อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ต้องรู้ 2567

29 Mar 2024

การจ้างแรงงานต่างด้าวคือทางเลือกยอดนิยมของนายจ้างจำนวนมาก ด้วยทักษะ ความรู้ ความขยัน อดทน จึงทำให้งานหลายประเภทตอบโจทย์กับพวกเขาที่สุด อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่นายจ้างทุกคนควรต้องรู้เอาไว้นั่นคือการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงยังไม่ต้องถูกลงโทษทั้งนายจ้างและแรงงานอีกด้วย จึงอยากนำข้อมูลการอัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่มาให้ทุกคนได้ศึกษาเพื่อปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม

อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ต้องรู้ 2567

การขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว

เรื่องการขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวยังคงใช้ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับปี 2562 นั่นคือนายจ้างและแรงงานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ MOU กรณีพิเศษ หลักการสำคัญ ได้แก่

  • แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในไทยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางของตนเอง และยังได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยในไทยได้อีกเป็นเวลา 2 ปี แต่ต้องมีการประทับตราเพื่อขอพำนักต่อครั้งละไม่เกิน 1 ปี
  • แรงงานต่างด้าวที่ไม่ต้องการต่ออายุทำงาน ไม่ต้องการต่อใบอนุญาตต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางของตนเอง แต่ถ้านายจ้างยังยื้อให้อยู่ต่อหรือแรงงานอยู่ต่อแบบผิดกฎหมายจะต้องได้รับโทษทั้ง 2 ฝ่าย

บทลงโทษกรณีนายจ้างและลูกจ้างทำผิดกฎหมายแรงงานต่างด้าว

1. นายจ้างต้องถูกปรับเป็นเงินตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท / แรงงานต่างด้าว 1 คน กรณีที่พบว่ายังกระทำผิดซ้ำจะมีการปรับเพิ่มตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาท / แรงงานต่างด้าว 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี

2. ลูกจ้าง / แรงงานต่างด้าวต้องถูกปรับเป็นเงิน 5,000 - 50,000 บาท และจะถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทางของตนเอง รวมถึงยังห้ามขอใบอนุญาตเข้ามาทำงานในไทยเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ตนเองได้รับบทลงโทษ

อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ การให้ความคุ้มครองแรงงาน

การอัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ เกี่ยวกับเรื่องความคุ้มครองของแรงงานยังคงยึดตามหลักปฏิบัติของกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับปี 2562 แต่มีการเพิ่มเติมความคุ้มครองลูกจ้างให้มากขึ้นไม่แตกต่างจากแรงงานไทยเพื่อให้การใช้ชีวิตของแรงงานเกิดความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้

1. กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยทุกคนจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเหมือนกับแรงงานไทยตามที่กฎหมายกำหนดโดยแต่ละจังหวัดมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันออกไป นายจ้างจึงต้องตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จังหวัดของตนเองและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2. นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงทุกกรณี

หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนหรือค่าแรงตามเวลาที่แรงงานได้ทำ หรือกรณีไม่มีการคืนหลักประกันเป็นวงเงิน ไม่มีการจ่ายเงินเมื่อบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่มีการจ่ายค่าล่วงเวลาจากการทำงานจริง ไม่จ่ายค่าแรงเมื่อลูกจ้างทำงานในวันหยุด ไม่จ่ายค่าล่วงเวลาวันหยุด ไม่จ่ายเงินชดเชยเมื่อพักหรือเลิกกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับให้กับแรงงานต่างด้าวอัตรา 15% ต่อปี ของยอดเงินที่ผิดนัดทั้งหมด

3. การยกเลิกสัญญา

กรณีนายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องมีการจ่ายเงินค่าแรงทั้งหมดที่ลูกจ้างต้องได้รับนับจากวันที่เริ่มทำงาน หรือวันรับค่าแรงรอบล่าสุดจนถึงวันที่ลูกจ้างถูกให้ออกจากงาน หรือวันที่มีการยกเลิกสัญญาถูกบังคับใช้

4. การเปลี่ยนนายจ้าง

กรณีมีการเปลี่ยนนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน รวมถึงนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ทั้งหมดเหมือนกับที่แรงงานเคยได้รับจากนายจ้างเดิม

5. การหยุดพักกิจการชั่วคราว

กรณีนายจ้างมีเหตุผลให้ต้องหยุดพักกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าแรงให้กับแรงงานไม่ต่ำกว่า 75% ของค่าจ้างตามวันทำงานที่แรงงานได้ทำไว้แล้วก่อนที่นายจ้างจะหยุดพัก

6. สิทธิ์การลา

  • การลากิจ แรงงานสามารถลาได้ไม่เกิน 3 วันทำงาน / ปี โดยยังคงได้รับเงินค่าจ้างตามปกติ
  • การลาคลอดบุตร แรงงานผู้หญิงสามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน (นับรวมวันลาระหว่างกำลังตั้งครรภ์) โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเท่ากับจำนวนวันปกติไม่เกิน 45 วัน

7. สิทธิด้านความเท่าเทียม

ไม่ว่าจะเป็นแรงงานต่างด้าวชายหรือหญิงก็มีสิทธิ์ได้รับค่าแรง ค่าแรงทำงานล่วงเวลา ค่าแรงทำงานวันหยุดจำนวนเท่ากัน หากประเภทหรือลักษณะงานที่ทำเป็นรูปแบบเดียวกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่

  • แรงงานต่างด้าวที่นายจ้างทุกคนเลือกจ้างเข้ามาต้องมีใบอนุญาตการทำงานในไทย ออกให้โดยกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
  • แรงงานต่างด้าวทุกคนต้องผ่านขั้นตอนการลงประทับตราวีซ่า และการอบรมเบื้องต้นก่อนเข้าทำงาน
  • แรงงานต่างด้าวต้องมีการรายงานตัวทุก 90 วัน ต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมีการแจ้งที่พักอาศัยก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนด ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับ 2,000 บาท
  • แรงงานต่างด้าวต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน เพื่อขอใบอนุญาตทำงาน ซึ่งการตรวจโรคแบ่งเป็น โรคเรื้อน วัณโรคระยะอันตราย โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการจนเป็นที่น่ารังเกียจต่อสังคม โรคซิฟิลิส และการติดยาเสพติด

หลังจากอัปเดต กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ล่าสุด 2567 กันไปแล้ว นายจ้างรายใดสนใจจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย "จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส" ผู้ให้บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าวและการต่อใบอนุญาตทุกประเภทครบวงจร ถูกต้องตามกฎหมาย สะดวก รวดเร็ว