GSK เผยผลสำรวจทั่วโลก ผู้ใหญ่ 86% ประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง

27 Feb 2024

  • โรคงูสวัดส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนมากถึง 1 ใน 3 คน โดยทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน ปวดเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทงหรือรู้สึกเหมือนไฟช็อต
  • ผลสำรวจออนไลน์พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมากกว่า 1 ใน 4 (28%) เชื่อว่า โรคงูสวัดเป็นโรคที่ "ไม่อันตราย"
  • ข้อมูลที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์การรณรงค์โรคงูสวัด ประจำปี 2567 ชี้ว่า หลายคนขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัด และความเสี่ยงของโรคงูสวัดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต
GSK เผยผลสำรวจทั่วโลก ผู้ใหญ่ 86% ประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง

จากการสำรวจทั่วโลกล่าสุด ซึ่งสนับสนุนโดย GSK พบว่า ผู้คนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคงูสวัดในกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไปจาก 12 ประเทศ จำนวน 3,500 คน เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัด สิ่งกระตุ้น และผลกระทบของโรคงูสวัดต่อคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากไม่เข้าใจความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัด โดย 86% ประเมินความเสี่ยงโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง โดยคนจำนวน 1 ใน 4 (26%) หรือประมาณ 1 ใน 100 คน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดได้ตลอดชีวิต จำนวน 1 ใน 5 (17%) คิดว่าโรคงูสวัดอาจเกิดขึ้นใน 1 ใน 1000 คน และเกือบครึ่ง (49%) เชื่อว่า พวกเขาไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด

ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัดอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว และเชื้อไวรัสอาจกลับมาแผลงฤทธิ์เมื่ออายุมากขึ้น โดยโรคงูสวัดเกิดจากการกลับมาเป็นซ้ำของไวรัส varicella-zoster (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อจะลดลง ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปจึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น

ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงอาการปวดที่เกิดจากโรคงูสวัด ซึ่งจะมีอาการเป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใส สร้างความเจ็บปวดบริเวณหน้าอก ท้อง หรือใบหน้า ทำให้ปวดแสบร้อน ปวดเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทงหรือรู้สึกเหมือนไฟช็อต โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1 ใน 10 คนไม่ทราบถึงอาการของโรคงูสวัด และมากกว่า 1 ใน 4 (28%) เชื่อว่า โรคงูสวัดจัดอยู่ในโรคที่ "ไม่อันตราย"

หลังจากผื่นที่เกิดจากงูสวัดทุเลาลงไป ผู้ป่วยโรคงูสวัดบางคนอาจประสบกับอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด ซึ่งเป็นอาการปวดเส้นประสาทเรื้อรังที่อาจกินเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนและบางครั้งอาจคงอยู่นานหลายปี ทั้งนี้ มีผลการศึกษาต่าง ๆ พบว่า อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคงูสวัด โดยพบใน 5-30% ของผู้ป่วยโรคงูสวัด

GSK เผยแพร่ผลสำรวจโรคงูสวัดนี้เนื่องในสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นแคมเปญที่จัดโดย GSK ร่วมกับสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัด เพื่อแก้ปัญหาการขาดความรู้ด้านความเสี่ยงและผลกระทบของโรคงูสวัด

นางมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า "ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า เรามีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบของโรคงูสวัด ในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุทั่วโลก เรามีความภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในความพยายามระดับโลกในครั้งนี้ในการยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัด เพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่วัยกลางคนตระหนักถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด"

การสำรวจครั้งนี้ยังได้สอบถามเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเลือกค้นหาข้อมูลสุขภาพที่ไม่ใช่วิธีดั้งเดิม โดย 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ใช้เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต เช่น กูเกิล ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคงูสวัดและแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้ โดยในการสำรวจการค้นหาข้อมูลทั่วโลกจากกูเกิล ระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารเกี่ยวกับโรคงูสวัดมากขึ้น โดยวัดจากผลการค้นหาออนไลน์ มีความสนใจค้นหาเกี่ยวกับ "ระยะอาการของผื่นที่เกิดจากโรคงูสวัด" เพิ่มขึ้นถึง 600% สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในโรคงูสวัดที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการมีแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

พญ. บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "GSK เล็งเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) เพื่อยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 50 ปี ผลการวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัดและกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าว โรคงูสวัดเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องในสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด เราต้องการให้ทุกคนปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคงูสวัดที่สร้างความทุกข์ทรมานและอาจส่งผลกระทบต่อเราตลอดชีวิต"

เกี่ยวกับสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด (Shingles Awareness Week)

สัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด (26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567) เป็นสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัดที่จัดขึ้นทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัด ภายใต้ความร่วมมือของสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยและหารืออย่างจริงจังระหว่างผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคงูสวัด

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Harpaz R, et al. Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP), Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Prevention of herpes zoster: recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR Recomm Rep. 2008;57(RR-5):1-30.
  2. Australian Institute of Health and Welfare. Shingles in Australia. Available at: https://www.aihw.gov.au/getmedia/759199ff-f5c8-421d-a572-aaa984a02b49/aihw-phe-236_shingles.pdf.aspx. Last Accessed: November 2023
  3. Lee C, et al. Lifetime risk of herpes zoster in the population of Beijing, China. Public Health in Practice. 2023 Jun;5:100356.
  4. Curran D, et al. Meta-Regression of Herpes Zoster Incidence Worldwide. Infect Dis Ther. 2022 Feb;11(1):389-403.
  5. Shingles Misconceptions Map Survey (Australia, Brazil, Canada, China, Germany, India, Italy, Japan, Portugal, South Korea, United Kingdom, United States), Pollfish on behalf of GSK. 18 August 2023. (Data on file)
  6. Mueller NH, et al. Varicella Zoster Virus Infection: Clinical Features, Molecular Pathogenesis of Disease and Latency. Neurologic Clinics. 2008;26;675-697.
  7. Johnson RW, et al. Herpes zoster epidemiology, management, and disease and economic burden in Europe: a multidisciplinary perspective. Ther Adv Vaccines.2015;3(4):109-120.
  8. Kawai K, Gebremeskel BG, Acosta CJ. Systematic review of incidence and complications of herpes zoster: towards a global perspective. BMJ Open.2014;4:e004833.
  9. Year on year uplift for searches of "shingles" and related queries globally from September 22, 2023. Available from: https://trends.google.com/trends/. Last accessed: October 2023.