-ช่วงเวลาประจวบกับการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและความมั่นคง G7 ประจำปี 2566 ในเมืองมิโตะ-
รัฐบาลประจำจังหวัดอิบารากิ ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและความมั่นคงกลุ่ม G7 ประจำปี 2566 ในเมืองมิโตะ ได้เผยแพร่วิดีโอเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 โดยมีผู้นำภาคเกษตรกรรมและการประมงในท้องถิ่นที่ใช้ความพยายามอย่างแข็งขัน เช่นเดียวกับข้อความของผู้ว่าราชการจังหวัดอิบารากิ
จังหวัดอิบารากิมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และทะเลกว้างใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองด้านเกษตรกรรมและการประมง รวมถึงตั้งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่างกรุงโตเกียว และได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่ดีเยี่ยม จึงส่งผลให้จังหวัดอิบารากิมีบทบาทสำคัญในการจัดหาอาหารให้กับพื้นที่มหานครของกรุงโตเกียว และวิดีโอที่ปล่อยออกมาก็สะท้อนให้เห็นเรื่องราวเหล่านี้
วิดีโอ "เมนูต่อไปที่จะปรากฏบนโต๊ะอาหารเย็นในเร็ว ๆ นี้ มันเทศหวานสุด ๆ จากอิบารากิ และปลาที่เลี้ยงโดยเทคโนโลยีเอไอ" (Coming to your dinner table soon? Ibaraki's extra sweet potatoes, AI farmed fish): https://www.youtube.com/watch?v=y8QBj1iKyzM
รูปภาพ:
https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI3fl_0ufr5kJ2.png
https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI4fl_vDadRplD.png
ไฮไลต์
สู่โต๊ะรับประทานอาหารของโลก: การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของอิบารากิเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในช่วง 6 ปี:
อิบารากิมีผลผลิตรวมทางการเกษตรมากเป็นอันดับสองของประเทศเมื่อประเมินในระดับจังหวัด และเมื่อตลาดในประเทศมีแนวโน้มว่าจะหดตัวลงเพราะประชากรมีจำนวนลดลง ทางจังหวัดอิบารากิซึ่งเน้นเนื้อวัว "ฮิตาชิ" ข้าว ผลไม้ และผักเป็นสินค้าหลัก ก็กำลังสำรวจตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้ การส่งออกมันเทศเติบโตอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากความต้องการมันเทศอบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภูมิภาคนาเมะกะตะทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอิบารากินั้นเป็นผู้ผลิตมันเทศชั้นนำในญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมประมงของอิบารากิต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยีล่าสุด:
จังหวัดอิบารากิซึ่งมีพื้นที่ตกปลาอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีผลผลิตปลาทะเลมากเป็นอันดับสองในญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2564 อิบารากิมีผลผลิตปลาแมคเคอเรลมากที่สุดของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม จังหวัดอิบารากิวิเคราะห์ว่า ภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมทางทะเลเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจับปลาได้น้อยลง
-เปิดตัวโครงการตรวจสอบการเพาะเลี้ยงปลาแมคเคอเรล โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอุปกรณ์ให้อาหารปลาอัตโนมัติ พร้อมตรวจสอบสภาพปลา และอื่น ๆ
-เปิดตัวแบรนด์ใหม่อย่าง "คาซึมิกาอุระ คาเวียร์" (Kasumigaura Caviar) ที่ใช้ปลาสเตอร์เจียนเพาะเลี้ยง โดยการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีข้อได้เปรียบมากกว่าการจับปลาในมหาสมุทร เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยกว่า ทั้งยังดำเนินการบนบกโดยใช้น้ำจืดได้ด้วย
แผนที่: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI5fl_Z16wAkO2.png
ที่มา: รัฐบาลจังหวัดอิบารากิ
คณะกรรมการบริหารการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลก (Global Innovation Challenge Executive Committee) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "คณะกรรมการบริหารจีไอซี") ซึ่งตั้งอยู่ในโตเกียว มีความยินดีที่จะประกาศว่า "การแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกประจำปี 2566 การประกวดหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการใช้ชีวิต" (Global Innovation Challenge 2023 Living Assistance Robot Contest) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "การแข่งขันจีไอซี") จะจัดขึ้นในปีหน้า ที่ "ศูนย์นวัตกรรมจีไอซี สึคุบะ" (GIC Tsukuba Innovation Center) ในเมืองสึคุบะ จังหวัดอิบารากิ ประ
รัฐบาลจังหวัดอิบารากิ ภูมิใจเสนอ "IBARAKI" วิดีโอโปรโมทการท่องเที่ยวชุดใหม่
—
- ตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเยือนอิบารากิ ผ่านภาพยนตร์สั้น 10 เ...
ภาพข่าว: รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เยือนประเทศญี่ปุ่น ปิดการอบรมเยาวชนเกษตร
—
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ...