เคมีบำบัด เป็นหนึ่งในวิธีการรักษามะเร็งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมักนิยมใช้ร่วมกับการผ่าตัดและการฉายแสงรังสีรักษา เคมีบำบัดนั้นสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เป็นวงกว้าง ควบคุมการกระจายของมะเร็งได้ สามารถใช้ได้กับโรคมะเร็งทั้งในระยะต้นไปจนถึงระยะลุกลาม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการทำลายเซลล์ปกติในร่างกายของเราไปด้วย จุดนี้จึงเป็นเหตุให้เคมีบำบัดมีผลข้างเคียงมากมาย อาทิ อาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง ใจสั่น ท้องผูก ท้องเสีย พิษต่อตับไต มือเท้าหรือปากชา เป็นต้น
"อาการปลายมือและเท้าชา" จัดเป็นหนึ่งในอาการของปลายประสาทเสื่อมจากเคมีบำบัด หรือ chemotherapy-induced peripheral neuropathy(CIPN) โดยเกิดจากการให้ยาเคมีบำบัดบางชนิดที่มีพิษต่อระบบประสาทส่วนปลายโดยเฉพาะยากลุ่ม Platinum (cisplatin หรือ carboplatin) และยากลุ่ม Taxane (paclitaxel)
ผลกระทบจากยาส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเซลล์ประสาท ทำให้เกิด
ถึงแม้ว่าอาการมือเท้าชาส่วนมากไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่เนื่องจากอาการนี้กินระยะเวลานาน และในผู้ป่วยบางรายมีอาการเกินกว่า 2 ปี อีกทั้งการรักษาเพื่อบรรเทาอาการในทางการแพทย์ตะวันตกก็ยังเห็นผลไม่ดีเท่าที่ควร การแพทย์แผนจีนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยรักษาร่วมกับการแพทย์ตะวันตก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยขึ้นมาได้
มุมมองทางการแพทย์แผนจีน
ในทางการแพทย์แผนจีนมองว่า อาการมือเท้าชาที่เกิดจากปลายประสาทเสื่อมจากเคมีบำบัดเกิดจากพิษของยาเคมีบำบัด ส่งผลให้ไตและม้ามพร่อง ลมหนาวและความชื้นเข้ามากระทบ ทำให้เส้นลมปราณถูกอุดกั้น เมื่อเส้นลมปราณอุดกั้นส่งผลให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลมาหล่อเลี้ยงแขนและขาได้ และ/หรือการที่พลังหยางในร่างกายเราพร่องไป เลือดจึงไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงไม่ได้รับการขับเคลื่อน ชี่และเลือดไม่สามารถไหลมาหล่อเลี้ยงแขนและขาได้ เมื่อมือและเท้าขาดการหล่อเลี้ยงจากชี่และเลือดจึงเกิดอาการชา หรือปวดขึ้น
การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การรักษาโดยการบำรุงม้ามและไต บำรุงเลือดและทะลวงเส้นลมปราณ โดยใช้ "ยารับประทาน" หรือ "ยารับประทานควบคู่กับการแช่มือและเท้าด้วยสมุนไพรจีน" สามารถส่งผลให้อาการมือเท้าชาบรรเทาลง "การฝังเข็ม" เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เมื่อนำมาใช้ร่วมกันแล้วสามารถเสริมการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เห็นได้ว่าอาการปลายประสาทเสื่อมจากเคมีบำบัดนั้น สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยยาสมุนไพรจีนและการฝังเข็ม แต่การรักษาอาการดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องดูสภาพร่างกายของผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย เพราะการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีนเป็นการมองผู้ป่วยแบบองค์รวม ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อีกทั้งจากประสบการณ์ของแพทย์เองที่พบว่าหากตัวโรคถูกทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานการรักษาก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้น ควรที่จะเริ่มทำการรักษาโดยเร็วที่สุด หรือถ้าป้องกันตั้งแต่ยังไม่เริ่มมีอาการและกำลังเริ่มทำเคมีบำบัดก็จะได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ในขณะที่ได้รับการรักษา หรือหลังจากได้รับการรักษามักจะประสบปัญหาทั้งกายและใจตามมาด้วย การรักษาตามมาตรฐานสากล ได้แก่ การผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด การใช้ยามุ่งเป้า และยาต้านฮอร์โมน ส่งผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงแตกต่างกันไป เช่น อาการหลังการผ่าตัด - ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย บางรายยังมีอาการเจ็บและชาบริเวณที่ทำการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด ในระหว่างที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ชาตามปลายมือปลายเท้า ระบบการขับถ่ายแปรปรวน
3 สาเหตุภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่
—
จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอินและหยางในช่วงที่ไข่ตก...
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากสถานวิทยาลัยนครราชสีมา
—
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากส...
ยาสมุนไพรจีนกับบทบาทในการรักษาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
—
ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดและช่วยคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งกำลัง...
เคยไหม… มีเสมหะ น้ำมูก เสลดเหนียวในคอแม้ไม่ได้เป็นหวัด? วันนี้แพทย์จีนหัวเฉียวมีคำตอบมาฝากทุกท่าน
—
เสมหะ เป็นสารคัดหลั่งชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาเมื่อเ...
สานสัมพันธ์ไทย-ซัวเถา ร่วมพัฒนาการแพทย์แผนจีน คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับโรงพยาบาลการแพทย์แผนจีนซัวเถา
—
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ...
โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก
—
คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว จัดโครงก...
คุณอรัญ เอี่ยมสุรีย์ ผู้อำนวยการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว และคณะเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างโจว
—
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 คลินิกการแพทย์แผ...
สูตรลับ ลดพุงยื่น จบอาการบวมเบียร์ ฉบับแพทย์แผนจีน
—
มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้เบื่อเหงา หรือเพื่อสังสรรค์ในทุกเทศกาลเป็นประจำกันบ้างมั้ย...