ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรมเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยแม่เหล็กระดับโมเลกุล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

จาก "QT1" (Quantum Technology Generation 1) ในยุคแรกเริ่มของการทำความรู้จักและใช้ประโยชน์จาก "เทคโนโลยีควอนตัมแห่งศตวรรษที่ 20" ได้ก่อกำเนิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกิดขึ้นมากมาย เช่นทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบในคอมพิวเตอร์ ทำให้การจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นไปได้

ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรมเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยแม่เหล็กระดับโมเลกุล

ปัจจุบันได้มีการเพิ่มสมรรถนะในการเข้าถึงและจัดการเทคโนโลยีควอนตัม สู่ยุค "QT2" (Quantum Technology Generation 2) แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิงลึก และกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัมที่จะนำการปฏิวัติวงการเทคโนโลยึสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมมากมาย ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรมเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยแม่เหล็กระดับโมเลกุล

โดยในประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของชาติ ปี พ.ศ. 2563 - 2572

อาจารย์ ดร.เขตภากร ชาครเวท อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล จากการคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภทรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

จากผลงานนวัตกรรมการพัฒนาโลหะทรานซิชันเป็นแม่เหล็กโมเลกุลเดี่ยวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์และการประมวลผลเชิงควอนตัม

จากงานวิจัยที่ต้องการย่อขนาดอนุภาคแม่เหล็กขนาดนาโนให้กลายเป็นแม่เหล็กขนาดโมเลกุล ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มมากขึ้นถึง 1,000 เท่า ทำให้เกิดการวิจัยศึกษาถึงวิธีการเพิ่มแรงกระทำทางแม่เหล็กภายในโมเลกุล ทำให้แม่เหล็กขนาดโมเลกุล ซึ่งโดยปกติจะต้องอาศัยอุณหภูมิต่ำถึง -270 องศาเซลเซียสสามารถรักษาสภาพแม่เหล็กที่อุณหภูมิสูงขึ้นได้

นอกจากนี้กระบวนการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กของโมเลกุลได้ถูกนำไปใช้เป็นหน่วยประมวลผลเชิงควอนตัม เพื่อสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์อันทรงพลัง

โดยเป็นผลงานวิจัยที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติทางเคมี อาทิ Journal of the American Chemical Society (JACS), Chemical Science และ Inorganic Chemistry เป็นต้น

การเข้าถึงเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยอย่างก้าวกระโดด ทั้งต่อเทคโนโลยีระบบขนส่งโลจิสติกส์ การค้นหายาชนิดใหม่ การพัฒนาวัสดุอัจฉริยะ และการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลดิจิทัล

มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทำหน้าที่ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์และมอบองค์ความรู้เสริมพลัง "QT2" เพื่อเป็น "มรดกทางเทคโนโลยี" สู่รุ่นหลังต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


ข่าวo:editor+o:locวันนี้

โบลท์ (Bolt) เพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ในประเทศไทยด้วยฟีเจอร์ Trusted Contacts และ Pick-Up Code

โบลท์ (Bolt) แพลตฟอร์มเรียกรถชั้นนำระดับโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สองประการที่ไม่มีมาก่อนในอุตสาหกรรมและประเทศไทย ได้แก่ ผู้ติดต่อฉุกเฉิน (Trusted Contacts) และรหัสรับผู้โดยสาร (Four-Digit Pick-Up Codes) ฟีเจอร์ล่าสุดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านยูโรของโบลท์ ในการพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้ครอบคลุมทั่วทั้งแพลตฟอร์มในช่วงสามปีต่อจากนี้ไป นำเสนอฟีเจอร์ผู้ติดต่อฉุกเฉิน (Trusted Contacts)

แค่เริ่มก็เตรียมจุดชนวนเดือดกันได้เลย กับ... เผยภาพแรกภาพยนตร์ "มือปืน" พร้อมจุดชนวนความมันส์! 27 พฤศจิกายนนี้ — แค่เริ่มก็เตรียมจุดชนวนเดือดกันได้เลย กับภาพแรกของ ภาพยนตร์ "มือปืน" โดยมีนักแสดงอย่าง...

Aroma Group ผู้นำด้านธุรกิจกาแฟครบวงจรในป... Aroma Group เปิดตัวกาแฟแคปซูลใหม่ 8 สูตร มอบประสบการณ์กาแฟพรีเมียมที่บ้าน — Aroma Group ผู้นำด้านธุรกิจกาแฟครบวงจรในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกาแฟค...

แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเ... มาห์เล เตรียมจัดแสดงโซลูชันอี-โมบิลิตี้พร้อมรับอนาคต ที่งานซับคอน ไทยแลนด์ 2025 — แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนขอ...

Bionic battery cooling plate enhances bat... MAHLE to showcase future-ready e-mobility solutions at SUBCON Thailand 2025 — Bionic battery cooling plate enhances battery performance and sustainability...

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแ... THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ — อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมแ...

A professor from Chulalongkorn University... THANARA: A Microbiome-Based Skincare Innovation Featuring 4P-Biotics Technology by AL-DNA — A professor from Chulalongkorn University's Faculty of Science...

ย่านเดียวจบครบทุกแลนด์มาร์ก…ถ่ายรูปเช็คอิ... ใครกำลังเบื่อฮ่องกงมุมเดิมๆ…ขอแนะนำ 'ไคตั๊ก' ย่านใหม่แกะกล่อง! — ย่านเดียวจบครบทุกแลนด์มาร์ก…ถ่ายรูปเช็คอิน กิน เล่น ช็อปฯ สนุกได้ทั้งคนฉายเดี่ยวและไปกับค...