เดอะวิสดอมกสิกรไทย เจาะลึก 4 กลยุทธ์บริหารจัดการภาษีมรดกยุคใหม่ ต่อยอดการลงทุน ส่งต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดสัมมนา 'THE WISDOM Wealth Decoded' ครั้งที่ 4 เจาะลึกการบริหารจัดการด้านภาษียุคใหม่ โดย อาจารย์ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ Partner: One Law Office ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการสินทรัพย์และวางแผนภาษี และนางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านบริหารจัดการภาษีมรดกและการส่งต่อความมั่งคั่งจึงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจากการปรับเปลี่ยนทั้งมาตรการ ข้อกำหนด และกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเจาะลึก 4 กลยุทธ์ 'Exit Strategy' ในการบริหารจัดการภาษีมรดกและวางแผนส่งต่อมรดก ได้แก่ 1) บริษัทโฮลดิ้ง 2) ประกันชีวิต 3) พินัยกรรม และ 4) ธรรมนูญครอบครัว เพื่อให้การวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับคนรุ่นต่อไป
รับมือข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินระหว่างประเทศ - CRS ตรวจสอบภาษีข้ามพรมแดน
อาจารย์ชินภัทร กล่าวว่า ประเทศไทยได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-Operation and Development: OECD) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีข้ามพรมแดน โดยมีสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดกรอบการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติของ OECD ที่เรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) กับประเทศคู่สัญญาตามความตกลงระหว่างประเทศ
กรมสรรพากรในแต่ละประเทศสมาชิกคู่สัญญากว่า 150 ประเทศจะมีการส่งข้อมูลทางการเงินของผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศไทย (Thai Tax Resident) ให้กับประเทศคู่สัญญา ขณะเดียวกัน คนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ กรมสรรพากรของประเทศนั้น ๆ ก็จะส่งข้อมูลทางการเงินอัตโนมัติกลับมาให้ประเทศไทย เช่น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มี "ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย" มีการออกไปลงทุนหรือตั้งบริษัทในต่างประเทศ และไม่ได้มีการนำรายได้กลับเข้ามาในประเทศ กลุ่มนี้อาจจะได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องวางแผนภาษีรองรับเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่างสิงคโปร์ ที่มีกฎหมายส่งเสริมให้จัดตั้ง Singapore Variable Capital Company (VCC) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกแบบเพื่อใช้ในธุรกิจการจัดการ Wealth ในสิงคโปร์ ซึ่ง VCC ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ CRS ในการรายงานข้อมูลทางการเงินของนักลงทุนต่างชาติให้กับหน่วยงานภาษีของสิงคโปร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาษีของประเทศต่างๆ
4 กลยุทธ์ 'Exit Strategy' วางแผนภาษีมรดก ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคง
อาจารย์ชินภัทร ให้คำแนะนำว่า การวางแผนภาษีมรดกเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินและการสืบทอดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินและผู้ได้รับมรดกสามารถวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรัพย์สินมรดก แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร 2) หุ้นหรือหลักทรัพย์ รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล 3) เงินฝากในสถาบันการเงิน และ 4) ยานพาหนะที่จดทะเบียน ส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำประกันชีวิต ทองคำแท่ง ธนบัตร เครื่องเพชร ของสะสมต่างๆ เช่น ภาพเขียน นาฬิกา
การบริหารจัดการภาษีมรดกพร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง สามารถทำได้ใน 4 รูปแบบ ซึ่งสามารถผสมผสานควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์ โดย รูปแบบที่ 1 คือ การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับธุรกิจครอบครัว ด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือถือครองทรัพย์สิน โดยมีรายได้คือเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ โดยรายได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทในเครือ ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน
นางสาวอุมาพันธุ์ กล่าวต่อถึงการส่งต่อความมั่งคั่งรูปแบบที่ 2 คือ การทำประกันชีวิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนมรดก และที่สำคัญคือ การบริหารความเสี่ยง โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ ซึ่งสินไหมมรณกรรมที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษี นอกจากนี้ผู้รับประโยชน์ยังได้รับเงินอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เพราะเงินประกันไม่ถูกรวมเข้ากับกองมรดก จึงสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับมรดกได้เลยโดยไม่ต้องรอการจัดการมรดก
สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มองข้ามคือ การใช้ประกันชีวิตในการวางแผนธุรกิจ ด้วยการทำประกันชีวิตให้กับผู้บริหารหลักของบริษัท โดยค่าเบี้ยประกันสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
คำแนะนำในการใช้ประกันชีวิตเพื่อบริหารจัดการภาษี ซึ่งสามารถทำได้ 4 รูปแบบ คือ
สำหรับรูปแบบที่ 3 คือ การทำพินัยกรรม เพื่อจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง การทำพินัยกรรมจะมีภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือภาษีการรับมรดก ตามกฎหมายมรดกของประเทศไทยพินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบ คือ 1) พินัยกรรมแบบธรรมดา 2) พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง และ 4) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5) พินัยกรรมทำด้วยวาจา (แต่ไม่สามารถใช้ได้ในความเป็นจริงเพราะไม่มีสงคราม) ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น "บุคคล" ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรรมในการรับมรดก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเมื่อเวลาผ่านไป
รูปแบบที่ 4 คือ ธรรมนูญครอบครัว ควรต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำเพื่ออะไร และทำเพื่อใคร เพราะธรรมนูญครอบครัว เป็นการบริหารทรัพย์สินของกงสี ซึ่งเป็นเอกสารของครอบครัวที่ต้องวางหลักการ กฎ กติกา ของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจน โดยธรรมนูญครอบครัวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ต้อง "เชื่อมโยง" กฎหมาย และ "สัมพันธ์" ภาษีให้ใช้งานได้จริง และสามารถกำหนดกระบวนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว และส่งผลทำให้ธุรกิจของครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคง
ทั้ง 4 กลุยทธ์นี้จึงเป็น Exit Plan ของการวางแผนบริหารจัดการมรดกและภาษีมรดกให้ได้ประโยชน์สูงสุดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
สำหรับแบบประกันที่จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนส่งมอบมรดก ตามรูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น เดอะวิส ดอม กสิกรไทย ขอแนะนำ ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ ที่จะช่วยส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่น…สู่รุ่น อย่างไม่สะดุด ช่วยให้คุณวางใจได้ว่า สามารถส่งมอบหลักประกันครอบครัวสู่คนที่รักอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความมั่งคั่ง และคลายกังวลเรื่องภาษีมรดกที่อาจเกิดขึ้น ตอบโจทย์เรื่องการส่งต่อมรดกได้เป็นอย่างดี เพราะทุนประกันสูง เริ่มต้นตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และสามารถทำทุนประกันได้สูงสุดถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ
การส่งต่อความมั่งคั่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานหรือคนที่เรารักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรวางแผน เพื่อให้มั่นใจว่าหากเราไม่อยู่แล้ว คนที่เรารักจะสานต่อสิ่งที่เราได้สร้างไว้ให้หรือได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราตั้งใจมอบไว้ให้กับเขาอย่างแท้จริง
คำเตือน
Krungthai Card Public Company Limited (KTC), in collaboration with Pet Expo Thailand, GO Hotel, Thonglor International Pet Hospital, and Dhipaya Insurance, hosted the 'Paw-ssibilities: The Next Chapter of Pet Industry' forum to explore Thailand's rapidly expanding pet economy and the evolving behaviors of modern pet owners. The seminar brought together leading industry experts and partners to highlight key market trends, emerging growth sectors, and strategies to meet rising demand in a pet
เคทีซีชี้ตลาดสัตว์เลี้ยงทะลุพันล้าน จับมือพันธมิตรเปิดเวที "Paw-ssibilities" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสัตว์เลี้ยงไทย
—
ในงานเสวนา "Paw-ssibilities: The Next Chap...
Visa and leading banks redefine payments with nationwide expansion of Scan to Pay with QR Credit
—
Scan to pay with Visa QR Credit provides convenience, s...
สภาทองคำโลกเผย? การลงทุนทองคำจากผู้ซื้อรายย่อยของไทยพุ่งสูงในไตรมาสแรก
—
การลงทุนใน ETF ทองคำพุ่งสูง ผลักดันความต้องการทั่วโลกในไตรมาส 1 ให้เพิ่มมากขึ้น ส...
วีซ่าผนึกกำลังธนาคารชั้นนำ ยกระดับประสบการณ์ชำระเงิน ขยายบริการ "สแกนจ่ายด้วย วีซ่า คิวอาร์ เครดิต" ครอบคลุมทั่วประเทศ
—
วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงิ...
ผถห.TSE ไฟเขียวเพิ่มทุน 211.77 ล้านหุ้น ลุยขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า - Healthcare - Wellness
—
นายณรงค์ รัฐอมฤต (กลาง) ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ, ดร.แคทลีน มา...
ก้าวสู่ปีที่ 10 สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต ธ.ไทยเครดิต สินเชื่อสู่ประตูการค้าขายที่ยั่งยืน
—
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT ยึดมั่นนโยบายส่งเสร...
บล.ทิสโก้คาดหุ้นไทยฟื้นแตะ 1,200 จุด แนะใช้จังหวะนี้เน้นขายมากกว่าซื้อ - เทรดหมุนรอบเร็วขึ้น
—
บล.ทิสโก้คาดระยะสั้นหุ้นไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแตะ 1,200 จุด รั...
โดนใจสายยิงแอด! ทรูมันนี่ มอบเงินคืน 3%* ทุกการยิงแอดเมื่อจ่ายด้วยบัตร TrueMoney SME หรือจ่ายตรงด้วยวอลเล็ท
—
เพิ่มยอดขายสบายใจ ยิงแอดต่อเนื่องทุกเดือน รั...