CMEx Lifelong Learning Center จุดหมายแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการแพทย์และสุขภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วของการเปิดดำเนินการ "CMEx Lifelong Learning Center ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการช่วยชีวิตให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงเป็นศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และเครื่องมือเฉพาะด้าน ด้วยแนวคิดที่ว่า "การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต"

CMEx Lifelong Learning Center จุดหมายแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการแพทย์และสุขภาพ

อาจารย์นายแพทย์ รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานคณะทำงานศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต CMEx Lifelong Learning Center หนึ่งในผู้ผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ CMEx Lifelong Learning Center กล่าวว่า "ถือเป็นครั้งแรกของภาคเหนือที่มีศูนย์ส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพและการแพทย์ สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้วยตนเอง โดยหลักสูตรภายในศูนย์แห่งนี้ มีทั้งแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและแบบที่มีค่าใช้จ่ายในราคาที่เข้าถึงได้ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์" CMEx Lifelong Learning Center จุดหมายแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการแพทย์และสุขภาพ

"จากที่เราเริ่มการให้ฝึกอบรมและให้ความรู้ในเฟสแรกผ่านไปแล้วเมื่อปีก่อน ในปีนี้เราได้ขยายขอบเขตการฝึกอบรมไปยังบุคลากรทางการแพทย์ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามที่เราตั้งเป้าไว้ เพื่อรองรับการเป็น Medical Hub ในภูมิภาคอาเซียนนี้ สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ครั้งล่าสุดนี้ CMEx-Philips International Point-of-Care-Cardiac-Ultrasound เรามุ่งเน้นการฝึกอบรมในการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์แบบพกพา Point of Care Cardiac Ultrasound ได้จนชำนาญพียงพอในการตรวจวินิจฉัยประจำวัน ให้กับบุคลากรทางการแพทย์จากหลากหลายประเทศในภูมิภาค อาทิ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม เป็นต้น ด้วยความตั้งใจของเราคือถ่ายทอดความรู้ที่เรามีไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแพทย์ไปยังประเทศเพื่อนบ้านของเรา และยังเป็นการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับวงการสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพราะเราเชื่อว่าองค์ความรู้ทางการแพทย์สามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันได้ ที่สำคัญ เราหวังว่าด้วยหลักสูตรที่มีอยู่ในขณะนี้ และที่กำลังพัฒนาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นบนพื้นฐานการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต" อ.นพ.รังสฤษฎ์ กล่าวสรุป

สำหรับประโยชน์ของการฝึกอบรมการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์แบบพกพา Point of Care Cardiac Ultrasound ได้รับการสนับสนุนจาก Philips Lumify (ฟิลิปส์ ลูมิฟาย) เครื่องอัลตร้าซาวด์แบบพกพาจากฟิลิปส์ เพื่อสอดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เน้นด้านดิจิทัล และสะดวกมากขึ้นด้วยหัวตรวจแบบพกพาที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ และยังมาพร้อมเทคโนโลยีส่งสัญญาณภาพและเสียงทางไกลแบบเรียลไทม์อีกด้วย หัวตรวจของ Philips Lumify สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยอวัยวะได้หลายส่วน อาทิ หัวใจและหลอดเลือด อวัยวะภายในท้อง หลอดเลือด เนื้อเยื่อ ถุงน้ำดี เป็นต้น

ด้าน นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวทิ้งท้ายว่า "ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ เราตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยแล้ว เรายังสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถและการให้ความรู้ทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ทั้งแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนอีกด้วย และนับเป็นอีกครั้งที่ฟิลิปส์ได้ทำงานร่วมกับ CMEx Lifelong Learning Center ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยสนับสนุนและผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ในภาคเหนือเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น และร่วมจัดอบรมหลักสูตร CMEx-Philips International Point-of-Care-Cardiac-Ultrasound สำหรับบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์กว่า 20 คน จาก 2 ประเทศ อาทิ มาเลเซีย, ฟิลิปินส์ เข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปณิธานที่เราตั้งไว้กับกลยุทธ์ที่เราได้ลงมือทำ จะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้ได้ 2,500 ล้านคน ภายในปี ค.ศ. 2030"


ข่าวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่+ศูนย์การเรียนรู้วันนี้

RUN เปิดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม 24 ผลงาน ภายใต้ธีม "เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่ออนาคตประเทศไทย" ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568

โชว์ศักยภาพ ด้านนวัตกรรม ศิลปวัฒนธรรม ความยั่งยืน พร้อมเวทีเสวนา Soft Power ขับเคลื่อนอนาคตไทย เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดตัวนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่ออนาคตประเทศไทย" (Creative Economy for Thailand Tomorrow) ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568" ณ

"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเ... "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ต้องเป็น "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" — "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเป็นแบบ "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" ยกกรณีศึ...

นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลาน... โรงพยาบาลลานนา ออกหน่วยตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในงาน Job Fair 2025 จ.เชียงใหม่ — นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา นำทีมเจ้าหน้าที่พย...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปร... ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร — พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...