ในทิศทางของความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากภัยคุกคามต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP จะมาแบ่งปันแนวทางของสองขั้วตรงข้ามแต่กลับเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน การดำเนินการทดสอบของสองทีม ทีมสีแดง (Red Team) และทีมสีน้ำเงิน (Blue Team) ที่ต้องอยู่คนละฝั่งกัน ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับการประเมินและปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยขององค์กร
รูปแบบการทดสอบที่ถูกออกแบบขึ้น จะมีการจำลองการโจมตีและการตอบสนองในรูปแบบที่ใกล้เคียงความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยหาช่องโหว่ที่ได้จากการทดสอบ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบการป้องกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองรับมือต่อการโจมตีได้ทันทีในหลายรูปแบบ ทั้งสองทีมมีบทบาทสำคัญในการเสริมเกราะป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ขององค์กร โดยแต่ละทีมมีความรับผิดชอบและวิธีการที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปสำรวจสมรภูมิเสมือนจริงระหว่างทีมสีแดงและทีมสีน้ำเงิน และให้ความกระจ่างเกี่ยวกับบทบาทของพวกเขาในการสนับสนุนความปลอดภัยทางไซเบอร์
บทบาทและภารกิจของทีมสีแดง (Red Team)
ในขอบเขตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทีมสีแดง ทำหน้าที่ทีมที่จำลองการโจมตีเสมือนจริง ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะซึ่งจำลองการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อประเมินมาตรการรักษาความปลอดภัยขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้พยายามแทรกซึมระบบ เครือข่าย และแอปพลิเคชันเพื่อระบุช่องโหว่และจุดอ่อน เป้าหมายของทีมสีแดงคือการเปิดเผยภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ไม่หวังดีจะสามารถหาประโยชน์จากพวกมันได้
วิธีการ
ทีมสีแดง จะใช้กลยุทธ์ เทคนิคและขั้นตอนที่หลากหลายเพื่อดำเนินการประเมิน การทดสอบการเจาะระบบ การใช้ศิลปะการหลอกลวงของแฮ็คเกอร์ (Social Engineering) และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่ตรวจสอบพบ รวมทั้งพวกเขายังอาจใช้การทดสอบขั้นสูง เช่น การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบซีโรเดย์ (ช่องโหว่หรือจุดอ่อนในระบบ ซึ่งยังไม่เคยพบมาก่อน อาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบ ที่ผู้พัฒนาไม่สามารถตรวจสอบพบก่อนนำระบบนั้นมาใช้งานจริง)
ประโยชน์ที่ได้รับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสูงสุดที่ต้องพึงระลึกไว้ คือ การทดสอบของทีมสีแดงจะดำเนินการภายใต้จรรยาบรรณที่เข้มงวดและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ เพื่อป้องกันการกระทำที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายจริงต่อโครงสร้างและระบบการทำงานขององค์กร
บทบาทและภารกิจของทีมสีน้ำเงิน (Blue Team)
ทีมสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นฝ่ายตั้งรับ มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาและปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร โดยการตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง ตรวจจับภัยคุกคาม และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ สมาชิกทีมสีน้ำเงินมักเป็นนักวิเคราะห์ความปลอดภัยและผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การได้รับการรับรองความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญของทีมสีน้ำเงินมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการ
ทีมสีน้ำเงิน ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีหลากหลายเพื่อป้องกันภัยคุกคาม เช่น ระบบตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System), ไฟร์วอลล์ (Firewall), และโซลูชั่นการจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย (Security Information and Event Management - SIEM) พวกเขาตรวจสอบการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกได้ และใช้ข้อมูลเพื่อการป้องกันภัยคุกคามในเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและกระทบต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์
ประโยชน์ที่ได้รับ
สรุป
ทีมสีแดงและทีมสีน้ำเงินมีบทบาทที่แตกต่างกันในความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ไม่ใช่ในลักษณะแข่งขัน แต่เป็นการร่วมมือกันของทั้งสองทีม เพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ วัน ทีมสีแดงช่วยค้นหาช่องโหว่ ในขณะที่ทีมสีน้ำเงินช่วยป้องกันและเพิ่มมาตรการป้องกัน การทำงานร่วมกันนี้ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ เตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดี เป็นปราการที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งแม้ว่าทั้งสองทีมจะมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกัน คือการปกป้ององค์กรสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
--------
ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCtech) เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โซลูชั่นของเรา ประกอบไปด้วย
โซลูชั่นด้านความปลอดภัยดังกล่าวยังครอบคลุมถึง ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ต่าง ๆ อาทิ เช่น Firewall, SSL VPN, Log Management พร้อมด้วยโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่หลากหลาย มีให้เลือกตามความต้องการ เหมาะสมกับสถานการณ์และธุรกิจ
แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก
บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA ผู้นำธุรกิจไลฟ์สไตล์โมบิลิตี้ครบวงจร ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารในเครือทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยยึดมั่นในนโยบายด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การดำเนินการในครั้งนี้ สะท้อนถึงความตระหนักรู้ และความรับผิดชอบขององค์กรต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของพนักงานและลูกค้า โดย MGC-ASIA ไม่
กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ
—
นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษ...
เขตดอนเมืองเร่งแก้ปัญหาสุนัขจรจัดบริเวณซอยช่างอากาศอุทิศ 5 แยก 2
—
นายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง กทม. กล่าวถึงการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด บริเวณ...
EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
—
นายบัณฑิต สะเพียรชั...
คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
—
นายอดิศร พิ...
UMI ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) จาก โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
—
บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหา...
เปิดแล้ว ! งานแสดงรถยนต์นานาชาติครั้งที่ 46 ที่กรุงเทพฯ
—
วันที่ 24 มีนาคม งานแสดงรถยนต์นานาชาติครั้งที่ 46 ที่กรุงเทพฯ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดย บริษ...