"หัวเว่ย" มอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดปรับแต่งและใช้งาน AI

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หัวเว่ย (Huawei) มอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดปรับแต่งและใช้งาน AI หงอคง-ฮวาฮวา (Wukong-Huahua AI Fine-Tuning and Application Competition) ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อ "นิยายวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์" (Science Fiction and Creativity) ในงาน "นิยายวิทยาศาสตร์ปะทะข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์" (Science Fiction vs Science Fact) ซึ่งจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์นิยายวิทยาศาสตร์เฉิงตู งานนี้จัดขึ้นโดยหัวเว่ยในระหว่างการประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลก ครั้งที่ 81 ผู้ร่วมอภิปรายในงานได้แก่ คุณหวัง จินกัง (Wang Jinkang) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการแต่งนิยายวิทยาศาสตร์แห่งสมาคมนักเขียนวิทยาศาสตร์จีน คุณเอ็นเนดิ โอโคราฟอร์ (Nnedi Okorafor) ผู้ชนะรางวัลฮิวโก (Hugo Award) ประจำปี 2559 และ 2566 และคุณอวี้ คุน (Yu Kun) ผู้ชนะรางวัลกาแล็กซี (Galaxy Award) และรางวัลไชนีส เนบิวลา (Chinese Nebula Awards) ตลอดจนคุณหู เสี่ยวหมาน (Hu Xiaoman) ผู้อำนวยการชุมชนโอเพ่นซอร์ส ไมนด์สปอร์ คอมมิวนิตี (MindSpore Community) ของหัวเว่ย

"หัวเว่ย" มอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดปรับแต่งและใช้งาน AI

การประกวดปรับแต่งและใช้งาน AI หงอคง-ฮวาฮวา เปิดโอกาสให้ทีมจากทั่วโลกได้ปรับแต่งโมเดลหงอคง-ฮวาฮวา เพื่อสร้างงานที่สร้างโดย AI (AIGC) หรือสร้างแอปพลิเคชันตามโมเดลดังกล่าว ในท้ายที่สุดก็มี 6 ทีมที่โดดเด่นจนคว้ารางวัลที่หนึ่งและสองมาได้ "หัวเว่ย" มอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดปรับแต่งและใช้งาน AI

โมเดลต้นแบบหงอคง-ฮวาฮวา เป็นโมเดลการแพร่กระจาย (diffusion model) ที่สร้างภาพตามข้อความภาษาจีนได้ โมเดลดังกล่าวผสมผสานกรอบการทำงานด้าน AI ของไมนด์สปอร์ และฮาร์ดแวร์แอสเซนด์ แอตลาส (Ascend Atlas) โดยนำชุดข้อมูลหงอคงมาใช้เทรน ซึ่งเป็นชุดข้อมูลโอเพ่นซอร์สภาษาจีนหลายรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก โมเดลสามารถสร้างภาพคุณภาพสูงที่แสดงฉากต่าง ๆ ในหลากหลายสไตล์ได้

นิยายวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์แบบอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ในขณะที่นิยายวิทยาศาสตร์สนับสนุนให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนรุ่นต่าง ๆ สร้างและสนับสนุนผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้กระตุ้นให้ผู้สร้างนิยายจินตนาการถึงโลกที่ซับซ้อนและน่าสนใจยิ่งขึ้น

คุณหู เสี่ยวหมาน จากหัวเว่ย ขึ้นพูดที่งานเกี่ยวกับวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างโมเดลพื้นฐานในด้านการสร้างสรรค์ เช่น วรรณกรรมไซไฟ ก่อนหน้านี้ ทางคอมมิวนิตีใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้สังเกตและวิเคราะห์โลกได้ดีขึ้น แต่ความก้าวหน้าล่าสุดใน AI ได้เพิ่มความสามารถของเทคโนโลยีในการสร้างและเขียนคอนเทนต์ เทคโนโลยี AIGC เติบโตอย่างรวดเร็วและได้เห็นการใช้งานเชิงลึกในนิยายวิทยาศาสตร์ คุณหู กล่าวว่า "เราควรมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ที่เทคโนโลยีสามารถนำมาจัดการกับปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง แทนที่จะมองว่าสิ่งนี้เป็นที่มาของความโชคร้าย"

คุณอวี้ คุน ยังกล่าวด้วยว่า เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างลึกซึ้ง เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เขาเตือนว่าความก้าวหน้าทางทฤษฎีในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน และหากเราหวังปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของเทคโนโลยีแล้ว บริษัทต่าง ๆ เช่น หัวเว่ย จะต้องมีการนำไปใช้งานในโลกจริง

ดร.เอ็นเนดิ โอโคราฟอร์ พูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของนิยายวิทยาศาสตร์ในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในท้องถิ่น เธอเชื่อว่านิยายวิทยาศาสตร์เป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก และนิยายวิทยาศาสตร์แอฟริกันเป็นสื่อกลางที่ผู้คนสามารถจินตนาการถึงอนาคต และสำรวจว่าเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะกำหนดสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของเราอย่างไร

ในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงสนับสนุนการพัฒนานิยายวิทยาศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยี และงัดใช้พลังของเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแนวคิดนิยายวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นความจริงได้มากขึ้น นอกจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงสำรวจขอบเขตอันไม่มีที่สิ้นสุดของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมืออย่างเปิดเผยกับส่วนอื่น ๆ ของโลก และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกอุตสาหกรรม หัวเว่ยนำเสนอโซลูชันดิจิทัล อัจฉริยะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมและนำประโยชน์ของเทคโนโลยีมาสู่ทุกคน

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2262200/image_5019648_38947758.jpg

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2262201/image_5019648_38947868.jpg


ข่าววิทยาศาสตร์+พิพิธภัณฑ์วันนี้

นิสิต คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น เวทีระดับชาติ YTSA#20

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสาวยอดขวัญ อาจทะนงค์ นิสิตสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล "นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น" ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#20) ซึ่งจัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับหน่วยงานภาคี นางสาวยอดขวัญ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการคัดเลือกและได้รับรางวัลนี้ โดยมี ดร.สืบกุล กาญจนสุกร์

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทคว...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึ...

การแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเท... เปิดฉากแล้วอย่างสวยงาม! กีฬาบุคลากรฯ ครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์" — การแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์" เปิดฉากแล้ว ม.วลัย...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...