เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 1 ปีของการเปิดตัว ChatGPT ขณะนี้บริษัทชั้นนำกำลังใช้ประโยชน์จาก Gen-AI ไม่เพียงแค่เพื่อขับเคลื่อนงานในระดับบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั้งทีมและแผนก เพื่อให้บรรลุการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรทั้งหมด
ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค แอ๊พซินท์ (Appsynth) นำขุมพลังของ Gen-AI มาปรับใช้ในทุก ๆ ส่วนขององค์กรอย่างรวดเร็ว โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการ Gen-AI ขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยรวมตัวแทนจากทุกแผนก เพื่อร่วมกำหนดแนวทางและศึกษาการนำ Gen-AI ไปใช้งานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในธุรกิจที่ปรึกษาดิจิทัลและการพัฒนาซอฟต์แวร์
การเปิดตัวของ ChatGPT ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ AI กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย มีฐานผู้ใช้งานมากถึง 180 ล้านคนในเวลาเพียงหนึ่งปี ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่สร้างฐานผู้ใช้งานได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีรายงานว่ามีผู้ใช้งานถึง 100 ล้านคนต่อสัปดาห์
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการตอบสนองคำสั่งของระบบ ChatGPT จะดูน่าประทับใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) เช่น ChatGPT ไม่ได้มีความเข้าใจในคำสั่งของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นเพียงการจับคู่รูปแบบเพื่อให้การตอบสนองความน่าจะเป็นสูงสุด และด้วยเหตุนี้จึงอาจไม่ได้มี "ปัญญา" อย่างแท้จริง แม้ว่า ChatGPT จะแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของ AI แต่ก็ยังถือว่าเป็นปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (ANI) ซึ่งหมายความว่า เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานได้เฉพาะทาง มีความสามารถทำงานที่ได้รับคำสั่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตัวงานที่สามารถทำได้นั้นยังคงมีจำกัด
วิวัฒนาการขั้นถัดไปของปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (AGI) คือ การที่ AI มีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ในทุก ๆ ทาง หรือที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินว่า "ความเป็นเอกเทศ หรือ ภาวะเอกฐาน" ซึ่งหมายถึง จุดที่ปัญญาประดิษฐ์พัฒนาล้ำหน้าไปและสามารถทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันนี้แม้จะมีการพัฒนาไปมากแล้ว ก็ยังนับว่าห่างไกล อย่างไรก็ดี ด้วยอัตราการลงทุนที่ไหลเข้าสู่วงการ AI ในปัจจุบัน ภาวะเอกฐาน อาจจะมาเร็วกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญเคยคาดการณ์ไว้
ในปัจจุบันแม้การใช้งาน AI จะยังคงมีข้อจำกัด แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธประโยชน์จากการใช้งาน Gen-AI ได้ เช่น สามารถเร่งการค้นคว้าวิจัยให้เสร็จเร็วขึ้น จัดระเบียบความคิด และเขียนถ้อยคำใหม่ได้อย่างรวดเร็ว การเข้าใจการใช้งาน AI ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น
ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา แอ๊พซินท์ ถือเป็นผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทย โดยทางบริษัทฯได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำมากมาย ในการออกแบบ พัฒนา และส่งมอบแอปพลิเคชันสู่มือผู้บริโภค และยังช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เปิดตัวธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ อีกด้วย แอ๊พซินท์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทไอทีที่เติบโตเร็วที่สุดอันดับ 1 ของไทย จากดัชนีการจัดอันดับประจำปีของ Financial Times
ในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีใหม่ไปใช้งาน ทาง Appsynth กำลังดำเนินงานปรับขบวนการภายในทุกแผนก โดยนำ Gen-AI มาใช้งานในส่วนต่าง ๆดังนี้:
นายโรเบิร์ต แกลลาเกอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท แอ๊พซินท์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า "ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดยิ่งเร็วยิ่งดี ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทันกับคู่แข่ง และยังช่วยให้เริ่มเรียนรู้เห็นข้อมูลจริงจากการใช้งานจากผู้ใช้งาน" พร้อมเสริมว่า "Gen-AI เข้ามาช่วยย่นระยะเวลาการทำงานของเราลง ซึ่งช่วยให้ลูกค้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ สู่มือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ล้ำหน้าคู่แข่งในตลาดที่อาจยังไม่ตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยี Gen-AI"
แม้ว่าเทคโนโลยี Gen-AI สามารถช่วยเร่งกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่การประเมินผลกระทบล่วงหน้าที่จะเกิดกับโครงการก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จมากขึ้น ด้วยทรัพยากรที่เท่ากัน สำหรับลูกค้าของแอ๊พซินท์ ที่มีทีมงานเฉพาะที่ทำงานตามเวลาและทรัพยากรที่กำหนด นั่นหมายความว่าแอ๊พซินท์ สามารถส่งมอบคุณค่าได้ในเวลาเดียวกัน และต้นทุนที่ดีขึ้นด้วย
นอกเหนือจากการบริการด้านการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันแล้ว แอ๊พซินท์ยังให้บริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยองค์กรปรับปรุงกระบวนการ และยกระดับความสามารถใหม่ ๆ ของทีมงาน นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี Gen-AI เพื่อเร่งบริการการพัฒนาดิจิทัลหลักแล้ว แอ๊พซินท์ จะเริ่มช่วยเหลือลูกค้าในการปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของ Gen-AI เพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกันในองค์กรของตนเอง โดยการนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรยุคใหม่ในปัจจุบัน
อาลีบาบา สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับนวัตกรรมด้าน AI เปิดตัว Qwen3 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของตระกูลโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) แบบโอเพ่นซอร์สของบริษัทฯ ซีรีส์ Qwen3 ประกอบด้วยหก dense model และสอง Mixture-of-Experts (MoE) model ซึ่งช่วยให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้างแอปพลิเคชันยุคใหม่สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แว่นตาอัจฉริยะ ยานยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมายได้อย่างยืดหยุ่นโมเดล Qwen3 ทั้งหมด ปัจจุบันเปิดเป็นโอเพ่นซอร์สทั่วโลก ซึ่งรวมถึง dense models (ขนาดพารามิเตอร์ 0.6B, 1.7B, 4B, 8B, 14B, และ 32B) และ MoE
กรุงศรี จับมือ ผู้ผลิตระบบบัญชี Express นำเสนอบริการ Krungsri Bill Payment Online ให้ SME เข้าถึงเทคโนโลยีการรับชำระเงินได้ง่ายๆ ปลอดภัย ลดต้นทุนด้านไอที
—
กรุงศรี (ธน...
อาลีบาบา คลาวด์ วางตลาดโมเดล เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐาน รุ่นล่าสุดสำหรับ AIมุ่งเสริมประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งให้กับชุมชน AI ทั่วโลก
—
ธุรกิจด้านเทคโนโลยี...
เอเซอร์หนุนอุตสาหกรรมอีสปอร์ตไทย โตต่อเนื่อง ปั้นนักศึกษาในโครงการ "Esports Internship Program" เปิดโอกาสงานด้านอีสปอร์ตให้กลุ่มคนพิการ
—
เอเซอร์คาดการณ์ว...
Amity Solutions จับมือ Databricks เปิดตัวนวัตกรรมแพลตฟอร์มสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาธรรมชาติ
—
ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้เป็นการผสานรวม EkoAI เข้ากับ Databricks ...
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม ปั้นนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ สู้ศึกดิจิทัล! ผ่านโครงการ Tech Talk #4
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการอบรมหล...
เรียนรู้ Prompt Engineering ที่ SPU พร้อมก้าวสู่ตลาดงานระดับโลก
—
เรียนรู้ "Prompt Engineer" อาชีพใหม่ไฟแรงในยุค AI กับ อาจารย์เบวล์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ...
ปฏิวัติการเรียนรู้ " โกซอฟท์" บริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ MOU ร่วมกับ "DEPA" สร้างเส้นทางสู่สังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน
—
บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี...
Amity Solutions คว้ารางวัล "The Sauciest Startup" จากงาน Techsauce Awards 2024
—
คำบรรยายภาพ: Keng Teik Koay ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท และ ทัชพล ...
คอนติเนนทอล จับมือ Synopsys นำเทคโนโลยี Digital Twin สู่ยานยนต์เร่งการพัฒนาซอฟต์แวร์
—
การรวมหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริงจาก Synopsys และชุดฮาร์ดแว...