POLY ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ พัฒนาสินค้ากลุ่ม Medical Innovation ในอุปกรณ์ PEG (ชุดสายสวนกระเพาะอาหารแบบใส่ผ่านกล้อง) ยกระดับอุปกรณ์ทางการแพทย์ของคนไทยมาตรฐานไม่แพ้ใครในโลก
นางกาญจนา เหลารัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โพลีเน็ต จำกัด (มหาชน) หรือ POLY ลงนามในสัญญาบันทึกข้อตกลง (MOA) ร่วมกับ ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มต้นความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ PEG ใช้สำหรับการให้อาหารผ่านสาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนจากซิลิโคนที่ทางโพลีเน็ตเชี่ยวชาญ ซึ่งในปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่มีผู้ผลิตในไทย จึงนับเป็นการนำนวัตกรรมทางแพทย์ (Medical Innovation) มาใช้สนับสนุนการรักษาให้คนไทยได้ใช้รักษาในราคาที่เหมาะสม แต่ยังคงมาตรฐานสากล เทียบเท่าต่างประเทศ
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ จึงนับเป็นการร่วมมือของหน่วยงานในกำกับของรัฐและภาคเอกชนที่เข้ามาต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ระดับประเทศและนานาชาติร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ในการรักษา สร้างคุณค่าต่อสังคม และนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
นางกาญจนา กล่าวเพิ่มเติมว่า "เราเริ่มต้นจากการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ PEG ขณะนี้ อยู่ในช่วงของการทดสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการรักษา จึงมองว่า เป็นโอกาสที่เราจะช่วยยกระดับอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยให้เทียบชั้นในระดับสากลได้ ขณะที่ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาด้วยสินค้าที่ยังคงมาตรฐานจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี เราก็มองว่า ความสำเร็จจากผลิตภัณฑ์นำร่องนี้ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการฯ ก็มีโอกาสร่วมกับโพลีเน็ต พัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Medical Innovation ตัวอื่นๆเพิ่มเติมในอนาคต"
อย่างไรก็ดี POLY เราเชี่ยวชาญและคร่ำหวอดอยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนมากว่า 20 ปี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ ยาง พลาสติก และซิลิโคน สำหรับการลงนามในครั้งนี้ สะท้อนอีกความสำเร็จในการขยายตลาดของ POLY ไปยังลูกค้าในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเฉพาะด้านและมาตรฐานในระดับสูง และสนับสนุนแนวโน้มการเติบโตในอนาคต ในกลุ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรที่ดี เมื่อเทียบกับกลุ่มยานยนต์ที่เป็นกลุ่มหลักในปัจจุบัน และมองว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์มีโอกาสเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็นอันดับหนึ่งในอนาคตได้
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ องค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เปิดหลักสูตร "NEXUS AI" พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยี
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...