'นาโนโค๊ตติ้งเทค' สตาร์ทอัพ สวทช. จับมือ บ. Technopreneur ขยายตลาด ชูผลิตภัณฑ์เรือธง "สารเคลือบนาโนสำหรับโซลาร์เซลล์" หวังโต 300%

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ดีพเทคสตาร์ทอัพของ สวทช. ในนาม "นาโนโค๊ตติ้งเทค" เดินหน้าขยายธุรกิจ ลงนามความร่วมมือกับ 2 พันธมิตรธุรกิจอย่าง เมจิโคเนกซ์ และ พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น เพื่อร่วมผลักดันการใช้ประโยชน์น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ในตลาดใหม่ นำร่องใช้งานเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ สกลนคร, สมุย และสุราษฎร์ธานี ก่อนขยายสู่โรงพยาบาลทั่วไทย ชูความเข้มแข็งของพันธมิตรธุรกิจ ร่วมผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่ตลาด ตั้งเป้าเติบโต 300% ในปี 2567

'นาโนโค๊ตติ้งเทค' สตาร์ทอัพ สวทช. จับมือ บ. Technopreneur ขยายตลาด ชูผลิตภัณฑ์เรือธง "สารเคลือบนาโนสำหรับโซลาร์เซลล์" หวังโต 300%

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ นาโนโค๊ตติ้งเทค และนักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า นาโนโค๊ตติ้งเทค เป็นดีปเทคสตาร์ทอัพภายใต้ สวทช. ที่ขยายผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ของนาโนเทค มาสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีผลิตภัณฑ์เรือธงอย่าง "น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์" นำร่องตลาด 'นาโนโค๊ตติ้งเทค' สตาร์ทอัพ สวทช. จับมือ บ. Technopreneur ขยายตลาด ชูผลิตภัณฑ์เรือธง "สารเคลือบนาโนสำหรับโซลาร์เซลล์" หวังโต 300%

น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ เป็นนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาซึ่งกลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์กำลังเผชิญ โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการอาจจะแก้ปัญหานี้ด้วยการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก รวมถึงต้องใช้บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพด้านการทำงานบนที่สูง หากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนที่สูงหรือหลังคา และยังต้องคำนึงถึงความชำนาญในการทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของรอยขีดข่วน และการชำรุดเสียหายของโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลง ดังนั้นการใช้น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์ จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยการพัฒนาสารเคลือบที่ทำให้เกิดคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นของพื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลว น้ำ หรือน้ำมัน ที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบ จะกลิ้งไหลออกจากพื้นผิวและชำระล้างฝุ่นรวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังออกแบบและพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นผิววัสดุอีกด้วย

แนวโน้มของพลังงานทางเลือก และความต้องการใช้งานโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การตอบรับของนาโนโค๊ตติ้งเทคเป็นไปอย่างดี ดร. ธันยกรเผยว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตที่ 400% ด้วยลูกค้าทั้งกลุ่ม B2B และ B2C และในปี 2567 นี้ เราก็คาดหวังที่จะโต 300% หนึ่งในแผนฯ ก็คือ พันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งราได้มีความร่วมมือกับบริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัดและบริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น จำกัดการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ Technopreneur ที่มีศักยภาพ ได้แก่ บริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัด เพื่อช่วยผลักดันการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมให้แพร่หลายมากขึ้น เครือข่ายพันธมิตร 3 บริษัทจึงตกลงที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขึ้น ในการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สารเคลือบนาโน โดยจะช่วยผลักดันการจับคู่ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย, ส่งเสริมให้เกิดการใช้งานสารเคลือบนาโนในอุตสาหกรรมบนพื้นผิวที่หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการใช้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สารเคลือบนาโน ให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งภายในงาน ได้รับเกียรติจาก ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ร่วมแสดงความยินดีพร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัด กล่าวว่า เมจิโคเนกซ์ มีความยินดีที่จะเป็นพันธมิตรร่วมทาง กับบริษัท นาโนโค๊ตติ้ง เทค เพื่อช่วยผลักดันต่อยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสารเคลือบนาโน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. หน่วยงานวิจัยชั้นนำของประเทศ ให้มีการใช้งานในการเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนบริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล

"ในช่วงแรกนี้ เรามีแผนขยายการใช้นวัตกรรมสารเคลือบนาโน สำหรับโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ นำร่องใน 3 แห่ง ได้แก่ สกลนคร, สมุย และสุราษฎร์ธานี ก่อนที่จะขยายสู่จังหวัดอื่นๆ ในขณะเดียวกัน เราคาดหวังความร่วมมือนี้สู่การใช้งานสารเคลือบนาโนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป" ดร. ศิรศักดิ์ย้ำ


ข่าวธันยกร เมืองนาโพธิ์+ลงนามความร่วมมือวันนี้

"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น

นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมด้วย นางสาวปรีญาพร สุวรรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบริษัท เอสชีซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บันทึกข้อตกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายใต้โครงการ "บูรณาการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวัดกลิ่นด้วยระบบ Electronic Nose" ณ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาค... จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...