จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์การศึกษาทั่วไป เปิดตัว "Chula MOOC Flexi" (จุฬาฯ มุก.เฟล็กซิ) หลักสูตร Digital Literacy เรียนฟรี! โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชนทั่วไปในทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในยุค AI และเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความรู้และทักษะให้กับผู้เรียน ให้สามารถเผชิญกับความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ เพราะหลักสูตร Digital Literacy 28 คอร์สเรียน และ 8 ชุดรายวิชาศึกษาทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล อาทิเช่น ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ พื้นฐานการพัฒนาเว็บ การพัฒนาต้นแบบอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยภาษาไพทอน ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการเรียนู้ของเครื่อง วิสัยทัศน์คอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม การบริหารโครงการการพัฒนาแอปพลิเคชันยุคใหม่ และทักษะการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ให้บริการเทคโนโลยี เป็นต้น ผ่าน Chula Neuron แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ที่ออกแบบโซลูชันที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รองรับการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งผู้เรียนสามารถจัดตารางเรียนและทบทวนบทเรียนซ้ำได้ตลอดด้วยตัวเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถติดตามความก้าวหน้าการเรียนของตนเองได้ พร้อมรับใบรับรอง (E-Certificate) การันตีจาก จุฬา ฯ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพการทำงานได้ทันที เป็นทางเลือกให้ผู้เรียนสะสมการเรียนรู้ ในรูปแบบเรียนล่วงหน้าสะสมเครดิตไปจนถึงการเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 3 หน่วยกิต รวมถึงรองรับการเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปแบบข้ามสถาบัน เป็นทางรอดให้กับนิสิต นักศึกษาและบุคลาการในหลายธุรกิจที่กำลังปรับตัว
ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "การเสริมสร้างทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตร "Chula MOOC Flexi" เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเตรียมความพร้อมด้าน Digital & AI Literacy ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงบุคลากร หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน ในการเผชิญกับความท้าทายของยุคดิจิทัล โดย "Chula MOOC Flexi" นี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เรายังมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและการทำงานในตลาดงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หวังว่าความรู้เหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าได้
รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้รักษาการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป และหัวหน้าโครงการ โซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล (Digital Lifelong Learning Solutions) เพื่อพัฒนาความรู้เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัลในฐานะกำลังแรงงานคุณภาพของประเทศ กล่าวถึงความตั้งใจของศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ริเริ่มโครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล ตามนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการออกแบบโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning Solutions for all ที่สะท้อนถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี โดย"Chula MOOC Flexi" มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างสะดวก มีความยึดหยุ่น สามารถปรับเวลาและทางเลือกที่เหมาะสมในการเรียนรู้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้เรียน รวมทั้งยังดำเนินการผลิตเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัยเข้ากับยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรชั้นนำทางการศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้มีความคุ้นเคยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล รองรับผู้เรียนที่เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกชั้นปี กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คนวัยทำงาน และประชาชนทั่วไปทุกคนที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล
"Chula MOOC Flexi" เปิดให้ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจเรียนสามารถเข้าเรียนแบบสะสมเครดิตการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะใหม่ๆ หรือเพิ่มเติมความรู้ที่มีอยู่แล้ว โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ในการเรียนรู้
โดยประชาชนผู้สนใจเรียนสามารถเริ่มลงทะเบียนเรียนได้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 ผ่านเว็บไซต์ www : https://cuneuron.chula.ac.th/index หรือ สอบถามข้อมูล : 0-2218-3826 E-mail: [email protected]
พร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำในวงการเทคโนโลยี และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน และผลักดันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของสตาร์ทอัพไทยสู่ตลาดอาเซียนขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนพูดคุย...จิบถ้อยคำผ่านบทกวี
—
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมวงแลกเปลี่ยนเขียนอ่านของผู้ที่รักหนังสือ The Writer's Life...
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
—
บริษัท เบอร...
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025
—
นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...