กทม. กำกับตรวจสอบการก่อสร้างอาคารชุดเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีชาวบ้านในพื้นที่เขตลาดพร้าว ถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ (ถนนประดิษฐ์มนูธรรม) ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากที่ กทม. อนุมัติให้บริษัทเรียลเอสเตทก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมมากกว่า 6 อาคารว่า สนย. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า บริษัท มาเจสติค พาร์ค จำกัด แจ้งก่อสร้างอาคารที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามมาตรา 39 ทวิ แบบ ยผ.1 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 66 ใบรับแจ้งการก่อสร้างอาคาร แบบ ยผ.4 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 66 ดังนี้ (1) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) 25 ชั้น (อาคาร A) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 226 ห้อง) และจอดรถยนต์ (2) อาคาร ค.ส.ล. 28 ชั้น (อาคาร B) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 208 ห้อง) และจอดรถยนต์ (3) อาคาร ค.ส.ล. 33 ชั้น (อาคาร C) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 192 ห้อง) (4) อาคาร ค.ส.ล. 24 ชั้น (อาคาร D) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 230 ห้อง) และจอดรถยนต์ (5) อาคาร ค.ส.ล. 33 ชั้น (อาคาร E) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 186 ห้อง) (6) อาคาร ค.ส.ล. 28 ชั้น (อาคาร F) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารชุด (อยู่อาศัย 208 ห้อง) และจอดรถยนต์ (7) อาคาร ค.ส.ล. 9 ชั้น (อาคาร G) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารจอดรถยนต์ (8) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (อาคาร H) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารสโมสรและสระว่ายน้ำ (9) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (อาคาร I) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นอาคารนิติบุคคล (10) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (อาคาร J) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นซุ้มทางเข้าโครงการและป้อมยาม ทางเดินเชื่อม (11) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (ทางเชื่อม AB) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นทางเดินเชื่อมอาคาร A-B ทางเดินเชื่อม (12) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (ทางเชื่อม EF) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นทางเดินเชื่อมอาคาร E-F (13) อาคาร ค.ส.ล. 1 ชั้น (อาคาร K) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นห้องเครื่องงานระบบ (14) ทางเดิน ค.ส.ล. 1 ชั้น (L) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นทางเดินยกระดับ L และ (15) ทางเดิน ค.ส.ล. 1 ชั้น (M) 1 หลัง เพื่อใช้เป็นทางเดินยกระดับ M

กทม. กำกับตรวจสอบการก่อสร้างอาคารชุดเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์

สำหรับบริเวณที่ยื่นแจ้งก่อสร้างอาคารอยู่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 เป็นที่ดินประเภท ย.4 เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย อาคารดังกล่าวใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับยกเว้น ตามข้อ 36(3) แห่งกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 กรณีตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีขนาดเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร การใช้ประโยชน์ที่ดินต้องเป็นกรณีที่ตั้งอยู่บนที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งซึ่งมีด้านใดด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 16 เมตร ติดถนนสาธารณะซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกที่มีขนาดเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่น โดยด้านหนึ่งต้องมีขนาดเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร และอีกด้านหนึ่งต้องมีขนาดเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร และที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ในระยะไม่เกิน 300 เมตร จากริมเขตทางนั้น บริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินที่ติดถนนประดิษฐ์มนูธรรม (สาธารณประโยชน์ เขตทางกว้าง 80.00 เมตร) ที่ดินส่วนที่ติดถนนสาธารณะกว้าง 19.05 เมตร และอาคาร A-F (อาคารสูง) ตั้งอยู่ในระยะไม่เกิน 300 เมตรจากริมถนนสาธารณะ กรณีตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) ข้อ 2 กำหนดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้แจ้งก่อสร้างอาคารที่เป็นอาคารสูง จำนวน 6 หลัง ที่ดินติดถนนประดิษฐ์มนูธรรม (สาธารณประโยชน์ เขตทางกว้าง 80.00 เมตร) ที่ดินส่วนที่ติดถนนสาธารณะกว้าง 19.05 เมตร และมีสะพานกว้าง 12.00 เมตร การใช้สอยเป็นสาธารณประโยชน์ แต่การบำรุงรักษาเป็นหน้าที่ของบริษัทฯ (ใบอนุญาตลงวันที่ 23 ก.ย. 64) จึงไม่ขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว นอกจากนี้ สนย. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการก่อสร้าง และประชุมเพื่อกำกับ ตรวจสอบการก่อสร้าง รวมถึงมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเป็นระยะ โดยตรวจสอบความถูกต้อง การปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบต่อประชาชนข้างเคียง และการแก้ไขปัญหาของผลกระทบนั้น ๆ


ข่าวธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี+คอนโดมิเนียมวันนี้

กทม. เร่งเยียวยาผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุทางเท้า กำชับผู้รับเหมาเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัย

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแท่งเหล็กที่ยื่นออกมาริมทางเท้าบริเวณหน้าคอนโดมิเนียม Chapter (จุฬา-สามย่าน) ถนนสี่พระยา แยกถนนนเรศว่า สนย. ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นจุดที่ดำเนินการรื้อถอนคันหินและเว้นไว้สำหรับติดตั้งช่องรับน้ำ โครงการปรับปรุงทางเท้าถนนสี่พระยา โดยได้เร่งรัดผู้รับจ้างให้แก้ไขจุดเสี่ยงอันตรายดังกล่าว โดยตัดเหล็กให้เรียบเสมอพื้นผิวจราจรเรียบร้อยแล้ว พร้อมได้ประสานขอพบผู้ประสบเหตุในวันที่ 14 ก.พ. 68 ณ

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม. สั่งหยุดก่อสร้างคอนโดฯ ใน ซ.อารีย์ 1 หลังเกิดเหตุเหล็กร่วงใส่บ้านเรือนประชาชน — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวชี้แ...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีประชาชนที่...

กทม. เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการจอดรถกีดขวางทางสัญจรในซอยพหลโยธิน 56

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีที่ประชาชนที่พักอาศัยในซอยพหลโยธิน 56 เขตสายไหม ได้รับความเดือดร้อนจากรถยนต์ที่ผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งนำมาจอดบนถนนในซอยว่า จากการตรวจสอบภาย...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม.กำชับเข้มงวดตรวจสอบความปลอดภัยนั่งร้าน-ค้ำยันขณะก่อสร้าง — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสาเ...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม. สำรวจอาคารในสังกัด ยันโครงสร้างมั่นคงปลอดภัยจากเหตุแผ่นดินไหว — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการประ...

กทม. เตรียมติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ป้องกันรถชนคานกั้นสะพานข้ามแยกพญาไท

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบความปลอดภัยโครงสร้างสะพานข้ามแยกพญาไท หลังเกิดเหตุรถบรรทุกชนคานเชิงขึ้นสะพาน รวมทั้งการดำเนินการกรณีพบขับรถโดยประมาททำให้ทรัพย์สินของ กทม. ...