ครูช่างศิลปหัตถกรรม ผู้สร้างสรรค์ผลงานจักสาน "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" สะท้อนองค์ความรู้และทักษะเชิงช่างอันทรงคุณค่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เชิดชู นายนพดล สดวกดี ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2567 ประเภทงานจักสานหวายไม้ไผ่ รังสรรค์ผลงานสุดประณีต "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" สะท้อนองค์ความรู้และทักษะเชิงช่างในการจักสานอย่างสมบูรณ์ ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ในการปรับประยุกต์ ต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ของขวัญ ของโชว์สร้างมูลค่าเพิ่ม

ครูช่างศิลปหัตถกรรม ผู้สร้างสรรค์ผลงานจักสาน "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" สะท้อนองค์ความรู้และทักษะเชิงช่างอันทรงคุณค่า

นายนพดล สดวกดี ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2567 งานจักสานหวายไม้ไผ่ จากจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า จากเดิมมีอาชีพเป็นช่างไม้ ช่างปูน จึงมีทักษะความรู้ในเรื่องของงานไม้ แต่เมื่อได้ใกล้ชิดกับปราชญ์ชุมชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญงานจักสาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องการจักสาน ทำการฝึกฝนและพัฒนาความรู้ในด้านจักสาน เริ่มจากสานตะกร้าในแบบต่าง ๆ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2549 ได้นำความรู้ที่มีมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีความแปลกใหม่ โดยนำชิ้นไม้มงคล ไม้ไผ่ และหวาย มาสร้างสรรค์เป็นผลงานการจักสานได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ ความพิเศษที่แสดงถึงทักษะฝีมือความชำนาญเชิงช่างในงานศิลปหัตถกรรมของครูยังอยู่ที่การชักเรียดเส้นหวายให้มีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25-0.33 มิลลิเมตร และนำมาถักทอขึ้นรูปต่าง ๆ อย่างประณีตงดงาม แต่ยังคงความสวยงามแข็งแรง และคงคงทน โดยใช้วิธีการแกะแบบ ตอกแบบเอง ผลงานที่ออกมาส่วนใหญ่จึงเป็นในแบบงานปรับประยุกต์ มีความเฉพาะตัว แข็งแรง สวยงาม และสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย

ครูนพดลฯ มุ่งหวังให้งานจักสานได้กลายเป็นงานในกลุ่มของขวัญมงคล และมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือ "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์งานช่าง และความหลงใหลในงานจักสาน นำมาสู่แรงบันดาลใจในการสร้าง "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" ขนาดตัวเรือยาว 4 เมตร ใช้ระยะเวลาในการทำ 16 เดือน ตัวเรือภายนอกทำจากแก่นมะขาม ภายในเป็นไม้สักทอง โขนเรือรูปหัวหงส์ ลงรักปิดทอง จัดวางองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ คล้ายของจริงทุกสัดส่วน ด้วยฝีมือเชิงช่างที่ประณีตและละเอียดอ่อน จนเป็นเรือที่สง่างามและทรงคุณค่า


ข่าวสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย+ครูช่างศิลปหัตถกรรมวันนี้

สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรมไทย มุ่งสืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้จะสูญหาย โดยครูสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2563 ในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 18 22 กันยายน 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งานแทงหยวก เป็นงานหัตถศิลป์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ต้องอาศัยความชำนาญและทักษะฝีมือของช่างฝีมือ ที่ต้องใช้มีดสองคมแทงลงไปบนกาบกล้วยให้เกิดลวดลาย งานแทงหยวกจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ งานแทงหยวกรูปแบบราชสำนัก

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... "หุ่นกระติบ" งานหัตถกรรมถิ่นอีสาน จากภูมิปัญญาครูหมอลำหุ่นกระบอก — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกร...

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... ครูผู้สร้างสรรค์และส่งต่อคุณค่างานหัตถศิลป์ไทยผ่านเครื่องดนตรีไทย — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดความงดงามของงานศิลปหัตถกรรมไ...

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่านักออกแบบร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ได้ดำเนินการจั...

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่าผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ไ...