สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย แนะ เด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หลังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) เตือน ระวังอันตรายจากโรคไอกรน ขณะนี้กำลังระบาดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 2 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ สะบ้าย้อย และเทพา เน้นย้ำ ผู้ปกครองต้องพาบุตรหลานที่มีอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน หากมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูก ไอผิดปกติ ไอเป็นชุดๆ ติดต่อกัน 5-10 ครั้ง จนทำให้หายใจไม่ทัน หายใจมีเสียงดังวู๊ป อาจป่วยเป็นโรคไอกรน ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน      

สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย แนะ เด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หลังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สคร.12 สงขลา ได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2566 - 6 กุมภาพันธ์ 2567) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยโรคไอกรน 639 ราย จำแนกเป็น ปัตตานี 250 ราย ยะลา 245 ราย นราธิวาส 132 ราย และสงขลา 12 ราย เสียชีวิตแล้ว 7 ราย ในจังหวัดนราธิวาส 3 ราย ปัตตานี 2 ราย และยะลา 2 ราย ทั้งนี้ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน หรือฉีดแล้วแต่ไม่ครบตามที่กำหนด  โดยโรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (B. pertussis) ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม สัมผัสกับสารคัดหลั่งและเครื่องใช้ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อในเด็ก ซึ่งอาการของโรคไอกรนในเด็กอาจรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยอาการของโรคจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6-20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูก และไอเป็นชุดๆ ถี่ๆ ติดกัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่า ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ทัน และเสียงหายใจดังวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุด บางรายอาจเป็นเรื้อรังนาน 2 ถึง 3 เดือน      สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย ไม่ฉีดวัคซีนอันตรายถึงตาย แนะ เด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หลังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง

นายแพทย์เฉลิมพล กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีผู้ป่วยไอกรนในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบ 3 เข็ม ต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ในผู้สัมผัสโรคควรสังเกตอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์ทันที การระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ ผู้ป่วยไม่ได้รับวัคซีน และเด็กมักได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่ป่วยและมีอาการไอ เนื่องจากในผู้ใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษา ทำให้มีการระบาดในครอบครัว

การฉีดวัคซีนในพื้นที่ระบาด โดยพาบุตรหลานไปฉีดเข็ม 1 เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ เข็ม 2 และเข็ม 3 ห่างจากเข็มก่อนหน้า 4 สัปดาห์ เข็ม 4 เมื่ออายุอย่างน้อย 15 เดือน และเข็ม 5 เมื่ออายุครบ 4 ปี สำหรับหญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพื่อให้ลูกในท้องที่คลอดมามีความปลอดภัยจากโรคไอกรน โดยสามารถฉีดได้เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422


ข่าวo:member+o:healวันนี้

5 อาการต้องระวัง! เสี่ยง "มะเร็งลำไส้" ไม่รู้ตัว

มะเร็งลำไส้ โรคร้ายที่ไม่เลือกอายุ เพศ หรือเชื้อชาติ ใครก็เสี่ยงเป็นได้ อาจเริ่มต้นจากอาการเล็กๆ ที่เราไม่ทันสังเกต และนี่คือ 5 สัญญาณเตือน ที่คุณไม่ควรละเลย! ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้ามีอาการนี้ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ เช่น ไม่ถ่ายหลายวัน แล้วจู่ๆ ก็ท้องเสีย อาจเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งผิดปกติในลำไส้ ถ่ายเป็นมูกเลือด การมีเลือดปนมากับอุจจาระ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย เป็นสัญญาณเตือนสำคัญว่าลำไส้ใหญ่กำลังมีปัญหา ลักษณะอุจจาระเปลี่ยนไป โดยปกติอุจจาระควรเป็นแท่งขนาดพอดี แต่ถ้ารูปร่างเปลี่ยนเป็น เส้นเล็ก เรียวยาว

"แกงส้มก็ซอฟต์พาวเวอร์ได้!" อภัยภูเบศรชูส... อภัยภูเบศรชูสมุนไพร-อาหารไทย สร้างสุขภาพ สร้างเศรษฐกิจ ในมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 — "แกงส้มก็ซอฟต์พาวเวอร์ได้!" อภัยภูเบศรชูสมุนไพร-อาหารไทย สร้า...

ผู้ประกอบการทุกคนรู้ดีว่า หากกลุ่มเป้าหมา... เผย 5 เทคนิคการตลาดสุดปัง! สร้างกระแส (Buzz) ให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยตัวเอง — ผู้ประกอบการทุกคนรู้ดีว่า หากกลุ่มเป้าหมายไม่รู้จักผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ ค...

การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต... รอยยิ้มใหม่ เริ่มต้นด้วย.. "รากเทียม" — การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเพราะจะเกิดปัญหาการเคี้ยวอาหาร รว...

วันนี้ (30 มิถุนายน 2568) กรมอนามัย กระทร... ผนึกกำลัง กรมอนามัย - เอกชน ร่วมดูแลสุขภาพช่องปาก สร้างรอยยิ้มเด็กไทย — วันนี้ (30 มิถุนายน 2568) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงควา...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา จันทร์ผ่อง ภา... มะเร็งปากมดลูก : โรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงควรรู้ — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา จันทร์ผ่อง ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิ...

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดตั... ม.หัวเฉียวฯ เปิด 3 ศูนย์สุขภาพ ผสานแพทย์แผนจีน-AI เชื่อมการดูแลแบบองค์รวม — มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดตัว "คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพท...

วงการสมุนไพรต้องจับตา! เปิดตัว 'กัมมี่สมุ... เนเจอร์ไบโอเทค 15 ปีแห่งความเชื่อมั่น สู่ก้าวใหม่ของนวัตกรรมสมุนไพร — วงการสมุนไพรต้องจับตา! เปิดตัว 'กัมมี่สมุนไพร' ทางเลือกใหม่ของการดูแลสุขภาพ" ในงานมห...