กทม. เข้มตรวจสอบสถานประกอบการย่านถนนบรรทัดทอง กำชับติดตั้งถังดักไขมัน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายอิทธิพล อิงประสาร ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน กทม. กล่าวกรณีมีข้อวิจารณ์สภาพคลองติดกับถนนบรรทัดทอง มีสภาพเน่าเหม็น เนื่องจากผู้ประกอบการทิ้งสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารลงในคลอง โดยไม่ติดตั้งบ่อดักไขมันว่า สำนักงานเขตปทุมวันได้ประสานขอความร่วมมือสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อกำกับดูแลผู้เช่าอาคาร ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการให้ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในคลองบริเวณถนนบรรทัดทอง โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้เก่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งขอความร่วมมือเฝ้าระวังไม่ให้ลักลอบระบายน้ำเสีย หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารลงในคลอง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง ขณะเดียวกันสำนักงานเขตฯ โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล และฝ่ายเทศกิจ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบกำกับดูแลสถานประกอบการ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสวนหลวง เขตปทุมวัน

กทม. เข้มตรวจสอบสถานประกอบการย่านถนนบรรทัดทอง กำชับติดตั้งถังดักไขมัน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลอง

และสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่มีบ้านเรือนริมคลองให้เห็นถึงความสำคัญของส่วนรวม เพื่อให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ โดยเน้นย้ำให้ติดตั้งถังดักไขมันที่มีประสิทธิภาพก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่คูคลอง ซึ่งเป็นไปตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2565 รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล ปล่อยน้ำเสีย หรือเศษอาหารลงคลองสาธารณะ ทั้งนี้ หากตรวจพบว่า ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ได้ออกแบบตรวจแนะนำของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้ผู้ดำเนินกิจการทราบและปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งติดตามผลการแก้ไขเมื่อครบกำหนดระยะเวลา กทม. เข้มตรวจสอบสถานประกอบการย่านถนนบรรทัดทอง กำชับติดตั้งถังดักไขมัน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลอง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ กทม. ดำเนินการตามแนวทางการปรับปรุงงานทางกายภาพในพื้นที่บรรทัดทอง-สวนหลวงอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทางเท้า ไฟฟ้าส่องสว่าง การจัดการขยะ จุดรับส่งอาหาร รวมถึงการบำบัดน้ำทิ้ง-น้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองสวนหลวง เพื่อให้พื้นที่บรรทัดทองมีความน่าอยู่ น่ามา และน่ามองมากยิ่งขึ้น

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวว่า สนน. ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมและเปิดบริการแล้ว 8 แห่ง โดยคลองสวนหลวงอยู่ในพื้นที่บริการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง กทม. ซึ่งโดยปกติน้ำเสียที่มาจากอาคาร สถานประกอบการจะระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะที่ถูกต้องของทางราชการและจะถูกเก็บรวบรวมส่งไปบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำของ กทม. แต่ปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นกรณีร้านอาหารย่านบรรทัดทองปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองสวนหลวง ทำให้น้ำเน่าเหม็น นั้น เกิดจากบ้านเรือนและสถานประกอบการทิ้งน้ำเสียไหลลงสู่คลองโดยตรง ซึ่ง สนน. ได้ถ่ายเทไหลเวียนน้ำตามความเหมาะสมของฤดูกาล รวมถึงจัดเก็บขยะในคลองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มีขยะตกค้างในลำคลอง แต่เนื่องจากมีการทิ้งน้ำเสียตลอดเวลา การถ่ายเทไหลเวียนน้ำจึงไม่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม กทม. มีแผนปฏิบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยระยะสั้นสำนักงานเขตปทุมวันได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายควบคุมร้านอาหารและสถานประกอบการให้ติดตั้ง การใช้และบำรุงดูแลบ่อดักไขมันให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบำบัดน้ำเสียจากอาคารให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

ส่วนในระยะยาว สนน. มีแผนดำเนินการเก็บรวบรวมน้ำเสียจากท่อน้ำเสียของร้านอาหารและอาคารที่ระบายลงคลองโดยตรงส่งเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวมของ กทม. ได้แก่ งานก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม) บริเวณคลองสวนหลวงเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง เป็นการก่อสร้างท่อน้ำเสียรอง HDPE ขนาด 315 มิลลิเมตร เพื่อรวบรวมน้ำเสียครัวเรือนจากบริเวณดังกล่าว รวมถึงจากร้านอาหารบนถนนบรรทัดทองด้านฝั่งตะวันตกของคลองสวนหลวงไปบำบัดให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ คาดว่า จะได้รับงบประมาณในปี 2568 ทั้งนี้ จากการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในคลองสวนหลวง เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 67 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะดำเนินการก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียด้านฝั่งตะวันออกของคลองสวนหลวง (ด้านฝั่งถนนบรรทัดทอง) ควบคู่ไปกับก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ ของ กทม. เมื่องานก่อสร้างดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคลองสวนหลวงได้อย่างยั่งยืนต่อไป


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+สำนักงานเขตปทุมวันวันนี้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ แอนิมอล เฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Collaboration Agreement) โครงการ Next Level Veterinary Excellence ซึ่งเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติทางสัตวแพทย ศาสตร์ในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ งานวิจัย และการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมกันกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรอบรมขั้นสูงสำหรับสัตว

นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร... SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025 — นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญ... จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University — ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...