สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI องค์กรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืน แท๊กทีมองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดกิจกรรมเดินขบวน "รักษ์โลก รักษ์ด้วยสินค้าฉลากเขียว" เผยแพร่ความรู้ วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว รวมถึงบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รุกกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ที่มีแนวคิดและพร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมจัดขึ้น เมื่อวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2567 บริเวณถนนสีลม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และตลาดนัดจตุจักร พร้อมการเก็บข้อมูลจากประชาชน และประชาสัมพันธ์ช่องทางการรับข่าวสารของฉลากเขียว
ฉลากเขียว เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีเกณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งคงคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นสื่อของการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า "ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกังวลและต่างผนึกกำลังร่วมกันเพื่อหาทางรับมือ ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายไว้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ปี 2030 (พ.ศ.2573) การที่จะเข้าใกล้เป้าหมายนั้นได้จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งองคาพยพ และที่ผ่านมาร่วม 30 ปีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เกี่ยวกับฉลากเขียว และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวมาแล้วกว่า 1 หมื่นรุ่น มากกว่า 200 บริษัท ใน 4 กลุ่มสินค้า คือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านและที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ก่อสร้าง บริการ และยานพาหนะ
"การจัดกิจกรรมรณรงค์ไปตามพื้นที่ที่มีกลุ่มเป้าหมาย เช่น ย่านสีลม ที่ตั้งสำนักงาน บริษัทเอกชน และบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พื้นที่ที่มีประชาชนสัญจรผ่านจำนวนมาก ในครั้งนี้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงชุดความรู้ และยังเป็นการสร้างความเข้าใจที่มากขึ้น เพิ่มความตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ที่มีแนวคิดและพร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น หน้าที่ของเราคือให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการฉลากเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วิธีสังเกตโลโก้ฉลากเขียวบนบรรจุภัณฑ์ หรือหีบห่อของสินค้านั้นๆ เราต้องสื่อสารออกไปว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวเป็นเรื่องง่ายที่ผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ โดยผลประโยชน์นั้นจะตกแก่สิ่งแวดล้อม และทุกคนที่อยู่ในสังคม เราเริ่มจากการปรับเปลี่ยนง่ายๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่"
ด้านคุณจารุกาญจน์ ราษฎร์ศิริ ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานกลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และการขนส่ง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย ซึ่งโครงการ Scaling SCP เป็นโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานการปกป้องสภาพภูมิอากาศในระดับสากล กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV) มีเป้าหมายในการส่งเสริมนโยบายด้านผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า การประชาสัมพันธ์ฉลากเขียว ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่1 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและบ่งบอกให้ผู้บริโภคทราบถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์
"เราต้องการให้ประชาชนได้รับความรู้ในการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นโยบายความยั่งยืนไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นการสร้างให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยหวังว่ากิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับจากนี้เป็นต้นไป เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อโลก"
สำหรับกิจกรรมเดินขบวน "รักษ์โลก รักษ์ด้วยสินค้าฉลากเขียว" ครั้งนี้ มีภาคเอกชน บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน), บริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล๊อกซ์ จำกัด เดินหน้าส่งเสริมด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนผ่านการร่วมสนับสนุนกิจกรรม
ทั้งนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงานฉลากเขียว ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายและบริหารฉลากเขียว ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ องค์กรสื่อและผู้บริโภค โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นฝ่ายเลขานุการ มีภารกิจสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการประเภทต่างๆ 2. การให้การรับรองฉลากเขียวกับผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าและบริการที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3. การประสานความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม #ฉลากเขียว #ฉลากสิ่งแวดล้อม
รุกขยายส่งออกตลาดทั่วโลก ลดต้นทุนเสริมแกร่งแข่งขัน เพิ่มโอกาสนำเข้าสินค้าคุณภาพ SCGD เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 ดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน กำไร 217 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 171% จากค่าใช้จ่ายลดลงจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ อีกทั้งการบริหารต้นทุนขายและต้นทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพตามแผน รับมือภาษีนำเข้าสหรัฐอเมริกา เร่งปรับตัวสู้สงครามการค้า รักษาความสามารถการแข่งขันด้วยต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งธุรกิจในไทยและต่างประเทศ เตรียมเดินหน้าด้วย 4 กลยุทธ์ 1.) มุ่งดูแลรักษาลูกค้าเดิม
เปิดตัว "Omazz Maison" Flagship Store สุดเอ็กซ์คลูซีฟในภูเก็ต
—
Omazz แบรนด์ที่นอนชั้นนำเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน "Southern Thailand SOCIETY" เพื่อเชื่อ...
โคเวย์แชร์ทริคผิวสวย-หน้าใสรับซัมเมอร์นี้ง่าย ๆ<br>แค่ "ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ"
—
ในช่วงซัมเมอร์ที่อากาศร้อนจัด และแสงแดดแรงนั้นส่งผลเสียและเกิดปัญหาต่อผิ...
เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ asava แบรนด์แฟชั่นชั้นนำ ปรับโฉม "ชุดพนักงานบริการสาขา" ทำจากขวดพลาสติก Upcycling
—
พร้อมเปิดตัว "ชุดสูทเชิดชูเกียรติยศสุดยอดตั...
ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรตอบโจทย์เอสเอ็มอีกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ สร้างความเติบโตต่อเนื่อง
—
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เล็งเห็นศักยภาพเอส...
NT แจ้งยกเลิกบริการ NT Mobile พร้อมเตรียมโอนย้ายผู้ใช้บริการสู่โครงข่าย my by NT โดยอัตโนมัติ
—
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ขอแจ้งให้ผู...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
SCGP ขยายธุรกิจ Healthcare Supplies เพิ่มการเติบโตในตลาดที่มีศักยภาพ รุกลงทุนผลิต 'หลอดฉีดยาและเข็มฉีดยา' ในไทย เริ่มเดินเครื่องมกราคม 2569
—
SCGP เดินหน้...
Ignite Venture Acquires Iconic Montien Hotel Precinct in Bangkok's Silom District
—
In a landmark transaction set to reinvigorate one of Bangkok's most ch...