เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์ (Japan Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา โดยศ.เซอร์ ไบรอัน เจ ฮอสกินส์ (Sir Brian J. Hoskins) จากสหราชอาณาจักร และศ.จอห์น ไมเคิล วอลเลซ (John Michael Wallace) จากสหรัฐอเมริกา ร่วมกันคว้ารางวัลเจแปน ไพรซ์ ในสาขาทรัพยากร พลังงาน สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ขณะที่ศ.โรนัลด์ เอ็ม อีแวนส์ (Ronald M. Evans) จากสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชศาสตร์

- สาขาทรัพยากร พลังงาน สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม

ศ.เซอร์ ไบรอัน เจ ฮอสกินส์

https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202401155280/_prw_PI4fl_MnpACdsk.jpg

ศ.จอห์น ไมเคิล วอลเลซ https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202401155280/_prw_PI3fl_RS9kF6a4.jpg

- สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชศาสตร์

ศ.โรนัลด์ เอ็ม อีแวนส์ https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202401155280/_prw_PI2fl_YIMVuEE8.jpg

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปีนี้ ศ.ฮอสกินส์และศ.วอลเลซได้รับการยกย่องจากผลงานอันโดดเด่น ในการวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจและพยากรณ์เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ส่วนศ.อีแวนส์ได้รับการยกย่องจากผลงานการค้นพบตระกูลตัวรับฮอร์โมนนิวเคลียร์และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายา

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ปี 2567 ทางมูลนิธิฯ ได้ขอให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีชื่อเสียงประมาณ 15,500 คนทั่วโลก ร่วมเสนอชื่อนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสาขาประจำปีนี้ โดยได้รับการเสนอชื่อ 130 รายในสาขาทรัพยากร พลังงาน สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และได้รับการเสนอชื่อ 198 รายในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชศาสตร์ ซึ่งผู้ชนะประจำปีนี้ได้รับเลือกจากผู้ชิงรางวัลรวม 328 ราย

เกี่ยวกับเจแปน ไพรซ์

เจแปน ไพรซ์ (Japan Prize) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างสรรค์รางวัลระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลก และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคมากมาย ในที่สุดมูลนิธิเจแปน ไพรซ์ ก็ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีในปี 2526

เจแปน ไพรซ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์และน่าทึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับสาขาของตนเอง ตลอดจนสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาล้วนมีสิทธิ์ได้รับรางวัล ซึ่งในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัลสองสาขาโดยพิจารณาจากแนวโน้มการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยหลักการแล้วจะมีผู้ชนะรางวัลสาขาละหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และเงินรางวัล นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐบาลทั้งสามฝ่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลในแต่ละครั้งด้วย

ที่มา: มูลนิธิเจแปน ไพรซ์


ข่าวo:editor+o:c_genวันนี้

งานสัปดาห์ประสบการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลกรุงปักกิ่ง 2568 เปิดโลกเศรษฐกิจดิจิทัลของมหานครจีน

GDEC 2025 งานสัปดาห์ประสบการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลกรุงปักกิ่ง ประจำปี 2568 ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน โดยสถานที่จัดงานคือ Beijing Fun Qianyechang ในเขตซีเฉิง สำหรับงานสัปดาห์ฯ ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "A Brilliant Digital-Friendly Beijing New Trends in Consumer Experiences" โดยถือเป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568 (GDEC 2025) ภายในงานมีการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับประสบการณ์ของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อสร้างสรรค์มหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลที่น่าสน

GDEC 2025 The 2025 Beijing Digital Econom... Explore Digital Beijing -- 2025 Experience Week Kicks Off in Style — GDEC 2025 The 2025 Beijing Digital Economy Experience Week opened on June 27 at Beiji...

สำนักงานคณะกรรมการบริหาร อีโค ฟอรัม โกลบอ... งานเสวนา อีโค ฟอรัม โกลบอล กุ้ยหยาง 2568 เปิดฉาก ก.ค. ชูการเปลี่ยนผ่านสีเขียวระดับโลก — สำนักงานคณะกรรมการบริหาร อีโค ฟอรัม โกลบอล กุ้ยหยาง ประจำปี 2568 ส...

Office of the Executive Committee, Eco Fo... 2025 Eco Forum Global Guiyang to Kick off in July Spotlighting Global Green Transformation — Office of the Executive Committee, Eco Forum Global Guiyang 2...

สมาคมอุตสาหกรรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมณฑลกุ้... กุ้ยโจวกับความสำเร็จในการพัฒนาเชิงนิเวศ: จาก 'เขตทดลอง' สู่ 'เขตนำร่อง' — สมาคมอุตสาหกรรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมณฑลกุ้ยโจว มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจี...

สมาคมอุตสาหกรรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมณฑลกุ้... กุ้ยโจวเผยประสบการณ์ในการสร้างอารยธรรมนิเวศวิทยาอย่างเป็นรูปธรรม — สมาคมอุตสาหกรรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมณฑลกุ้ยโจว นครกุ้ยหยาง เมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว ซึ่งได...

Guizhou Environmental Protection Industry... Guizhou's Fruitful Eco-Construction: from 'Experimental Zone' to 'Pilot Zone' — Guizhou Environmental Protection Industry Association Guizhou, located in ...

Guizhou Environmental Protection Industry... Guizhou's Experience in Making "Ecological Value" from "Green Appearance" — Guizhou Environmental Protection Industry Association Guiyang, known as the "C...

การประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568 เตรียมเปิดฉาก 2 กรกฎาคมนี้ พร้อมเผยไฮไลต์สำคัญในงาน

การประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา กรุงปักกิ่งได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อประกาศว่า การประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลโลก ประจำปี 2568 หรือ GDEC 2025 จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่...