นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกในปัจจุบัน (Climate Change) ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เกิดฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย สำหรับในประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์ดินถล่ม สร้างความเสียหาย และการเสียชีวิตของประชาชนจำนวนหลายครั้ง โดยที่สำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2531 เกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และปี พ.ศ. 2544 เกิดเหตุการณ์ดินถล่มขนาดใหญ่ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งภายหลังเกิดเหตุส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสูญหาย ทรัพย์สินและบ้านเรือนเสียหายเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินโคลนถล่ม จะมีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน อยู่ใกล้ลำน้ำ เป็นทางของน้ำป่าไหลผ่าน มีรอยดินเลื่อนหรือแยกจากการเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นบ่อยครั้ง ประกอบกับเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน หรือนานกว่า 6 ชั่วโมง ก่อนเกิดเหตุดินโคลนถล่มจะมีสัญญาณความผิดปกติของธรรมชาติ เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำและลำห้วยเพิ่มสูงขึ้น น้ำมีสีขุ่นมากกว่าปกติ เปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินบนภูเขา ดินมีสภาพอิ่มน้ำ หรือชุ่มน้ำมากกว่าปกติ
กรมพัฒนาที่ดิน มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกร จึงแนะแนวทางและมาตรการรับมือกับภัยดินโคลนถล่มในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันและช่วยลดความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1) ก่อนเกิดภัย ให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของธรรมชาติดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยมีประวัติดินถล่ม เกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลันบ่อยครั้ง หากได้รับสัญญาณเตือนภัย ให้อพยพไปในพื้นที่สูงและมั่นคง ตามเส้นทางที่จัดเตรียมไว้ ระยะที่ 2) เพิ่มศักยภาพพื้นที่ให้สามารถรับมือกับภัยดินถล่มที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การทำขั้นบันไดดิน ทำคันคูรับน้ำขอบเขา สร้างฝายชะลอความเร็วน้ำ ปลูกหญ้าแฝกเพื่อให้รากของหญ้าแฝกช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย รวมทั้งปลูกพืชหมุนเวียน ระยะที่ 3) รักษาฟื้นฟูสภาพดิน ปลูกพืชคลุมดิน ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกไม้ยืนต้นบริเวณป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมเพื่อรักษาหน้าดินและชะลอความแรงของน้ำ ป้องกันดินถล่มในระยะยาว
ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้ติดตามสถานการณ์ และข้อมูลพยากรณ์อากาศ พร้อมเฝ้าระวังและแจ้งข่าวสารให้กับเกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างรู้เท่ากันสถานการณ์ โดยสามารถติดตามได้ที่ เว็บไซต์: http://irw101.ldd.go.th หรือทาง Facebook: ncarp disaster
บทใหม่ของ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช กำลังเริ่มต้นขึ้นริมชายหาดแสนงดงาม กับการแข่งขัน Thailand Beach Teqball Open 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 เมษายนที่ผ่านมา โดยงานนี้ไม่เพียงมอบความสนุกสนานจากกีฬาเทคบอล แต่ยังเผยให้เห็นถึงศักยภาพของอำเภอสิชลในฐานะจุดท่องเที่ยว ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ วัฒนธรรม และชุมชนที่มีชีวิตชีวา โดยมีโครงการบ้านพักตากอากาศ บันยันทรี เรสซิเดนซ์ สิชล (Banyan Tree Residences Sichon) ในอนาคตตั้งอยู่ด้านหลัง ซึ่งงานนี้ดึงดูดครอบครัว กลุ่มเพื่อน และนักท่องเที่ยว ให้มาร่วม
ม.วลัยลักษณ์ แถลงเตรียมจัดกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 ตุมปังเกมส์ ทัพนักกีฬา 63 สถาบัน กว่า 7,000 คน เข้าร่วม
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ...
กลุ่มชูเกียรติยนต์ทุ่มลงทุน 100 ล้าน เปิดโชว์รูมมาสด้าและศูนย์บริการแห่งใหม่ในนครศรีธรรมราช มุ่งมั่นดูแลลูกค้าให้ดีที่สุดในทุกประสบการณ์
—
มาสด้าชูเกียรติ...
ITALTHAI | SDLG ระเบิดศึก 'Master the Performance' ท้าทายความแม่นยำและประสิทธิภาพเครื่องจักรกลหนัก
—
ITALTHAI | SDLG เปิดตัวการแข่งขัน 'Master the Perform...
เด็กใต้ น่าเอ็นดู (ENDU) กรมอนามัย หนุนเด็กไทย รอบรู้สุขภาพ ห่างไกล NCDs
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนัน...
ชื่นมื่นรับวาเลนไทน์! คู่รักชาย-หญิงและ LGBTQ+ ร่วมจดทะเบียนสมรส "รักลอยฟ้า" บนหอชมฟ้า ม.วลัยลักษณ์
—
คู่รัก 11 คู่ ทั้งชาย-หญิง และ LGBTQ+ จูงมือกันมาจดท...
กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ "เครื่องถมนครศรี" แห่งแรกในไทย
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องถม ที่จังหวัดนครศรีธ...
PTG มอบน้ำใจช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัย จ.นครศรีธรรมราช
—
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG สนับสนุนโครงการสร้างสุข ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำ...
ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นคาลเท็กซ์ จับมือ ดิสทริบิวเตอร์ ระดมกำลัง ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
—
จากสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ จ...