TikTok: แพลตฟอร์มการสื่อสารและการสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โลกปัจจุบันได้มีการเคลื่อนไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาวการณ์ต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและมีความเป็นพลวัตสูง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน แพลตฟอร์มการสื่อสารต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานและวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน เช่น Facebook, Twitter (X), Instagram, Line รวมถึง TikTok ด้วย การบริโภคข้อมูลข่าวสารจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะในสื่อแบบดั้งเดิมอีกต่อไป ช่องทางในการรับชมผ่านสื่อต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น คนในสังคมจึงสามารถเลือกรับชมข่าวสารได้ตามความต้องการทุกสถานที่ (Every Where) และทุกเวลา (Every Time)

TikTok: แพลตฟอร์มการสื่อสารและการสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล

TikTok หรือ Douyin (โต่วอิน) เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการสร้างและเผยแพร่วิดีโอความยาวสั้น ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ มีจุดเริ่มต้นจากความคิดของวิศวกรซอฟต์แวร์ชาวจีน ชื่อว่า Zhang Yiming ของบริษัท ByteDance โดยเปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตมาจากธุรกิจ แต่จากรายงานภูมิทัศน์สื่อไทย (Thailand Media Landscape 2023-2024) พบว่า จำนวนผู้ใช้ TikTok ทั้งในไทยและทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงต้นปี 2566 ชี้ว่ายอดผู้ใช้ TikTok ทั่วโลกอยู่ที่ 1.218 พันล้านราย ส่วนจำนวนผู้ใช้งานในประเทศไทยอยู่ที่ 40.28 ล้านราย และจากรายงานของ Reuters Institute ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่ใช้งาน TikTok ในการติดตามข่าวสารมากที่สุดในโลก (Dataxet Limited, 2566) TikTok: แพลตฟอร์มการสื่อสารและการสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล

TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมบนสื่อสังคม (Social Media) อย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดย TikTok เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ผ่านวิดีโอสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเต้น การร้องเพลง การเล่าเรื่อง หรือการแสดง ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านเนื้อหาขนาดสั้น TikTok จึงเป็นแหล่งข้อมูลและการเรียนรู้ในวิถีใหม่ ผู้คนสามารถ Upskill และ Reskill ทักษะต่าง ๆ ข้อมูลทางวิชาการ หรือแม้แต่เคล็ดลับในชีวิตประจำวัน ผ่านเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งาน TikTok จึงมีบทบาทสำคัญในการกระจายข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งทำให้การรับข้อมูลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

TikTok กลายเป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชมทั่วไป ตลอดจนยังเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างรายได้ โดยการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งบริษัทและแบรนด์ต่าง ๆ ใช้ในการโปรโมตสินค้าและบริการ โดยอาศัยความนิยมของผู้ใช้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เปิดโอกาสให้สร้างรายได้ผ่านการโฆษณา การสนับสนุนจากแบรนด์ หรือการขายสินค้า การตลาดแบบ Affiliate ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์บางคนอาจเข้าร่วมโปรแกรม Affiliate ซึ่งได้รับค่าคอมมิชชันเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการที่แชร์ลิงก์บน TikTok ผ่านการขายสินค้าของตนเอง หรือว่า TikTok Shop โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มลิงก์ไปยังสินค้าที่ขายได้ในวิดีโอ นอกจากสินค้าในรูปแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถขายสินค้าในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่น คอร์สออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเทมเพลตการออกแบบต่าง ๆ และการถ่ายทอดสด (Live) ซึ่งจะเป็นการได้รับของขวัญจากผู้ชม (Virtual Gifts) ซึ่งครีเอเตอร์สามารถแปลงของขวัญเหล่านั้นเป็นเงินจริงได้

จากข้อมูลที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสื่อสังคมที่ได้รับความนิยมจากสังคม ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังสามารถต่อยอดความนิยม มาสู่การติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดรายได้จากการใช้งานอีกด้วย 

หากสนใจรับฟังเรื่องราวและฝึกทักษะการใช้งาน TikTok ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับท่าน สามารถติดต่อบุคลากรที่มีความสามารถได้ที่งานสื่อสารองค์กร กองกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา

เอกสารอ้างอิง

Dataxet Limited. (2566). ภาพรวมภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566-2567. https://www.dataxet.co/media- landscape/2024-th


ข่าววิทยาศาสตร์+การสื่อสารวันนี้

นิสิต คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น เวทีระดับชาติ YTSA#20

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสาวยอดขวัญ อาจทะนงค์ นิสิตสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล "นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น" ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#20) ซึ่งจัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับหน่วยงานภาคี นางสาวยอดขวัญ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการคัดเลือกและได้รับรางวัลนี้ โดยมี ดร.สืบกุล กาญจนสุกร์

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทคว...