ถ้าพูดถึงคำว่า "โพรไบโอติก" ในปัจจุบันหลายคนคงคุ้นเคยกับคำนี้และรู้ว่าหมายถึงจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งคอยช่วยดูแลร่างกายให้สมดุลแข็งแรง แต่เมื่อ 15 ปีก่อนถือเป็นคำใหม่ที่คนไทยไม่คุ้นเคยและให้ความสนใจไม่มากนัก แต่มีนักวิจัยไทยคนหนึ่งที่สนใจและมุ่งมั่นจะหาโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ที่เหมาะสมกับคนไทยให้ได้
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มศว หัวหน้าศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก คณะแพทยศาสตร์ มศว เล่าถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยเมื่อ 15 ปีก่อน ระบุว่าเรื่องเกี่ยวกับโพรไบโอติกยังไม่มีการทำวิจัยมากนัก ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย จึงเริ่มต้นศึกษาจุลินทรีย์โพรไบโอติกโดยคัดแยกจากเด็กแรกเกิด และอาหารหมักในท้องถิ่นไทย เพื่อทดสอบและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีที่สามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาสุขภาพที่มักพบในคนไทย
"โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และอาศัยอยู่ประจำถิ่นในร่างกายมนุษย์ ตั้งแต่กำเนิด โดยได้รับมาจากมารดาและอาหารที่รับประทานเข้าไปภายหลัง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มแบคทีเรีย Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป โดยงานวิจัยเน้นการคัดเลือกชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ต้านการติดเชื้อ ลดการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกัน ลดคอเลสเตอรอล เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและสร้างกาบา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของคนไทย"
หลังจากคัดแยกจนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure culture) และทดสอบคุณสมบัติของจุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์จนมั่นใจแล้ว ในปีพ.ศ. 2561 ได้เริ่มมีการทดสอบในสัตว์ทดลอง (animal study) ที่มีไขมันสูงและทดสอบในอาสาสมัคร (clinical study) ที่มีปัจจัยเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรม พบว่าโพรไบโอติกที่คัดเลือกมามีคุณสมบัติในการลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในตับและลำไส้ ลดไขมันพอกตับ ปรับภูมิคุ้มกัน เพิ่มการยึดเหนี่ยวเซลล์เยื่อบุลำไส้ซึ่งจะป้องกันภาวะลำไส้รั่ว ต้านอนุมูลอิสระ และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้
นับเป็นการค้นพบโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยที่มีความเหมาะสมกับคนไทย "โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยมีอยู่ในธรรมชาติ อยู่ในอาหาร อยู่ในวิถีการรับประทานของคนไทย ถือเป็นจุลินทรีย์ที่คนไทยคุ้นเคยอยู่แล้ว เราไม่ได้ดัดแปลงเขา แต่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวเขามาศึกษาต่อว่าสามารถทำประโยชน์อะไรได้บ้าง จากการทำงานตลอดหลายปีเราค้นพบว่าจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง" รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ เล่าถึงข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ทำ
เมื่องานวิจัยเริ่มเห็นผล ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติกก็ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับทุนวิจัยจากทางคณะแพทยศาสตร์ มศว และทุนจากกองทุน ววน. อย่าง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และอีกหลายหน่วยงาน รวมถึงเริ่มมีการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ภาคเอกชน
"ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐอย่าง ไบโอเทค สวทช.และบริษัทเอกชนหลายแห่ง เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่การเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับคนไทย เป็นงานวิจัยที่จับต้องได้ และสามารถนำงานวิจัยในห้องทดลองไปสู่ท้องตลาดได้จริง ทำให้เกิดรายได้ เกิด SME และ Start Up ใหม่ ช่วยขยายฐานธุรกิจ สร้างอาชีพให้กับภาคประชาชน เกิดการจ้างงาน เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตภายในประเทศ ลดการนำเข้าเทคโนโลยีและสายพันธุ์จุลินทรีย์จากต่างประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ซึ่งเป็นหนึ่งใน BCG model และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ"
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ได้จากการทำงานวิจัยและเกิดประโยชน์กับประเทศไทย คือ การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ "เราเชื่อว่าการทำงานวิจัยคือการสร้างคน เพราะการทำงานวิจัยเราสร้างทั้งระบบการคิด กระบวนการทำงาน สร้างวินัย ความอดทน และทัศนคติที่ดี สิ่งเหล่านี้ช่วยพัฒนาศักยภาพและส่งต่อโอกาสให้กับนักวิจัยรุ่นต่อ ๆ ไป ให้เขาได้สร้างงานและสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวมต่อไป"
นวัตกรรมการแพทย์ครั้งสำคัญของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อ CNN สื่อให้ความสนใจสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์ ดร.แพทย์หญิง ภัทราวลัย สิรินารา ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้คิดค้นนวัตกรรมที่ตรวจวัดความเครียดจากสารเคมีในเหงื่อ ร่วมกับ อาจารย์ ดร.นายแพทย์ชาวิท ตันวีระชัยสกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิระ ศรีสวัสดิ์ ฝ่ายวิจัย และ Professor Michael Maes
วช. นำ"นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกsPace" ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ รพ.อุดรธานี และรพ.ศรีนครินทร จ.ขอนแก่น
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาต...
นวัตกรรม "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" คว้ารางวัลเหรียญทองงานนักประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด...
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"
—
แพลตฟอร์ม O...
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
นักศึกษาแพทย์ SGU กว่า 1,000 คน คว้าตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในสหรัฐฯในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025
—
SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่ส...
"MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
—
แพลตฟอร์ม Onlin...
ศูนย์รังสีร่วมรักษาศิริราช " เปิดนวัตกรรม IR ทางเลือกรักษาแห่งอนาคต เสนอรัฐหนุนขึ้นนโยบายสุขภาพ เพิ่มมาตรฐานการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อน
—
ศูนย์รังสีร่วมรักษาศ...
"สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์" ร่วมเวทีเสวนาสถานการณ์แผ่นดินไหว สร้างความมั่นใจทีมแพทย์ ตอกย้ำบทบาทผู้นำที่ปรึกษางานก่อสร้างครบวงจร
—
นายไพรัช เล้าประเสริฐ (ที่ 2 ...