กรมประชาสัมพันธ์ เมืองจิ้งซี
เมื่อไม่นานนี้ เมืองจิ้งซี เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือแปรรูปในท้องถิ่นไปยังประเทศคาซัคสถานเป็นครั้งแรก นับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปของเมือง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองจิ้งซีได้เร่งผลักดันการพัฒนาตามโมเดลแบบผสมผสาน คือ "การค้าชายแดน + การแปรรูปในท้องถิ่น" ด้วยการแปรรูปวัตถุดิบนำเข้าในสวนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชายแดนของเมืองจิ้งซี จากนั้นจึงจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปไปยังตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปในท้องถิ่น เมืองจิ้งซีจึงอาศัยข้อได้เปรียบจากการเป็นพื้นที่การค้าชายแดน เดินหน้าการก่อสร้างด่านหลงปังอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) และด้านกฎระเบียบและมาตรฐาน (Soft Infrastructure) ของสถานที่การค้าชายแดน พร้อมทั้งสร้างระบบ "แพลตฟอร์มเดียวและสามตลาด" ที่ครอบคลุม เพื่อทำให้กระบวนการค้าชายแดนง่ายขึ้นและเป็นมาตรฐาน ซึ่งช่วยส่งเสริมการปฏิรูปด่านหลงปังจากเศรษฐกิจทางผ่านสู่การเป็นเศรษฐกิจหน้าด่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อบริษัทแปรรูปในท้องถิ่น
ณ ปัจจุบัน มีบริษัทแปรรูปท้องถิ่น 23 แห่งในเมืองจิ้งซีที่ทำการค้าชายแดน ซึ่งรวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ 9 แห่ง บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ต้องขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ผลิตภัณฑ์ถั่ว และผลิตภัณฑ์ยาแผนจีน ซึ่งครอบคลุมการแปรรูปในด้านต่าง ๆ
ข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ของเมืองจิ้งซีระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมปีนี้ สินค้าที่นำเข้าผ่านการแปรรูปในท้องถิ่นที่ด่านหลงปังนั้นมีมูลค่ารวมแตะ 2.187 พันล้านหยวน และในจำนวนนี้เป็นมูลค่าผลผลิตแปรรูปท้องถิ่นของบริษัทขนาดใหญ่ 9 แห่งสูงถึง 1.306 พันล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้น 157.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมการแปรรูปท้องถิ่นได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตใหม่สำหรับเศรษฐกิจของเมืองจิ้งซี และด้วยเหตุนี้ เมืองจิ้งซีจะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปในท้องถิ่นต่อไป รวมทั้งเพิ่มการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับประกันองค์ประกอบทั้งหมดในการดำเนินโครงการ
ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์ เมืองจิ้งซี
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ขอเชิญผู้ประกอบการแฟชั่น สาขาหัตถอุตสาหกรรมไทย เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์ สู่การเป็น Fashion Hero Brand ภายใต้โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล (Fashion Identity) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สนับสนุน Soft Power เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ ยกระดับทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่ตลาดโลก พัฒนามาตรฐานสินค้า พร้อมการออกแบบที่โดดเด่น เสริมภาพลักษณ์แบรนด์ให้มี เอกลักษณ์ และ แข่งขันในเวทีสากล สิทธิพิเศษที่จะได้รับ อบรม
กรม สบส.จับมือ 6 หน่วยงาน จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ผลักดันผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงและอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพสู่เวทีโลก
—
กรมสนับสนุน...
แอป Maxim สร้างรายได้ให้คนไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
—
ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชากรกว่า 1.5 พันล้านคนทั่วโลก ต่า...
เดลต้า จับมือดีพร้อม เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย ภายใต้โครงการ DIPROM x DELTA Angel Fund ส่งเสริมนวัตกรรม พร้อมนำทัพขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้โตขึ้น
—
บริษัท เดลต...
เปิดแล้ว.....เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนนานาชาติ Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 (JGAB 2025)
—
นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหก...
ดีพร้อม ขานรับนโยบายเรือธงสำคัญ นายกอิ๊ง ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) รับลูกต่อนโยบายเรือธงสำคัญของนายกอ...
"JGAB 2025" เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนระดับโลก ดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและนวัตกรรมเครื่องประดับอย่างยั่งยืน
—
การรวมพลังรัฐ-เอกชน-ผู้ประกอบการ หนุน...
ปั้นแบรนด์ Beauty ไทยให้เฉิดฉาย!! DIPROM เปิดรับผู้ประกอบการความงามร่วมแจ้งเกิดสู่ "Fashion Hero Brand
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทร...