VML Thailand เปิดตัว BAV เครื่องมือทรงพลังเจาะอินไซด์แบรนด์ เสริมแกร่ง End-to-End Creative Solution Service

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

VML Thailand เปิดตัว BAV เครื่องมือทรงพลังเจาะอินไซด์แบรนด์ เสริมแกร่ง End-to-End Creative Solution Service เผยผลสำรวจล่าสุด Super Brands in APAC: The Rise of Challenging Opportunities พบใน APAC มี Super Brands เพียง 3% ความท้าทายใหม่ของ Global Brand และ Local Brand ที่ทำอย่างไรจะปั้นซุปเปอร์แบรนด์ ชนะทั้งเกมและใจคน

VML Thailand เปิดตัว BAV เครื่องมือทรงพลังเจาะอินไซด์แบรนด์ เสริมแกร่ง End-to-End Creative Solution Service

VML Thailand เอเยนซี่ที่ให้บริการด้านความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูล และเทคโนโลยีแบบครบวงจร เร่งเครื่องวางกลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ลูกค้า เผยผลสำรวจใหม่ Super Brands in APAC: The Rise of Challenging Opportunities เมื่อแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) ครองเกมแต่ไม่ครองใจ ในขณะที่แบรนด์ท้องถิ่น (Local Brand) ใน APAC และไทยพยายามเร่งแซง โดยใช้ดัชนีชี้วัดอย่าง Brand Power (แบรนด์ที่แข็งแกร่ง) และ Brand Love (แบรนด์ที่ได้ใจคน) เพื่อทำการศึกษาและค้นหาแนวทางในการปั้น "Super Brands" (Brand Power X Brand Love) ที่ทั้งโดดเด่นทรงพลังและครองใจผู้บริโภคทั่วโลก ด้วย BAV (Brand Asset Valuator) เครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถวิเคราะห์เจาะอินไซด์ความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ รวมทั้งชี้นำแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ปั้น "Super Brands" จากขุมพลัง Big Data ที่ทำการศึกษาวิจัยแบรนด์ทั่วโลกกว่า 60,000 แบรนด์มากว่า 30 ปี จนเป็นฐานข้อมูลวิจัยและคลังแสงความรู้ที่ช่วยในการสร้างและพัฒนาแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อผนวกกับการวิเคราะห์กลยุทธ์ ครีเอทีฟไอเดีย และเทคโนโลยีด้านการตลาด ซึ่งเป็น End-to-End Creative Solution Service ของ VML Thailand ทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับแบรนด์ลูกค้า ทั้งในด้านคอมเมิร์ซ การสร้างประสบการณ์ลูกค้า สร้างภาพลักษณ์ และแบรนด์เลิฟ ตอบโจทย์แบรนด์และองค์กรอย่างตรงจุด

คุณปรัตถจริยา ชลายนเดชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VML Thailand กล่าวว่า "เรามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยใช้เทคโนโลยี ไอเดียสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อตอบโจทย์ของแบรนด์และองค์กรด้วย End-to-End Creative Solution Service พร้อมสอดรับกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ที่ต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายในยุคปัจจุบัน โดยเรานับเป็นฮับความคิดสร้างสรรค์ที่รวมตัวของทีม CREATIVE THINK TANK, WINNING STRATEGIST & DATA EXPERTIST และ DIGITAL ACCELERATION & COMMERCE ที่รวมความเชี่ยวชาญจากหลากหลายด้านเพื่อสร้างสรรค์โซลูชันที่ดีที่สุดให้กับแบรนด์ ภายใต้วัฒนธรรม 'One Team' คือ การเป็นพาร์ทเนอร์ทีมเดียวกับลูกค้า ตั้งแต่เริ่มสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน พร้อมทั้งการค้นหามุมมองความคิดใหม่ ๆ ที่เจาะลึกอินไซด์ความต้องการและความคิดของผู้บริโภคผ่านเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพต่าง ๆ ก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์เป็นกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ผสานผ่านการดำเนินงานด้านข้อมูล หรือ 'ศาสตร์' แห่งการใช้ Big Data เข้ากับ 'ศิลป์' ความคิดไอเดียที่สดใหม่ และถ่ายทอดสู่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเจาะตลาดและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ก่อให้เกิดการเติบโตของแบรนด์ (Creative Brand Growth Strategy) ล่าสุด เราได้นำเสนอเครื่องมืออันทรงพลังและที่มีความแข็งแกร่ง เพื่อเข้าใจมุมมองความรู้สึกที่ผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ และจุดแข็งแกร่งของแบรนด์ อย่าง BAV ทำให้เราเข้าใจตำแหน่งที่แท้จริงของแบรนด์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนเข้าสู่การพัฒนากลยุทธ์ที่แม่นยำ และสร้างทิศทางการแก้ปัญหา และวางการสื่อสารได้อย่างทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"

คุณเอกลักษณ์ จรัญวาศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และ BAV APAC Champion กล่าวว่า "BAV หรือ Brand Asset Valuator เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อบริหารแบรนด์ลูกค้าของบริษัท VML ทั่วโลก ภายใต้การเก็บผลสำรวจและศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้คนทั่วโลกมากกว่า 2.5 ล้านคน ใช้ระยะเวลาเก็บผลสำรวจมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 ถึงปัจจุบัน ในกว่า 50 ประเทศ โดยดำเนินการสำรวจในกลุ่มธุรกิจมากกว่า 1,000 กลุ่ม ทำการศึกษาวิจัยแบรนด์ทั่วโลกกว่า 60,000 แบรนด์ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างของข้อมูลจาก BAV ที่ทำให้เราเห็นข้อมูลในภาพกว้างของแบรนด์นับพันในประเทศว่า แบรนด์แต่ละตัวและแต่ละกลุ่มประเภทสินค้าบริการมีความแข็งแกร่งแค่ไหนและมีทิศทางแนวโน้มที่จะเติบโตหรือตกลงเมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ทั้งหมดที่มีในประเทศ นอกจากนี้ยังสะท้อนอินไซด์ของคนในประเทศได้ผ่านการศึกษาค่านิยมที่มีต่อแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการใช้ชีวิตของคนที่ไม่ได้จำกัดแค่สินค้าบริการแต่ยังรวมไปถึงสื่อ อินฟลูเอนเซอร์ ดารา คนสำคัญ สถาบันองค์กรไปจนถึงระดับประเทศชาติ และทำการเปรียบเทียบข้อมูลกับแบรนด์ในประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางแบบสอบถามออนไลน์โดยบริษัทวิจัยตลาดชั้นนำและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการปั้น Super Brands ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ 2 มุมมอง ได้แก่ Brand Power (Brand Asset)
ซึ่งทำให้แบรนด์มีความแตกต่าง (Differentiation) เป็นที่สนใจพิจารณา (Relevancy) รู้สึกมั่นใจ (Esteem) และเป็นที่รู้จัก (Knowledge) และ Brand Love ซึ่งทำให้แบรนด์กลายเป็นตัวเลือกที่ผู้บริโภคชื่นชอบและอยากแนะนำให้คนรอบตัวซื้อใช้ตาม เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมกันบนแผนภาพประเมินทิศทางความเป็นไปได้ของแบรนด์ (Brand Power Grid) ก็จะทำให้เห็นว่าแบรนด์ยืนอยู่ในตำแหน่งไหนท่ามกลางแบรนด์กว่าพันแบรนด์ที่มีในตลาดของประเทศนั้น ๆ และแบรนด์มีแนวโน้มที่จะเติบโตหรือตกลงต่อไปในอนาคต หรือข้อผิดพลาดบางอย่างที่มองข้ามไปในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ หรือเมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ในใจอื่น ๆ ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น"

โดยในปี 2567 นี้ VML Thailand ได้ดำเนินการวิเคราะห์ศึกษา Super Brands in APAC กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 - 65 ปี ในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก (APAC) ครอบคลุม 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย จำนวน 104,308 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างปี ค.ศ. 2022 - 2024 (ทำการสำรวจวิจัยเสร็จสิ้นเดือนเมษายน 2567) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินพลังความแข็งแกร่งของแบรนด์ (Brand Power) และความรักที่มีในแบรนด์ (Brand Love) เพื่อค้นหาซุปเปอร์แบรนด์ในใจคนเอเชียแปซิฟิก โดยทำการศึกษาทั้งในกลุ่ม Global Brand และ Local Brand ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึง โอกาสที่ท้าทายในการปั้นซุปเปอร์แบรนด์ เมื่อแบรนด์ระดับโลกครองเกมแต่ยังไม่ครองใจ ในขณะที่แบรนด์ท้องถิ่นใน APAC และไทยพยายามเร่งแซง

Power vs. Love ความท้าทายในการปั้นซุปเปอร์แบรนด์ APAC

จากการศึกษาถึงซุปเปอร์แบรนด์ที่แข็งแกร่งและเป็นที่รักในใจคน APAC ครั้งนี้พบว่า มีเพียง 3% เท่านั้นที่สามารถเป็นซุปเปอร์แบรนด์ได้ โดยซุปเปอร์แบรนด์ที่มีความโดดเด่นในแทบทุกประเทศ คือ Google, YouTube และ Samsung ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวจากเอเชียที่ติดอยู่ใน 3 อันดับนี้ ในขณะที่ iPhone และ Apple เป็นแบรนด์ที่เก่งทรงพลังสูงสุดอันดับหนึ่งแต่ยังมีความท้าทายเรื่องความเป็นที่รักในใจคน APAC โดยแบรนด์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะมีบทบาทเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารความบันเทิง ซัพพอร์ทการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ระดับโลก นอกจากนี้ยังพบว่า แบรนด์เหล่านี้ยังสามารถรักษาความโดดเด่นด้านพลังความแข็งแกร่งไว้ได้ แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาวิกฤตโลกอย่างโรคระบาด Covid-19 แม้ว่าแบรนด์ที่มีความโดดเด่นติด Top10 ด้านพลังความแข็งแกร่งส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ระดับโลก Global Brand แต่แบรนด์ที่เป็นอันดับหนึ่งหรืออยู่ในลำดับที่สูงกว่า ส่วนใหญ่กลับเป็นแบรนด์ประเทศของคนชาตินั้น ๆ (Country Brand) อย่างประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์ นอกจากนั้นแล้ว แบรนด์ประเทศทั้งหมดยังมีความโดดเด่นติด Top5 ด้านความรักในแบรนด์อีกด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงค่านิยมความรักชาติที่แข็งแรงของคนใน APAC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างจีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และพบบ้างในประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดีย เวียดนาม และไทย ตามลำดับ ด้วยความรักชาติที่มีในประเทศตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ แบรนด์ระดับท้องถิ่นสามารถเข้ามามีความโดดเด่นใน Top10 ของซุปเปอร์แบรนด์ที่ทรงพลัง และยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นใน 10 อันดับความโดดเด่นด้านความเป็นที่รักในแบรนด์ด้วย

Global Brands vs. Local Brands เมื่อแบรนด์นอกครองเกมแบรนด์ไทยจะสู้กลับอย่างไร

สำหรับผลการสำรวจวิจัยล่าสุดในปีนี้ของประเทศไทยพบว่า ซุปเปอร์แบรนด์ที่ทรงพลังและเป็นที่รักในใจคนไทยคือ Google, YouTube, Samsung, TrueMoney และ 7-11 สำหรับแบรนด์ที่โดดเด่น 10 อันดับแรกในด้านพลังความแข็งแกร่งและความรักส่วนใหญ่ 8 ใน10 เป็นแบรนด์ระดับโลก มีเพียงสองแบรนด์ท้องถิ่นอย่างเช่น TrueMoney ที่เข้ามาติดอันดับนี้ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วใน APAC อย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมื่อเราขยายผลการวิเคราะห์ให้ครอบคลุมแบรนด์ทั้งหมดกว่า 1,200 แบรนด์ในไทยพบว่ามีเพียงประมาณ 3% ของแบรนด์ในไทยเท่านั้นเช่นกันที่สามารถเป็นซุปเปอร์แบรนด์ที่มีความโดดเด่น ทั้งพลังความแข็งแกร่งและความเป็นที่รักในใจของคนไทยได้ ซึ่งซุปเปอร์แบรนด์ส่วนใหญ่มากกว่าสองในสามเป็นแบรนด์ระดับโลก แต่ผลสำรวจก็พบว่าคนไทยกำลังทวีความรู้สึกดีที่มีต่อความเป็นไทยมากขึ้นผ่านแบรนด์ประเทศไทยที่กำลังไต่อันดับขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของแบรนด์ที่คนไทยรักมากที่สุด พร้อมภาพลักษณ์ด้านความกำลังเป็นที่นิยม (Gaining Popularity) และมีความก้าวหน้าพัฒนาเสมอ (Progressive) เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับสองปีที่แล้ว รวมทั้งแบรนด์ระดับท้องถิ่นอีกหลายร้อยแบรนด์ที่มีพลังความแข็งแกร่งและความเป็นที่รักเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน จนใกล้เคียงกับแบรนด์ระดับโลกที่เป็นผู้นำของตลาดอย่างในกลุ่มสินค้าอาหาร สุขภาพและความงาม บริการด้านการเงิน การท่องเที่ยวเดินทาง เช่น แบรนด์ Bangkok Airways, Cute Press, Roza, เทพไท เป็นต้น นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่า คนไทย 83% ยอมจ่ายแพงมากขึ้นเพื่อสนับสนุนสินค้าของประเทศ และ 93% รู้สึกภูมิใจเมื่อเห็นแบรนด์ของไทยไปโตในตลาดต่างประเทศด้วย ดังนั้นการต่อยอดความรู้สึกผูกพันและความภูมิใจในชาติอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบรนด์ท้องถิ่นเพิ่มพลังจนสามารถแข่งขันกับแบรนด์ระดับโลกได้

กลยุทธ์การปั้นซุปเปอร์แบรนด์

สำหรับปัจจัยสำคัญและแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในการปั้นซุปเปอร์แบรนด์ด้วยการยกระดับทั้งพลังความแข็งแกร่ง (Brand Power) และความเป็นที่รักของแบรนด์ (Brand Love) สามารถสรุปได้เบื้องต้นเป็น 5 แนวทาง คือ 1.สร้างความเป็นสากล: แบรนด์ระดับโลกอย่าง Google, YouTube และ Samsung ประสบความสำเร็จจากการมีอยู่ทั่วโลกและการมีบทบาทเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารความบันเทิง ซัพพอร์ทการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่แบรนด์ขนาดใหญ่ระดับท้องถิ่นสามารถเรียนรู้และนำมาพัฒนาเพื่อเป็นหนึ่งในซุปเปอร์แบรนด์จาก APAC ที่ครองใจคนได้อย่าง ซัมซุง เป็นต้น 2.ใช้ความภาคภูมิใจในชาติเป็นแรงกระตุ้น: คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมักมีความรักในแบรนด์ประเทศของตนเองสูง และมักจัดอันดับให้สูงกว่าแบรนด์ระดับโลก แบรนด์ท้องถิ่นควรใช้ความภาคภูมิใจนี้ในการเสริมสร้างความผูกพันในแบรนด์กับคนในประเทศและการมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างชื่อเสียงจากสินค้าบริการของประเทศในเวทีการค้าโลก ในขณะที่แบรนด์ระดับโลกก็มีส่วนร่วมได้ด้วยการเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์กรที่เข้าไปช่วยเหลือคนและชุมชนในท้องถิ่นอย่างจริงจังจนกลายเป็นแบรนด์ที่คนในท้องถิ่นให้การชื่นชมยอมรับ เช่น Red Cross หรือสภากาชาดไทย, Unilever เป็นต้น 3.สร้างพันธมิตรเพื่อความสำเร็จ: สำหรับแบรนด์ระดับโลก การสร้างพันธมิตรกับแบรนด์ท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการเจาะตลาดที่มีความภาคภูมิใจในชาติสูง การทำงานร่วมกันนี้สามารถผสานนวัตกรรมระดับโลกกับความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้ และช่วยให้เกิด Win Win ที่สร้างผลดีให้กับทั้งสองแบรนด์ได้ 4.ความผสานเข้ากับวัฒนธรรม: ทั้งแบรนด์ระดับโลกและท้องถิ่นควรนำความเข้าใจทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสอดประสานเข้ากับการพัฒนาสินค้าบริการรวมไปถึงการทำการตลาดและการสื่อสารของแบรนด์ เช่น KFC กับการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ และเมนูรสชาติใหม่ ๆ ที่เข้ากับจริตคนไทย ผสานการทำแคมเปญการตลาดออกโปรโมชันที่ใช่ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ของประเทศ โดยกลยุทธ์นี้จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงและความรักในแบรนด์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 5.คุณภาพเป็นสะพานเชื่อม: ในขณะที่แบรนด์ระดับโลกส่วนใหญ่มักจะมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านความน่าเชื่อถือ พรีเมียม ทันสมัย มากกว่าแบรนด์ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความโดดเด่นอีกด้านเรื่อง การซัพพอร์ทคอยช่วยเหลือ และความผูกพันทางใจกับคนในชาติที่ดี ซึ่งการผสานจุดแข็งเหล่านี้สามารถยกระดับการรับรู้ความสนใจในแบรนด์ โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังพัฒนา ซึ่งแบรนด์ระดับท้องถิ่นยังคงมีความยากลำบากในการแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศ ข้อเสนอแนะเหล่านี้จากผลสำรวจของ BAV ช่วยชี้ให้เห็นถึงการผสมผสานอย่างมีกลยุทธ์ระหว่างการเข้าถึงระดับโลก ความเกี่ยวข้องในท้องถิ่น และความร่วมมือที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเส้นทางไปสู่ความสำเร็จในการเป็นซุปเปอร์แบรนด์ชั้นนำในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้

คุณสขิลา บานเย็น ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และการวางแผน กล่าวว่า "VML Thailand ไม่หยุดนิ่งในการศึกษาวิเคราะห์อย่างเจาะลึกจากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ BAV นำมาประกอบกับข้อมูลส่วนอื่นอย่าง Focus Group รวมทั้งข้อมูลอินไซด์ที่ได้จากลูกค้ามาช่วยกันร่วมวางแผนร่วมวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงจุดไหน หรืออะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ความกังวลใจ หรือตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะอะไร สู่การวางแผนและหา Solution ที่ตอบโจทย์ผ่านไอเดียและงานครีเอทีฟที่ทัชใจ พร้อมทั้งเชื้อเชิญให้ผู้บริโภคร่วมท่องสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ ตอบชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้นได้จริง ไปพร้อม ๆ กับแบรนด์นั้น นั่นคือความตั้งใจจริง และความจริงใจที่ VML Thailand ต้องการมอบให้กับทุกลูกค้า ในฐานะพาร์ทเนอร์จริง ๆ โดยเรามี Case Study ของแบรนด์ทั้ง Global Brand และ Local Brand ที่ร่วมพิสูจน์และพร้อมที่จะเติบโตเคียงคู่กับเรา ได้แก่

Global Brand "KFC" - โจทย์ของเคเอฟซี คือ การต่อยอดแบรนด์เป็นให้มากกว่าร้าน QSR แต่เป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ของยุค ที่สามารถครองใจผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย เข้าถึงได้ทุกวัน โดยจับจุด Local Pride, Local Insight สร้างแคมเปญและนวัตกรรมที่เข้าถึงทุกคนอย่างต่อเนื่องบน Cultural Calendar ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้าเฟสติเวอร์บักเก็ต, ธูปกลิ่นไก่ทอดสูตรผู้พัน จนมาถึงล่าสุด KFC Bucket Ware กล่องเก็บอาหารทรงบักเก็ต ทำให้เคเอฟซีรักษาความเป็น Rising Brand ในประเทศไทย ด้วย Brand Power ที่ 98.5% เพิ่มขึ้น 7.3% จากปี 2565

Local Brand "ROZA" - โจทย์ของโรซ่า คือ การยกภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ที่ร่วมสมัย เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับแบรนด์ระดับโลกหรือการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาสร้างประสบการณ์ที่เป็นมากกว่าการทำอาหาร จนทำให้ปัจจุบันโรซ่าสามารถสร้าง Brand Power อยู่ที่ 76% เติบโตมากขึ้นถึง 33% จากปี 2565

การใช้ BAV เข้ามาสำรวจการรับรู้ ความรู้สึกของผู้คน เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานอย่างถูกทางและแม่นยำ ทำให้มองเห็นสถานะของแบรนด์ในใจผู้บริโภค ทิศทางที่กำลังจะไป และพัฒนาไอเดียไปสู่แนวทางการนำพาแบรนด์บรรลุสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว"

ด้านคุณฐิติรัตน์ ตันติฤทธิศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า "การนำเสนอเครื่องมืออย่าง BAV ในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งกลไกและกลยุทธ์ที่พร้อมช่วยลูกค้าเจาะอินไซด์ให้เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นจุดตั้งต้นที่เมื่อผสานกับเครื่องมืออื่น ๆ ของ VML Thailand ทำให้การบริการที่ครบวงจรแบบ End-to-End Creative Solution Service สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเป็นการผสานความแข็งแกร่งของ นักกลยุทธ์ ครีเอทีฟ และนักวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีระดับโลก นำมาซึ่งการสร้างประสบการณ์ยอดเยี่ยมให้กับแบรนด์ (BX) ให้กับลูกค้า (CX) รวมถึงบริการคอมเมิร์ซ (CO) เพื่อนำไปสู่ Business Conversion ได้อย่าง Seamless โดยได้รับการพิสูจน์จากบริษัทและแบรนด์ชั้นนำที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างประสบการณ์ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า ได้รับผลตอบรับที่ดีในมิติต่าง ๆ ทั้งการช่วยลูกค้าให้วางแผนทิศทางและเป้าหมายทางธุรกิจได้ชัดเจนมากขึ้น ความสร้างความประทับใจของผู้บริโภค ในแต่ละทัชพ้อยท์ และการรักษาฐานลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง"


ข่าวความท้าทายใหม่+ซุปเปอร์แบรนด์วันนี้

โก โฮลเซลล์ เพิ่มดีกรีความเข้มข้นแบรนด์กลยุทธ์ "สด ครบ คุ้ม" ย้ำพันธกิจพาผู้ประกอบการไทย ก้าวไปให้ไกลกว่าเดิม "ความสำเร็จคุณ เป้าหมายเรา"

โก โฮลเซลล์ ก้าวสู่ความท้าทายใหม่ภายใต้การแข่งขันที่ดุเดือดกว่าเดิม ด้วยแบรนด์กลยุทธ์ "สด ครบ คุ้ม" ครอบคลุมทุกมิติ ย้ำการเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการที่เต็มไปด้วยความสดใหม่อยู่เสมอ สานต่อบันไดขั้นแรก The New Choice for All พร้อมเปิดตัวแท็กไลน์ใหม่ "ความสำเร็จคุณ เป้าหมายเรา" นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด กล่าวว่า หลังเปิดตัวแบรนด์ โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร ที่มีความสดใหม่ตลอดเวลา

กลุ่มบริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ห... SKE Group เข้าร่วมงาน "BU Job Fair 2025" — กลุ่มบริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ SKE Group ขอเชิญนักศึกษาทุกท่านที่กำลังมองหาความท้าทายใหม่...

ในโลกที่ทุกอย่างหมุนไปอย่างรวดเร็ว งานบริ... Copilot ผู้ช่วยอัจฉริยะที่จะพลิกโฉมการทำงานสำหรับ HR ยุคใหม่ — ในโลกที่ทุกอย่างหมุนไปอย่างรวดเร็ว งานบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) ต้องการเครื่องมือที่ทรงประสิ...

ภูมิทัศน์สื่อไทยในปี 2568 เป็นปีที่มาพร้อ... เปิดทิศทางสื่อไทยปี 2568: Niche คอนเทนต์และอินฟลูเอนเซอร์มาแรง สตรีมมิ่งแข่งเดือด — ภูมิทัศน์สื่อไทยในปี 2568 เป็นปีที่มาพร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ...