ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในสภาวการณ์ปัจจุบันมีอัตราการการป่วยโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันโลกของเรามีประชากรราว 7.6 พันล้านคน และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 70 กว่าล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง

ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

สถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้าจนนำมาสู่การฆ่าตัวตายกำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย ในปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 

แต่ปัญหาของในประเทศไทย คือ มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่ความพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เราจึงตระหนักถึงความสำคัญถึงการให้ข้อมูลของโรคและแนวทางการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ดังนี้

โรคซึมเศร้าหรือโรคภาวะซึมเศร้า Depression เป็นความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดหนึ่ง ลักษณะอาการทางคลินิกที่สำคัญคือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่ใจอย่างชัดเจนเป็นระยะเวลานาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วย ในกรณีรุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมทำร้ายร่างกายตัวเองจนไปถึงฆ่าตัวตาย

การอธิบายภาวะซึมเศร้าในทางการแพทย์แผนจีน

ภาวะซึมเศร้าในทางแพทย์จีนได้จัดอยู่ในกลุ่มอาการเตียน โรคกลุ่มอาการเตียน "??" เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะมาอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม  พูดจาสับสน อ่อนเพลียหรือเคลื่อนไหวน้อย

คัมภีร์ซู่เวิ่น บทเสวียนหมิงอู่ชี่เพียน???-??????อธิบายไว้ว่า "เสียชี่เข้าสู่หยางทำให้เกิดอาการคุ้มร้ายอาละวาดอาจทำร้ายคน (ขวง ?) เสียชี่เข้าสู่อินทำให้เกิดอารามณ์ผิเดเพี้ยนไม่ทำร้ายคน (เตียน ?)" 

คัมภีร์ตันซีซินฝ่า บทเตียนขวง ?????-???อธิบายไว้ว่า  "ไฟจากอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้า ทำให้เกิดอารมณ์ทั้งเจ็ด อัดอั้นกลายเป็นเสมหะ จึงกลายเป็นอาการของโรคจิตเภทบ้าอาละวาด ควรรักษาที่ตัวบุคคล ไม่ใช่รักษาได้ด้วยยา ควรตรวจวินิจฉัยและสังเกตสาเหตุเพื่อปรับให้สมดุล โกรธทำลายตับทำให้เกิดเป็นวิกลจริต ให้ให้อารมร์ครุ่นคิดเพื่อเอาชนะ ให้อารมณ์หวาดกลัวเพื่อบรรเทาอาการ" "เตียนจัดเป็นอิน ขวงจัดเป็นหยาง …ส่วนใหญ่มักเกิดจากเสมหะติดขัดอยู่ที่หัวใจและกลางอก"

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

  1. การได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ครุ่นคิดไม่ได้ดั่งใจหวัง ความเสียใจดีใจปะปนกัน สับสน โกรธ ตกใจ หรือหวาดกลัว
  2. เสมหะอุดกั้น
  3. พันธุกรรม

การเปี้ยนเจิง (วิเคราะห์แยกกลุ่มอาการ) และการรักษา 

  1. กลุ่มชี่ตับติดขัด อาการหลัก คือ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย โกรธง่าย ชอบร้องไห้ ถอนหายใจถี่ จุกแน่นกลางอกและบริเวณชายโครง ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรเสวียน หลักการรักษา >> ปรับสลายชี่ตับ เพิ่มการไหลเวียนของชี่ 
  2. กลุ่มเสมหะติดขัด อาการหลัก คือ อาการซึมเศร้า แสดงอาการเฉยชา พูดจาสับสนหรือบ่นพึมพำกับตัวเอง ดีใจเสียใจผิดปกติ แยกแยะความสกปรกกับสะอาดไม่ได้ มีอาการเบื่ออาหาร ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรเสวียนหัว  หลักการรักษา >> เน้นไปที่การปรับชี่สลายติดขัด สลายเสมหะอุดกันเสิน
  3. กลุ่มหัวใจและม้ามพร่อง อาการหลักคือ เหม่อลอย พฤติกรรมเปลี่ยน ใจสั่น ตกใจง่าย เศร้าเสียใจชอบร้องไห้ แขนขาอ่อนแรง เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย หน้าซีด ลิ้นซีด ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรซี่รั่ว หลักการรักษา >> เน้นเสริมม้าม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลชี่สงบจิตใจ

หลักการรักษาทางด้านการแพทย์แผนจีน >> เน้นการปรับสมดุลชี่ สลายติดขัด เพิ่มการทำงานของชี่ และการบำบัดทางจิต

วิธีการรักษา >> เช่น การฝังเข็ม การใช้เครื่องการตุ้นฟ้า ทานยาจีน ฝังเข็มหู การฝังเข็มศีรษะ และการนวดทุยหนา และให้คำแนะนำหลังการรักษาให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อช่วยในการฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์ให้กับผู้ป่วย คือ

  1. การสร้างความบันเทิงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตื่นเต้น เพื่อให้มีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริง
  2. ส่งเสริมงานอดิเรกที่ผู้ป่วยสนใจ 
  3. มีการให้คำปรึกษาและรับฟังปัญหาของผู้ป่วย
  4. คนรอบข้างหรือคนในครอบครอบไม่ควรเลือกปฏิบัติเฉยชา เยาะเย้ยหรือเกลียดชังผู้ป่วย
  5. ควรหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนในครอบครัวให้ผู้ป่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยรักษาอารมณ์ให้มั่นคง และสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยออกกำกายเบา ๆ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ หรือไทเก็ก อู่ฉินซี่ (การบริหารเคลื่อนไหวที่เลียนแบบท่าสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และนก) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

ข่าวแพทย์แผนจีน+โรคซึมเศร้าวันนี้

ยาสมุนไพรจีนกับบทบาทในการรักษาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ

ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดและช่วยคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน สมุนไพรจีนสามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก เพื่ออธิบายกลไกในการรักษา ดังนี้ กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อรักษาเฉพาะส่วนกลุ่มยานี้มีการจำแนกอย่างชัดเจนว่าสมุนไพรแต่ละชนิดสามารถใช้รักษาบริเวณใดของร่างกาย แพทย์แผนจีนจึงเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการรักษา กลุ่มยาระงับปวดและส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตยาสมุนไพรในกลุ่มนี้ไม่เพียง

คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจี... โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก — คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว จัดโครงก...

มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้... สูตรลับ ลดพุงยื่น จบอาการบวมเบียร์ ฉบับแพทย์แผนจีน — มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้เบื่อเหงา หรือเพื่อสังสรรค์ในทุกเทศกาลเป็นประจำกันบ้างมั้ย...

ม.หัวเฉียวฯ ยกขบวนบริการสุขภาพ ณ ศูนย์กีฬ... งานบริการสุขภาพและสุขภาวะ HCU Wellness and Healthcare — ม.หัวเฉียวฯ ยกขบวนบริการสุขภาพ ณ ศูนย์กีฬา เทศบาลเมืองบางแก้ว ภายในงานพบกับบริการตรวจสุขภาพฟรี HCU...

ข่าวธุรกิจของมาเก๊าเปิดเผยว่า เพื่อส่งเสร... "CEO-NV ร่วมตัดริบบิ้นก่อตั้งแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพการแพทย์ แผนจีน-ไทย-มาเก๊า" — ข่าวธุรกิจของมาเก๊าเปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมด...

นางสาวจรูญรัตน์ สาลี กรรมการผู้จัดการ บริ... พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมยินดี คลินิกแพทย์แผนจีน ซุ่นอี้ คลินิก (Shunyi Clinic) เปิดสาขาใหม่ — นางสาวจรูญรัตน์ สาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาราไดซ์ พาร์ค จำกัด...