วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 9.30 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยคณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ร่วมฉลองครบรอบ 65 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือ วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมัน จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง "นวัตกรรมดิจิทัลสู่ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน" Digital Innovation Capabilities for Sustainable Business and Industry Competitiveness" โดย ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "ติดปีกนวัตกรรมดิจิทัลในการปรับตัวเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน" โดยมี ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวต้อนรับงานสัมมนาวิชาการ รศ.ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาธุรกิจ ศึกษา และรักษาการแทนคณบดีคณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน
นอกจากนี้ ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คุณธง ตั้งศรีตระกูล รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย คุณศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มาร่วมให้ความรู้ในครั้งนี้ด้วย และมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาในหอประชุมแห่งนี้มากกว่า 400 คนงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง "นวัตกรรมดิจิทัลสู่ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน" Digital Innovation Capabilities for Sustainable Business and Industry Competitiveness" จัดขึ้นโดยคณะนักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ เล็งเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญส่งผลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ และการปรับตัวของการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีผลกระทบตั้งแต่การทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อการก้าวสู่การเติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และที่สำคัญอย่างยิ่งการปรับตัวในแนวทางการบริหารจัดการองค์กรภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้มั่นคงและยั่งยืน พร้อมมุ่งเน้นในการเสริมสร้างองค์ความรู้ และมุมมองในการพัฒนาทิศทางองค์กรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ผลกระทบต่อการยกระดับอุตสาหกรรมไทย และสร้างโอกาสในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อจะนำสู่การร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
และที่สำคัญจัดการสัมมนา ในครั้งนี้ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและการนำเอาหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าใจแนวโน้มทางดิจิทัลความเข้าใจถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้ประกอบการ จะเป็นโอกาสในการสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจในปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล และเพื่อส่งเสริมการนวัตกรรมและการพัฒนาใหม่ การนวัตกรรมเป็นจุดเด่นในการแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและคงทนอยู่ในระยะยาว
การสัมมนาจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวคิดและการสร้างสรรค์ในการนำเอานวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในองค์กร รวมถึงเพื่อเสริมความเข้าใจในความสำคัญของความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการรอดมีอยู่ในยุคปัจจุบัน การสัมมนาจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงวิธีที่นวัตกรรมดิจิทัลสามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรและทุกธุรกิจต่างมองหาการเพิ่มความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่าง ๆ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในธุรกิจ
การเปิดโอกาสให้เกิดการนวัตกรรมและการพัฒนาใหม่ จากสาเหตุข้างต้น ทำให้การสัมมนาในครั้งนี้ เป็นเวทีที่สร้างสภาวะสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมมองหาวิธีในการนำเอาเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ๆ มาปรับใช้ในองค์กรของพวกเขา ซึ่งจะส่งเสริมการนวัตกรรมและการพัฒนาในองค์กรและอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมและธุรกิจต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การสัมมนาเรื่องนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าร่วมรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนด้วยการเพิ่มความเข้าใจและการนำเอาหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ในปัจจุบันและอนาคต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2568 (ช่วงที่ 3) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รอบสุดท้าย รับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 เปิดรับสมัครนักศีกษาทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ในหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีคณะเปิดรับสมัคร จำนวน 13 คณะ สามารถสมัครเรียนได้ ทั้ง 3 แห่ง (กรุงเทพฯ -วิทยาเขตระยอง วิทยาเขตปราจีนบุรี)ดาวน์โหลดระเบียบการ https://www.grad
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มจพ. สู่รอบชิงชนะเลิศ จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2568
—
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี...
คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...
สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก
—
การแข่งขัน Thailand Open ...
มจพ. จัดงานพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนวัตกร มจพ. ประจำปี 2568
—
ศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ม...
ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot มจพ. เดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิต ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อเป็นวันที่ 4 ใช้ทีมถึง 2 ทีม
—
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มห...
มจพ. ประกาศ โครงสร้างอาคารมีความปลอดภัย พร้อมเปิดทำการได้ตามปกติ
—
ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ...
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มจพ. ร่วมกับ อว.เข้าพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯตึก สตง. ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว
—
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มหาวิทยาลัยเท...
มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก 3 สาขาวิชา
—
มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก...