หัวเว่ยเข้าร่วมงานประชุมโกลบอล ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ฟอรัม (Global Peter Drucker Forum) ประจำปีครั้งที่ 15 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม โดยบริษัทได้จัดเวิร์กชอปพิเศษสำหรับสตาร์ตอัปในยุโรปเป็นครั้งแรก ค่ายฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำมั่นสัญญาของหัวเว่ยที่จะปั้นสตาร์ตอัป 10,000 แห่งทั่วโลกภายในปี 2568 และ 1,000 แห่งในยุโรปภายในปี 2570
โกลบอล ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ฟอรัม เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่เชิดชูปรัชญาการบริหารจัดการของปีเตอร์ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์ด้านธุรกิจผู้ล่วงลับซึ่งเกิดที่กรุงเวียนนาในปี 2452 ทุก ๆ ปีจะมีผู้นำธุรกิจและนักวิชาการระดับโลกมารวมตัวกันในงานนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการที่ดีที่สุด หัวข้อของงานในปีนี้คือ "เข้มแข็งอย่างสร้างสรรค์ - การเป็นผู้นำในยุคแห่งความไม่ต่อเนื่อง" (Creative Resilience - Leading in an age of discontinuity)
คุณราดอสลาฟ เคดเซีย (Radoslaw Kedzia) รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคยุโรปของหัวเว่ย กล่าวในงานปาฐกถาหลักว่า "ผมเชื่อว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างโมเดลหัวเว่ย คลาวด์ เอไอ ผานกู่ (Huawei Cloud AI Pangu) และการพัฒนาการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการสร้างพันธมิตร โดยเฉพาะกับ SME นั้น เป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและฟื้นตัวจากวิกฤติ"
หัวเว่ยและโกลบอล ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ฟอรัม เชิญชวน SME ประมาณ 20 รายจากกรุงเวียนนาและทั่วทั้งยุโรปมาร่วมกิจกรรมฝึกอบรมทางธุรกิจเชิงปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสอันล้ำค่าให้ SME ได้ทำความรู้จักและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจชั้นนำ เวิร์กชอปพิเศษครั้งนี้มีมาสเตอร์คลาสแบบโต้ตอบที่เน้นทักษะในภาคปฏิบัติ เช่น การจ้างบุคลากรที่เหมาะสมและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ วิทยากรได้แก่ คุณคาร์ลา อาเรยาโน (Carla Arellano) หุ้นส่วนของเกรฮาวด์ แคปปิตอล (Greyhound Capital) และศาสตราจารย์เคิร์ต คาร์ลสัน (Curt Carlson) ผู้บริหารพิเศษผู้ทรงคุณวุฒิแห่งสถาบันโพลีเทคนิควุร์สเตอร์
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางของหัวเว่ยในการสนับสนุนให้ SME เติบโตอย่างรวดเร็ว คุณจวง เฟิน (Zhuang Fen) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลก ฝ่ายการตลาดและการขายระดับโลกของหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud Global Marketing and Sales Service) กล่าวว่า "เราช่วยให้สตาร์ตอัปได้ปลดปล่อยศักยภาพของตนสู่เวทีโลกด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีเฉพาะ การร่วมทำการตลาด และบริการคลาวด์ของเรา สตาร์ตอัปยังได้รับประโยชน์จากเครดิตคลาวด์ที่ปรับมาให้โดยเฉพาะและการเข้าถึงเครือข่ายและอีโคซิสเต็มโลกของเรา ซึ่งส่งเสริมความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูง" วิทยากรคนอื่น ๆ ของหัวเว่ยได้กล่าวถึงโครงการแอคเซเลอเรชั่น โฟร์ เชนจ์ (Acceleration4Change) และสตาร์ตอัปสเกลอัประดับนานาชาติ (International Startup Scale Up) ในอิตาลีและไอร์แลนด์
ในงานเวิร์กชอปยังมีผู้บริหารจากบริษัทเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่เคยได้รับประโยชน์จากการร่วมงานกับหัวเว่ยมาก่อนมาร่วมพูดคุยด้วย คุณจอนนี มาลาคาร์เน (Jonni Malacarne) ซีอีโอของบลู เทนเซอร์ (Blue Tensor) กล่าวว่า "เส้นทางของเราคือการทำงานร่วมกันเพื่อย้ายแพลตฟอร์มในองค์กรของเราไปยังระบบคลาวด์ของหัวเว่ยที่โดดเด่นด้วยความสามารถในการปรับขนาด ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ" ทั้งนี้ บริษัทบลู เทนเซอร์ ให้บริการเฟรมเวิร์กเอไอที่มีผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งาน ได้แก่ อายรัส (Eyerus) สำหรับคอมพิวเตอร์วิทัศน์/การวิเคราะห์เชิงทำนาย และลิงกัวนาไลซิส (Linguanalysis) สำหรับการจัดการเอกสาร
คุณว็อล์ฟกัง ลาสเซิล (Wolfgang Lassl) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของโกลบอล ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ฟอรัม กล่าวขอบคุณหัวเว่ยสำหรับการจัดเวิร์กชอปนี้ "มันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของปีเตอร์ ดรักเกอร์ และของเราโดยสมบูรณ์ เราต้องการสังคมผู้ประกอบการ และ SME ก็คือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังสังคมนั้น SME สร้างสรรค์นวัตกรรมและวางรากฐานสำหรับความมั่งคั่งของสังคมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ของ SME สามารถช่วยให้เรามีความเข้มแข็งได้มากขึ้น"
ก่อนการประชุมโกลบอล ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ฟอรัม เหล่า SME ได้มีโอกาสเยี่ยมชมองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพันธมิตรระดับโลกด้านเอไอเพื่ออุตสาหกรรมและการผลิต (AIM-Global) และโครงการริเริ่มอื่น ๆ ในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
คุณสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ คุณกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร และคุณวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เผยผลดำเนินงานปี 2567 เติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากกลยุทธ์ความหลากหลายของกลุ่มผลิตภัณฑ์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน ตลอดจนการปรับกลยุทธ์การดำ
TFM ไตรมาส 1/68 ฟอร์มแกร่งกวาดกำไรสุทธิเติบโตทะลุ 26.8% สะท้อนความสำเร็จ กลยุทธ์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติ รุกปรับพอร์ตสินค้ามาร์จิ้นสูง
—
TFM ไตรมาส ...
'UBE' คว้ามาตรฐาน ISO 14064-1:2018 รายแรกในอุตสาหกรรมเอทานอลไทย เดินหน้ายกระดับองค์กรลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน
—
'บมจ. อุบล ไบโอ เอท...
กปภ. เดินหน้า Step Test Day ปี 2เร่งซ่อมท่อแตก หยุดน้ำรั่วไหล เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
—
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จัดกิจกรรมโครงการ Step Test Day ปี...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมต้อนรับ "รมช.อิทธิ" เปิดโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน จ.สกลนคร
—
กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมต้อนรับ "รมช.อิทธิ" เปิดโครงการส่งเสริมการเกษตร...
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
"เลขาธิการ สทนช." ลงพื้นที่ติดตามมาตรการรับมือฤดูฝนพื้นที่ลุ่มน้ำชี
—
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย นางพัชรว...
ไทยเครดิต คว้ามาตรฐานสากล ISO 14064-1 อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ เสริมแกร่งองค์กรคาร์บอนต่ำ เดินหน้าสู่ "Sustainable Banking"
—
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ไ...