การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมระดับโลก James Dyson Award ได้เดินทางมาถึงในระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ประกาศรายชื่อและผลงาน 20 ชิ้นที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยหนึ่งใน 20 ทีมจากเยาวชนจากหลากหลายประเทศทั่วโลกนี้จะเป็นผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ และได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,200,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป
แค่ความคิดก็เปลี่ยนชีวิตได้
เป็นอีกปีที่ไอเดียและผลงานจากนักประดิษฐ์และนวัตกรรุ่นใหม่จากทั่วโลกพิสูจน์ให้เห็นว่าพลังในการไม่หยุดเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการคิดค้นโซลูชันที่สามารถเปลี่ยนชีวิตได้
หนึ่งในผู้เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายจากประเทศสิงคโปร์ โดดเด่นด้วยผลงานอุปกรณ์เสื้อสำหรับช่วยพักฟื้นในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ในชื่อผลงานว่า Auxobrace โดย อี เอียน เซียว (E Ian Siew) เจ้าของผลงานผู้เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ได้เผยว่าแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์นวัตกรรมนี้มากจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านความยากลำบากในการพักฟื้นหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ผลงานนี้ผ่านการปรึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาให้ Auxobrace สามารถใช้ได้กับผู้ได้รับการผ่าตัดแบบอื่นด้วย
ความคิดสร้างสรรค์แม้จะเป็นเรื่องที่ดูเล็กน้อย แต่ในบางครั้งอาจสามารถสร้างคุณูปการได้ในระดับโลก หนึ่งในไอเดียและผลงานที่อาจดูเล็กแต่สามารถเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายได้ มาจากประเทศฟิลิปปินส์ โดย เจอเรมี เดอ ลียง (Jeremy De Leon) เจ้าของผลงาน Make-roscope เข้ารอบด้วยผลงานพวงกุญแจที่สามารถเปลี่ยนกล้องบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้กลายเป็นกล้องจุลทรรศน์ โดยผลงานนี้ทำให้นักเรียนและครูผู้สอนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น โดยคาดว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนักวิทยาศาตร์รุ่นใหม่เพิ่มขึ้นในอนาคต พวงกุญแจ Make-roscope นี้ถูกใช้ไปแล้วโดยนักเรียนและครูในประเทศฟิลิปปินส์กว่า 3,000 คน
ผู้เข้ารอบจากประเทศออสเตรเลีย อเล็กซานเดอร์ เบอร์ตัน (Alexander Burton) เข้ารอบด้วยผลงาน REVR อุปกรณ์ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้ยานพาหนะ และเนื่องจากในประเทศออสเตรเลียต้นทุนในการซื้อรถพลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง โซลูชัน REVR ที่เป็นอุปกรณ์ดัดแปลงเครื่องยนต์เชื้อเพลิงให้เป็นเครื่องยนต์ไฮบริดที่ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยพลังงานสะอาดลงในสู้ระดับที่เข้าถึงได้
เรเชล พิงก์ (Rachael Pink) หัวหน้าแผนกพัฒนาเทคโนโลยี Dyson ได้กล่าวถึงเกณฑ์การคัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายไว้ว่า "เจ้าของผลงานต้องแสดงให้เราเห็นว่าพวกเขาเข้าใจในผลงานของตัวเองจริง ๆ ต้องแสดงให้เห็นถึงความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการนำใช้จริง ความพร้อมในการเจอปัญหาและความท้าทายในอนาคต ผลงานบางชิ้นที่เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้ล้มเหลวระหว่างทางของการพัฒนาผลงาน แต่พวกเข้าเลือกที่จะเอาความผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงปให้ผลงานดียิ่งขึ้น"
การแข่งขันอันเข้มข้น คัดเลือกโดยมันสมองอันหลากหลาย
ความคิดอันน่าทึ่งมักมาจากการรับฟังความคิดที่หลากหลายประกอบกับประสบการณ์ โดยคณะกรรมการที่คัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายประกอบด้วยวิศวกรจาก Dyson จำนวน 14 คนโดยมาจากสำนักงานและศูนย์การวิจัยและพัฒนาของ Dyson จากทั่วทุกมุมโลกทั้งจาก สิงคโปร์, สหราชอาณาจักร, มาเลเซีย, และฟิลิปปินส์ โดยคณะกรรมการประกอบด้วยความเชี่ยวชาญในหลากหลายแขนงตั้งแต่ ด้านความยั่งยืน อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม เสียง และการจัดเก็บพลังงาน นอกจากนั้นยังร่วมโดยนักศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยี Dyson ที่มาแบ่งปันมุมมองสดใหม่ และท้าทายความรู้ดั้งเดิมด้านการออกแบบ
คณะกรรมการได้ทำการวิเคราะห์ หารือ และตรวจสอบผลงานจากผู้ชนะและรองชนะเลิศในระดับประเทศ จนได้มาเป็น 20 ผลงานสุดท้ายที่จะชิงชัยกันในระดับนานาชาติภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้
"รางวัล James Dyson Award ได้ให้พื้นที่แก่นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ในการแสดงความสามารถและนวัตกรรมของพวกเขาบนเวทีระดับโลก สำหรับฉันมันเป็นเรื่องน่ายินดีมากที่เรามีโอกาสได้เห็นนวัตกรรุ่นใหม่ได้คิดค้นโซลูชันที่หลากหลายที่แก้ปัญหาในหลากหลายด้าน ตั้งแต่ด้านการแพทย์จนไปถึงด้านความยั่งยืน" หง เฟย หู (Hong Fei Hu) หัวหน้าแผนกอิเล็กทรอนิกส์จาก Dyson กล่าว
เฟรยา มัวร์ (Freya Moore) นักศึกษาระดับปริญญาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี Dyson กล่าวถึงการประกวดรางวัล James Dyson Award ไว้ว่า "สำหรับนักศึกษา การแข่งขันออกแบบ James Dyson Award ได้วาดภาพความเป็นไปได้ของวิศวกรรมได้อย่างน่าทึ่ง การที่ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการทำได้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้ ที่ฉันเองอาจไม่มีวันพบเจอด้วยตัวเอง และยังได้ชื่นชมโซลูชันและความคิดในการแก้ปัญหาอันน่าทึ่งจากทีมผู้เข้ารอบอีกด้วย"
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566
ซัมซุง จัดโครงการ Samsung Solve for Tomorrow เพื่อปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ประกวดออกแบบนวัตกรรมระดับสากลที่มีเยาวชนกว่าสองล้านคนจาก 35 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม สำหรับประเทศไทย บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ได้จัดขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นภาคีพันธมิตรหลัก ได้นำพาเยาวชนไทยกว่า 1,000 คน จาก 308 ทีมทั่วประเทศไทย เข้าร่วมประชันไอเดียสร้างสรรค์ ใช้ทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้
ซัมซุงปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ อัพสกิลทักษะแห่งอนาคต นำเสนอไอเดียโซลูชันเพื่อสังคม จากผู้เข้าประกวด 20 ทีม ในโครงการ Samsung Solve for Tomorrow
—
ซัมซุงจัดติวเข...
มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ จัดพิธีมอบทุนการศึกษาโครงการ "ทุนอายิโนะโมะโต๊ะ เพื่อผู้เรียนดีมีศักยภาพเป็นเลิศ" ประจำปีการศึกษา 2567
—
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ม...
ซีพีเอฟ หนุน นวัตกรรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ "เนื้อจากพืช" คว้ารางวัลระดับโลกในเวที "ProVeg Food Innovation Challenge 2024"
—
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร...
ไปกันต่อ! กยท. ปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ หยิบ 5 โครงการวิจัยสุดว้าว พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยสถาบันวิจัยยาง (สวย.) เปิดเวทีโชว์ของ...
แฮกสุดยอดไอเดียนิวเจน…ทรู เปิดโชว์เคสนวัตกรรมทำถึง ปลุกขยะ e-Waste คืนชีพ จากปฏิบัติการ "e- Waste HACK BKK 2024" เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นจริงของคนกรุงเทพฯ
—
บ่มเพาะนิวเ...