ศิลปินชาวไทย ธนัช ธีระดากร ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินในพำนักของโครงการ โดย Gasworks ร่วมกับ The Institutum

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

Gasworks ร่วมกับ The Institutum ได้เลือกศิลปินไทย ธนัช ธีระดากร (เกิด พ.ศ. 2534 กรุงเทพฯ ประเทศไทย) เป็นศิลปินในพำนักของโครงการ โดยมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2567 หลังจากที่เปิดรับสมัครศิลปินในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโครงการที่ให้โอกาสในการแจ้งเกิดแก่ศิลปินหน้าใหม่ในภูมิภาค

ศิลปินชาวไทย ธนัช ธีระดากร ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินในพำนักของโครงการ โดย Gasworks ร่วมกับ The Institutum

ธนัช ศิลปินที่ทำงานข้ามศาสตร์ นักดนตรี ดีเจ และนักออกแบบกราฟิก เขาได้สร้างสรรค์งานในสื่อต่าง ๆ อาทิ เสียง ดนตรี การแสดง ข้อความ ภาพพิมพ์ การออกแบบสินค้า และการจัดวาง ทั้งยังสร้างประสบการณ์ที่สมจริงในหลากหลายสถานการณ์ที่ผู้ชมเป็นส่วนร่วมสำคัญในการนำเสนอ ศิลปินชาวไทย ธนัช ธีระดากร ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินในพำนักของโครงการ โดย Gasworks ร่วมกับ The Institutum

ธนัชรวบรวมเศษเสี้ยวชีวประวัติ ความทรงจำ และข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันเข้ากับเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ผลงานของเขาตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีที่การประกอบสร้างเรื่องเล่าเชิงวัฒนธรรม โดยนำเสนอผ่านสื่อ วัฒนธรรม และบริบทตามสภาพพื้นที่

เขาสำเร็จการศึกษาตรีด้านการออกแบบนิเทศศิลป์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโทด้านวิจิตรศิลป์และการออกแบบจาก Werkplaats Typografie ประเทศเนเธอร์แลนด์ ธนัชเป็นศิลปินที่มีผลงานมากมายที่นำเสนอนิทรรศการเดี่ยว และนิทรรศการกลุ่มหลายครั้งในกรุงเทพ ฯ และเบอร์ลิน โดยล่าสุด ผลงานชุด Chaos Mandala: National Coloration Complex นิทรรศการเดี่ยวของเขาได้จัดแสดงที่ Bangkok City Gallery (2566); ผลงานศิลปินพำนักแบบ Solo eExhibition ที่ A LESTE เมืองปอร์โต (2565) และนิทรรศการ Transmediale Group ที่ Kulturquartier ณ กรุงเบอร์ลิน (2566)

ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่ Gasworks ธนัชจะทำงานวิจัยนอกสถานที่เกี่ยวกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในลอนดอน โดยเน้นค้นคว้าในหัวข้อการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในอังกฤษ (เหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2231-2232) ซึ่งส่งผลให้พระเจ้าเจมส์ที่ 2 สิ้นพระชนม์ และการขึ้นครองราชย์ของพระราชธิดาของพระองค์ (สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2) และพระราชสวามีของพระนาง (พระเจ้าวิลเลียมที่ 3) ในเวลาต่อมา รวมทั้งเรื่องราวเบื้องหลังของกฎบัตรใหญ่ (Magna Carta) ที่ตราขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 1758 ทั้งนี้เขาจะพัฒนาผลงานใหม่จากการวิจัยไปพร้อม ๆ กัน โดยผสมผสานกับวิถีประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักร และบริบททางสังคม และการเมืองในปัจจุบัน


ข่าวการออกแบบ+นักออกแบบวันนี้

สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณ... ส่อง 5 แบรนด์เครื่องประดับไทยสุดชิคร่วมโชว์ผลงานพิเศษในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair 2025 — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) พาเปิ...

Spacely AI เป็นสตาร์ทอัพเพียงรายเดียวจากเ... Spacely AI คว้ารางวัลที่สาม ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของ SketchUp — Spacely AI เป็นสตาร์ทอัพเพียงรายเดียวจากเอเชียที่ก้าวสู่สามอันดับสุดท้ายในงาน Sketc...

นางสาวนิวัติธิดา พลหาญ และ นางสาววริยา จิ... 2 นักออกแบบรุ่นใหม่ ม.ศรีปทุม ติด Top 20 Interior Design เข้ารับเกียรติบัตร จากเวที AYDA Awards 2024 — นางสาวนิวัติธิดา พลหาญ และ นางสาววริยา จิตตยานุรักษ...

นายอเส สุขยางค์ (คนกลาง) นายกสมาคมสถาปนิก... สถาปนิก'68 เปิดฉาก! โชว์นวัตกรรมก่อสร้างครบวงจร — นายอเส สุขยางค์ (คนกลาง) นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดงานสถาปนิก'68 งานแสดงเทค...