The Active Thai PBS ล้อมวงริมแม่น้ำกก ระดมความเห็น "ฟื้นฟูเชียงราย ช่วยกันเริ่มต้นใหม่ ให้แข็งแรงกว่าเดิม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

The Active Thai PBS เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Policy Forum ระดมความเห็น เสนอต่อหน่วยงานในพื้นที่ ระดับนโยบาย รัฐบาล เดินหน้าฟื้นฟูเชียงรายสู่ต้นแบบรับมือจัดการภัยพิบัติใหญ่ในอนาคต

The Active Thai PBS ล้อมวงริมแม่น้ำกก ระดมความเห็น "ฟื้นฟูเชียงราย ช่วยกันเริ่มต้นใหม่ ให้แข็งแรงกว่าเดิม"

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส โดยศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ หรือ The Active และองค์กรเครือข่าย จัด Policy Forum ครั้งที่ 21 "ฟื้นฟูเชียงราย เริ่มต้นใหม่เพื่อเชียงรายเข้มแข็งกว่าเดิม : CITY RECOVERY STRONGER CHIANG RAI" โดยมีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมสะท้อน ย้อนต้นเหตุ มองเห็นปัญหาร่วมกัน เดินหน้าวางแผนฟื้นฟูเมืองเชียงราย ระดมความคิดเห็น สรุปข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งระดับนโยบาย เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางรับมือ แก้ปัญหาภัยพิบัติ จ.เชียงราย ให้เป็นต้นแบบในการรับมือแก้ไขปัญหาภัยพิบัติใหญ่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ณ ร้านท่าน้ำภูแล อ.เมือง จ.เชียงราย The Active Thai PBS ล้อมวงริมแม่น้ำกก ระดมความเห็น "ฟื้นฟูเชียงราย ช่วยกันเริ่มต้นใหม่ ให้แข็งแรงกว่าเดิม"

เวที Policy Forum ครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของหลายภาคส่วนที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และร่วมหาแนวทางในการจัดการรับมือภัยพิบัติ ทั้งตัวแทนชุมชนผู้ประสบภัย เชียงราย - แม่สาย - พื้นที่สูง, มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย, มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิมดชนะภัย รวมถึงภาคธุรกิจ ที่ได้ร่วมพูดคุย วางแผน และกำหนดเป้าหมายสำคัญคือการ "เริ่มต้นใหม่ให้แข็งแรงกว่าเดิม" ด้วยการจัดระบบการทำงานร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ

เริ่มต้นด้วย สมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา ที่ได้ระดมจิตอาสาและสิ่งของจำเป็นช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ ได้ย้ำว่า นี่คือภัยพิบัติขนาดใหญ่มาก ๆ ที่เคยเจอมาในชีวิต สะท้อนการจัดการภัยพิบัติใน 4 ช่วงตอนสำคัญ ตั้งแต่การป้องกัน เตือนภัย ที่ต้องวางแนวทางการลดปริมาณน้ำ มีพื้นที่ป่าที่ซับน้ำได้ แต่ปีนี้ซับซ้อนมากเนื่องจากมีปริมาณน้ำสูง นวัตกรรมการเผชิญเหตุที่เรียกว่าสุดมือของกู้ภัย ต้องใช้ทั้งเจ็ตสกี ทีมซีลบุกมาช่วยผู้ประสบภัย เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเหตุการณ์เหมือนในช่วงสึนามิ และสำคัญช่วงของการฟื้นฟู แต่สังคมไทยไม่ค่อยสนใจและให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูมากนัก จึงอยากให้ครั้งนี้เป็นโอกาสของสังคมไทยที่จะร่วมกันซึ่งต้องไม่จบลงที่การนำโคลนออกจากบ้าน แต่ต้องคิดต่อไปถึงการจัดการในระยะยาว

อภิชิต ศิริชัย นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเชียงราย นำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์การตั้งเมืองเชียงราย และแผนที่ทางน้ำจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนว่าเชียงรายเป็นเมืองที่มีน้ำล้อมรอบหลายสาย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลง การก่อสร้างที่ส่งผลต่อเส้นทางน้ำการระบาย อาจต้องมีการวางหรือปรับผังเมืองเพื่อให้รับมือภัยพิบัติได้ แม้ไม่รู้ต้นทางแม่น้ำสำคัญ อย่างแม่น้ำกก เพราะมีต้นทางในประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากมีเทคโนโลยีและติดตามปริมาณน้ำต่อเนื่อง ประเมินและรีบเตือนภัยเมื่อน้ำเคลื่อนมาถึง จะสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ทัน

รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมปฐพีและฐานราก และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดินถล่ม อธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนต่าง ๆ ที่เกิดผลกระทบต่อเหตุการณ์ดินสไลด์ โดยชวนให้สำรวจพื้นที่อยู่อาศัยของตัวเองก่อนว่า "ล่อแหลม" และ "เปราะบาง" หรือไม่ เพราะเชื่อว่ากระบวนการบุบสลายของภูเขา การถล่มลงมาเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ บนยอดเขาสมมติมีชุมชนอยู่ด้านบน ฝนที่ตกหนัก น้ำจะหาที่ไหลลงมาตามร่องเขาร่องน้ำ ชาวบ้านบนที่สูงทราบดีว่า จะกัดเซาะไปเรื่อย ๆ เกิดการกัดเซาะตามธรรมชาติ ฝนตกหนักต่อให้มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ยังไงก็ต้องพัง กรณีป่าไม้ที่ไม่สมบูรณ์ก็จะยิ่งเร่งกระบวนการพังให้เกิดเร็วขึ้น ฝนตกไม่หนักก็พังได้ ดิน น้ำป่าไหลลงมาได้ ประเด็นสำคัญจึงต้องวางแผนปรับการอยู่อาศัยและวิถีชีวิตไปตามลักษณะของความล่อแหลมของพื้นที่ที่อยู่ ต้องอาศัยโครงสร้างทางวิศวกรรมในพื้นที่ป่า เพื่อลดความรุนแรงของน้ำป่าและดินถล่ม โดยจะต้องพิจารณาผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพให้ละเอียดและดำเนินการให้สอดคล้อง ระดมสมอง พัฒนาข้อเสนอต่อการฟื้นฟูเมืองทั้งระบบ

โดยตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งชาวบ้านผู้ประสบภัย ภาคประชาชน จิตอาสา ภาคเอกชน ต่างร่วมสะท้อนระดมข้อเสนอสำคัญใน 3 ระยะ ระยะเร่งด่วน คือ ยังต้องเร่งช่วยผู้ประสบภัย มีครัวกลางให้ผู้ได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ, เร่งทำความสะอาด ขนโคลน ขนขยะล้างบ้าน, ควบคุมราคาสินค้าที่จะซ้ำเติมเอาเปรียบผู้ประสบภัยพิบัติ, รักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อการวางแผนการจัดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและครอบคลุม ระยะฟื้นฟู แก้ปัญหาการอยู่อาศัย ที่ทำกิน ที่ดินที่ปลอดภัยจากภัยพิบัติ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การฟื้นฟูจิตใจสุขภาพ การเยียวยาชดเชยรายได้ ความเสียหายต่าง ๆ ของประชาชนและภาคธุกิจเอกชน สร้างกลไกร่วมในการพัฒนาศัยภาพความร่วมมือภาคส่วนต่างๆ และ สุดท้าย คือ ระยะของการเดินหน้าสู่ความยั่งยืนคือต้องมีแผนที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การสื่อสาร ศูนย์การเตือนภัย ที่มีประสิทธิภาพ และมีความน่าเชื่อถือ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังรับมือที่เข้มแข็ง มีศูนย์บริหารจัดการแก้ไขสถานการณ์ ฟื้นฟูภัยพิบัติบัติ

ณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ได้จากเวทีนี้ ได้รวบรวมข้อมูลการแลกเปลี่ยนในเวทีนี้ สู่แพลตฟอร์ม "Policy Watch" ซึ่งจะมีการสกัดรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ร่วมระดมกันในวันนี้เห็นภาพที่ครอบคลุมทุกมิติในการทำงานร่วมกันต่อ ที่สำคัญคือ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งระดับนโยบาย รัฐบาล เพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหาภัยพิบัติใหญ่ใน จ.เชียงราย สู่การเป็นโมเดลของการรับมือแก้ไขปัญหาภัยพิบัติใหญ่ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipbs.or.th/policywatch นอกจากนี้ ทีมข่าว The Active Thai PBS จะยังคงเกาะติดสถานการณ์ และการเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ในเร็ววัน โดยสามารถติดตามได้ในรายการ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 12.30 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3

สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่

? Website : www.thaipbs.or.th? Application : Thai PBS

? Social Media Thai PBS : Facebook, YouTube, X (Twitter), LINE, TikTok, Instagram, Threads


ข่าวแห่งประเทศไทย+ไทยพีบีเอสวันนี้

ไทยพีบีเอส เปิดตัวละครชุด "ทุนไทย" 6 เรื่อง 12 ตอน "ร้อยทุนวัฒนธรรมรสไทยไว้ในละคร"

ไทยพีบีเอส เดินหน้าสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพ เปิดตัว "ทุนไทย" ละครชุดพิเศษ 6 เรื่อง 12 ตอน ถ่ายทอดเรื่องราวของทุนวัฒนธรรมไทยในแต่ละภูมิภาค สะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่น ผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน เริ่ม 11 พ.ค. นี้ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมกับ บริษัท สมายไรเดอร์ส จำกัด, บริษัท วันนี้วันดี จำกัด, บริษัท ธาราวิชั่น จำกัด, บริษัท ทรีสตูดิโอ จำกัด, บริษัท แบร์ อิน มายด์ สตูดิโอส์ จำกัด และ บริษัท มั่งมีดี

ไทยพีบีเอส ประกาศรายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่... ลุ้นต่อ! ผู้ชิงตำแหน่ง ผอ. ส.ส.ท. 6 ราย เตรียมแสดงวิสัยทัศน์สด ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ 12 พ.ค.นี้ — ไทยพีบีเอส ประกาศรายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ส....

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งปร... ไทยพีบีเอส ต้อนรับสื่อจีน เสริมความร่วมมือยุคดิจิทัล — องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส นำโดย รศ. ดร.วิลาสินี พิพิ...

ไทยพีบีเอส เชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแส... ไทยพีบีเอส เชิญประชาชนร่วมเวทีแสดงความคิดเห็นสรรหาผู้อำนวยการ ส.ส.ท. 30 เม.ย.นี้ — ไทยพีบีเอส เชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังความค...

ไทยพีบีเอส เชิญชวนประชาชนให้ข้อมูลคุณสมบั... ไทยพีบีเอส เปิดกว้าง ชวนประชาชน ร่วมตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครฯ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. — ไทยพีบีเอส เชิญชวนประชาชนให้ข้อมูลคุณสมบัติ ประวัติ หรือความเหม...

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งปร... สุดปัง! "น้ำพริก มรดกรสแห่งเครื่องจิ้ม" ขึ้นแท่นหนังสือขายดีของศูนย์หนังสือจุฬาฯ — องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอ...

ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สมาคมกีฬาจักรยานแห่งปร... ไทยพีบีเอสถ่ายทอดสด การแข่งขันจักรยานทางไกลนานาชาติ "Tour of Thailand 2025" — ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย เชิญชมการแข่งขันจักรยานทางไ...