunity

You tube : https://www.youtube.com/@dcommunity2023


ข่าวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์+มหาวิทยาลัยสงขลานควันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร

ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ช... จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง — ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...

เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทอ... เครือ รพ.พญาไท - เปาโล จับมือ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พัฒนานวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ — เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...