ในยุคปัจจุบันสังคมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างรวดเร็ว สุขภาพจิตได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักและให้ความสนใจมากขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของอารมณ์และความคิดส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมโดยรอบ การทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและความสุขของทุกคนในสังคม
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในปี 2566 มีผู้ป่วยจิตเวชมารับบริการถึง 2.9 ล้านคนในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของปัญหาสุขภาพจิต สาเหตุหนึ่งมาจากการที่สังคมไทยเริ่มเปิดใจยอมรับและเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตมากขึ้น นอกจากนี้ สภาพสังคมปัจจุบันยังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life balance) ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ รวมถึงความหลากหลายของช่วงวัย (Generation gap) ในที่ทำงานซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและความเครียด
บทความนี้ใช้เครื่องมือ DXT360 ฟังเสียงผู้คนบนสังคมออนไลน์ (Social Listening) ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ผู้ให้บริการ Media Intelligence ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากโซเชียลมีเดียระหว่าง 1 กันยายน - 4 ตุลาคม 2567 เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและประสบการณ์ด้านสุขภาพจิตของผู้คนในสังคม
การใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยกับปัญหาสุขภาพจิต
จากการรวบรวมความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ 61% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่เพื่อการโพสต์ระบายความรู้สึกและแสดงตัวตน รองลงมา 22% เป็นการเล่า แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของตนเองและผู้อื่น ซึ่งพบว่าผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า มักได้รับผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตด้วย
ถัดมาอีก 11% พบว่า เป็นการให้ข้อมูลและคำแนะนำ ซึ่งเป็นการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์และวิธีการดูแลรักษาสุขภาพจิตที่ดี และ 6% เป็นการให้กำลังใจ โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียแสดงความห่วงใยและให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต
ส่อง Insight เรื่องไหนกระทบใจชาวโซเชียลจนต้องระบาย
โลกออนไลน์กลายเป็นพื้นที่สำหรับการระบายความรู้สึกและแชร์ประสบการณ์ เผยให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้คน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ปัจจัยภายนอก คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจโดยที่บุคคลไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง พบว่า
ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ปัจจัยภายใน มาจากพื้นฐานสภาพจิตใจ ร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดของตัวบุคคลเอง ส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคคล สรุปได้ ดังนี้
พบจิตแพทย์เป็นเรื่องปกติ
จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดีย พบวิธีการฟื้นฟูสุขภาพจิตที่ผู้คนบนโซเชียลนิยมใช้ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบัน ผู้คนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง การเลือกปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตบำบัด และนักจิตวิทยา ซึ่งส่งผลให้เกิดการเติบโตของธุรกิจในด้านการดูแลสุขภาพจิต ทั้งโรงพยาบาล คลินิกจิตเวช และศูนย์เวลเนสต่าง ๆ นอกจากนี้ ความเข้าใจและการยอมรับเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นยังช่วยลดอคติทางสังคม ทำให้ผู้คนรู้สึกมีความปลอดภัยในการเข้าถึงการรักษาและการสนับสนุนทางจิตใจ การลงทุนในบริการเหล่านี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญในยุคที่ผู้คนมุ่งมั่นต่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น
ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมข้อมูลจาก DXT360 (Social Listening and Media Monitoring Platform) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กันยายน - 4 ตุลาคม 2567
เกี่ยวกับ DXT360
DXT360 เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้ทั้งจากโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ สื่อบรอดคาสท์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงของผู้บริโภค (Consumer Voices) คอนเทนต์จาก Influencers และ KOLs ไปจนถึงข่าวจากสื่อมวลชน ที่รวบรวมเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Dashboard ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละราย (Customizable Dashboard) จึงทำให้เข้าใจและเห็น Insight ในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้เห็นทิศทางการสื่อสารของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น. นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในงาน ประชุมวิชาการ 2020 “การเสริมพลังและความหวังที่ยั่งยืน” และ การเปิดตัวแอปพลิเคชัน “APPEER” โดยความร่วมมือจาก สมาคมสายใยครอบครัว มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต ซึ่งจัดขึ้นเพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช และเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ส่งเสริมให้คนไทยได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ณ
ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการ “การเสริมพลังและความหวังที่ยั่งยืน” เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
—
สมาคมสายใยครอบครัว ร่วมกับ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และโร...
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ “การเสริมพลังและความหวังที่ยั่งยืน” เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช
—
สมาคมสายใยครอบครัว ร่วมกับ มูลนิธ...
กรมสุขภาพจิต เปิดติวเภสัชกร รพ.ศูนย์ /รพ.ทั่วไป ขยายผล“โครงการรับยาจิตเวชที่ร้านยาใกล้บ้าน” ทุกแห่ง
—
กรมสุขภาพจิต พัฒนาศักยภาพเภสัชกร รพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไ...
รพ.จิตเวชโคราช เพิ่มความเชี่ยวชาญดูแล เด็กออทิสติก สมาธิสั้น!! ใช้เทคโนโลยีใหม่ “สนูซีเล็น” กระตุ้นประสาทรับความรู้สึก
—
รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ เพิ่มความเชี...
กรมสุขภาพจิต เผย สังคมไทย ยังเข้าใจ “โรคจิต” คลาดเคลื่อน
—
นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึง การเรียกบุคคลที่มีพฤต...
ภาพข่าว: ก้าวแรก บัดดี้รัน การรวมพลังวิ่งเพื่อสร้างความเข้าใจของผู้ป่วยจิตเวชและญาติ เพื่อขอที่ยืนในสังคม
—
รองปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมน...
กรมสุขภาพจิต เผย คนไทยจิตใจเข้มแข็งขึ้น ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ชวนคนไทยมองไปข้างหน้า มุ่งมั่นทำความดี สืบสานพระราชปณิธานสืบต่อไป
—
นาวาอากาศตรี นายแพ...
กรมสุขภาพจิต ชวนสังคมฟังเสียงสะท้อนผู้ป่วยจิตเภท เปิดใจ ยอมรับ ให้โอกาส และกำลังใจ
—
วันนี้ (24 พ.ค.60) ที่ รพ.ศรีธัญญา นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเ...