เกษตรแนะใช้สารกำจัด 2 ศัตรูสำคัญในมะพร้าวถูกวิธี ป้องกันผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวให้เฝ้าระวังศัตรูสำคัญ 2 ชนิด ที่มักเข้าทำลายผลผลิตมะพร้าว ได้แก่ หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม โดยก่อนใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ จะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการทำลายดังกล่าวเกิดจากศัตรูชนิดใด เพื่อให้การใช้สารป้องกันกำจัดได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวต้องหมั่นสำรวจติดตามสถานการณ์ของศัตรูมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถวางแผนการป้องกันกำจัดได้อย่างมีปรสิทธิภาพ

เกษตรแนะใช้สารกำจัด 2 ศัตรูสำคัญในมะพร้าวถูกวิธี ป้องกันผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ

หนอนหัวดำ เป็นศัตรูมะพร้าวที่พบการระบาดรุนแรงในหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรได้แนะนำให้เกษตรกรเกิดความรู้ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัด โดยลักษณะการทำลายของหนอนหัวดำ สังเกตได้จากการที่ตัวหนอนจะทำลายจากใบล่าง กัดกินผิวใต้ใบและสร้างอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวกคลุมเส้นทางที่หนอนแทะกินตามทางใบและอาศัยอยู่ในอุโมงค์นั้นเมื่อตัวหนอนโตเต็มที่ จะถักใยเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ การประเมินระดับความรุนแรงของศัตรูชนิดนี้ สามารถดูได้จากทางใบมะพร้าวสีเขียวที่ยังไม่ถูกทำลาย หากต้นมะพร้าวยังมีทางใบสีเขียวเหลืออยู่บนต้นจำนวน 13 ใบขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าการถูกทำลายยังอยู่ในระดับน้อย แต่หากทางใบมะพร้าวสีเขียวเหลืออยู่จำนวนระหว่าง 6-12 ทางใบนั้น เข้าสู่ระดับความรุนแรงปานกลาง และหากเหลือทางใบน้อยกว่า 5 ใบ จัดเป็นการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในระดับรุนแรง การป้องกันกำจัด สามารถทำได้โดยจะต้องเลือกใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้เหมาะสมกับความสูงของต้นมะพร้าว คือ ต้นมะพร้าวต่ำ กว่า 4 เมตร หากพบการทำลายในระดับที่รุนแรงน้อยให้พ่นสารชีวภัณฑ์โดยใช้เชื้อ Bt อัตรา 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่หากพบการทำลายในระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากให้พ่นสารเคมีโดยเลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม หรือคลอแรนทรานิลิโพร์ล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือสปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตรแล้วฉีดพ่น หากต้นมะพร้าวต่ำ กว่า 12 เมตร ให้ใช้วิธีเจาะสารเข้าต้น โดยใช้อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อต้น และต้นมะพร้าวที่สูงกว่า 12 เมตร ให้ใช้อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อต้น เกษตรแนะใช้สารกำจัด 2 ศัตรูสำคัญในมะพร้าวถูกวิธี ป้องกันผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านแมลงดำหนาม เป็นศัตรูมะพร้าวสำคัญที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเช่นกัน โดยลักษณะการทำลายของแมลงดำหนาม สังเกตได้จากตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินใบอ่อนโดยเฉพาะยอดที่ยังไม่คลี่ ทำ ให้มะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต หากถูกทำ ลายรุนแรงทำ ให้ใบแห้งเป็นสีน้ำ ตาลมองเห็นเป็นสีขาวชัดเจน เรียกว่า "มะพร้าวหัวหงอก" การประเมินระดับความรุนแรงของศัตรูชนิดนี้ สามารถดูได้จากทางใบบริเวณยอดของมะพร้าวที่ถูกทำลายไป หากถูกทำลายไม่เกิน 5 ใบ จัดว่าอยู่ในระดับน้อย แต่หากใบบริเวณยอดถูกทำลาย 6 - 10 ทางใบ และมากกว่า 11 ทางใบ นับว่าถูกทำลายในระดับปานกลางและรุนแรงตามลำดับ การป้องกันกำจัดแมลงดำหนามสามารถทำได้ 2 วิธี คือ วิธีราดสารเคมีบริเวณยอดและรอบคอมะพร้าว โดยเลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กรัมต่อต้น หรือไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 4 กรัมต่อต้น หรือไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 10 กรัมต่อต้น และอีกวิธีหนึ่งคือให้นำสารคาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ 4% GR อัตรา 30 กรัมต่อต้นใส่ถุงเหน็บไว้บริเวณยอดมะพร้าว และหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ


ข่าวo:member+o:locวันนี้

วีเอส09 ออริจินอลเฮิร์บเร่งขยายช่องทางขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ทั้งในและต่างประเทศรองรับผู้ที่ยังไม่พร้อมผลิตสินค้าในรูปแบบ OEM

วีเอส09 ออริจินอลเฮิร์บเร่งขยายช่องทางขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ทั้งในและต่างประเทศรองรับผู้ที่ยังไม่พร้อมผลิตสินค้าในรูปแบบ OEM วีเอส09 ออริจินอลเฮิร์บ เร่งขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย ทั้งสินค้าประเภทสบู่ กาแฟ โลชั่น และอื่น ๆ รองรับผู้ที่ยังไม่พร้อมผลิตในรูปแบบ OEM ยืนยันสินค้าทุกประเภทผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิต GMP และฮาลาล นางสิญจ์พธู หาญวรากิตติ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอส 09 ออริจินอล เฮิร์บ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสบู่ผสมสมุนไพรแบรนด์ "วิภาดา" เปิดเผยว่า

อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้... อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ มอบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ — อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้ลูกค้าคนสำคัญเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการต...

นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล รองประธานกรรมการ (ท... พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 — นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล รองประธานกรรมการ (ที่ 5 จากซ้าย) พร้อมด้วย ดร.พรสิริ ปุณเกษม ประธานก...

เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokerato... เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง — เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokeratoma of Fordyce) โรคนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มดำแดงคล้าย...